ข้ามไปเนื้อหา

เหยา อีหลิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เหยา อี้หลิน)
ฯพณฯ
เหยา อีหลิน
姚依林
ผู้อำนวยการคณะกรรมการวางแผนแห่งรัฐ คนที่ 4 และ 6
ดำรงตำแหน่ง
มิถุนายน ค.ศ. 1987 – ธันวาคม ค.ศ. 1989
หัวหน้ารัฐบาลจ้าว จื่อหยาง
หลี่ เผิง
ก่อนหน้าซ่ง ผิง
ถัดไปโจว เจียหฺวา
ดำรงตำแหน่ง
สิงหาคม ค.ศ. 1980 – มิถุนายน ค.ศ. 1983
หัวหน้ารัฐบาลจ้าว จื่อหยาง
ก่อนหน้ายฺหวี ชิวหลี่
ถัดไปซ่ง ผิง
รองนายกรัฐมนตรีจีนหมายเลขหนึ่ง
ดำรงตำแหน่ง
25 มีนาคม ค.ศ. 1988 – 5 มีนาคม ค.ศ. 1993
หัวหน้ารัฐบาลหลี่ เผิง
ก่อนหน้าว่าน หลี่
ถัดไปจู หรงจี
ผู้อำนวยการสำนักงานทั่วไปพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ดำรงตำแหน่ง
ค.ศ. 1978 – ค.ศ. 1982
ผู้นำฮฺว่า กั๋วเฟิง
หู เย่าปัง
ก่อนหน้าวัง ตงซิ่ง
ถัดไปหู ฉี่ลี่
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 
ดำรงตำแหน่ง
18 สิงหาคม ค.ศ. 1978 – ตุลาคม ค.ศ. 1978
หัวหน้ารัฐบาลฮฺว่า กั๋วเฟิง
ก่อนหน้าหวัง เหล่ย์ [zh]
ถัดไปจิน หมิง
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
วิลเลียม ยิว ฮักกวง

6 กันยายน ค.ศ. 1917(1917-09-06)
บริติชฮ่องกง
เสียชีวิต11 ธันวาคม ค.ศ. 1994(1994-12-11) (77 ปี)
ปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
พรรคการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีน (1935–1994)
คู่สมรสโจว ปิน
หง โช่วจื้อ
บุตรเหยา หมิงรุ่ย[1]
เหยา หมิงชาน
เหยา หมิงตวน
เหยา หมิงเหว่ย์
ญาติหวัง ฉีชาน (ลูกเขย)
เมิ่ง สฺเวหนง (ลูกเขย)
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยชิงหฺวา
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้ จีน
สังกัด กองทัพบกกองทัพปลดปล่อยประชาชน
ประจำการ1935–1949
ผ่านศึกสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง
สงครามกลางเมืองจีน

เหยา อีหลิน (จีน: 姚依林; พินอิน: Yáo Yīlín; 6 กันยายน ค.ศ. 1917 – 11 ธันวาคม ค.ศ. 1994) เป็นนักการเมืองและทหารชาวจีนผู้ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีจีนตั้งแต่ ค.ศ. 1979 ถึง 1988 และรองนายกรัฐมนตรีหมายเลขหนึ่งตั้งแต่ ค.ศ. 1988 ถึง 1993[2]

ชีวิตช่วงต้นและอาชีพ

[แก้]

เขาเกิดที่ฮ่องกงใน ค.ศ. 1917 และใช้ชีวิตช่วงวัยเด็กที่เมืองกุ้ยฉี อานฮุย เหยาเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีนใน ค.ศ. 1935 ระหว่างขบวนการ 9 ธันวาคม เหยาเป็นเลขาธิการของกลุ่มศึกษาพรรคการเมืองปักกิ่ง ระหว่างสงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง เขารับตำแหน่งรองผู้อำนวยการสำนักงานการเงินของพื้นที่ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของคอมมิวนิสต์ นับเป็นจุดเริ่มต้นของช่วงเวลาอันยาวนานของการเป็นผู้นำในตำแหน่งทางการเงิน ใน ค.ศ. 1979 เหยาได้รับแต่งตั้งให้เป็นรองนายกรัฐมนตรีของคณะมนตรีรัฐกิจ ในการประชุมสมัชชาใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 13 ใน ค.ศ. 1987 เหยาได้รับเลือกให้เป็นคณะกรรมธิสามัญปรัจำกรมการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์จีนและต่อมาได้ขึ้นดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีนหมายเลขหนึ่ง

บทบาทในการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ค.ศ. 1989

[แก้]

ระหว่างการประท้วงที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ค.ศ. 1989 เหยาดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีจีนคนหมายเลขหนึ่งและรับผิดชอบด้านการวางแผนและบริหารเศรษฐกิจ[3] เหยาเกี่ยวข้องกับฝ่ายอนุรักษ์นิยมของพรรคที่ปฏิเสธว่านักศึกษาเป็นผู้รักชาติและสนับสนุนให้ปราบปรามการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ทั้งเหยาและหลี่ เผิงต่างก็สามารถต่อต้านจ้าว จื่อหยางได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้แน่ใจว่าอิทธิพลของฝ่ายอนุรักษ์นิยมจะครอบงำการตัดสินใจของพรรคคอมมิวนิสต์จีน[4]

การมีส่วนร่วมกับบทบรรณาธิการ 26 เมษายน

[แก้]

บทบรรณาธิการ 26 เมษายนที่ตีพิมพ์ใน เหรินหมินรื่อเป้า ทำให้กลุ่มนักศึกษาโกรธเคืองและส่งผลให้จำนวนผู้คนในจัตุรัสเพิ่มมากขึ้นอย่างมาก รายงานอย่างเป็นทางการของพรรคคอมมิวนิสต์จีนระบุว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวไม่ได้มีเจตนารักชาติและนักศึกษาถูกนำโดยกลุ่มเล็ก ๆ ของผู้สมรู้ร่วมคิดต่อต้านคอมมิวนิสต์เพื่อก่อให้เกิด "ความวุ่นวาย" ความเห็นของเติ้ง เสี่ยวผิงถูกนำไปลงในบทบรรณาธิการเพื่อช่วยสนับสนุนและเพื่อให้แน่ใจว่าชาวจีนจะยอมรับมุมมองของพรรคเกี่ยวกับการประท้วงดังกล่าวอย่างเชื่อฟัง[3]: 336  อย่างไรก็ตาม มีฝ่ายที่ขัดแย้งกันสองฝ่ายเกิดขึ้นในพรรค ฝ่ายหนึ่งสนับสนุนให้คงบทบรรณาธิการไว้เช่นเดิม อีกฝ่ายหนึ่งต้องการเปลี่ยนแปลงบทบรรณาธิการเพื่อเอาใจนักศึกษา เหยาปฏิเสธข้อเสนอของจ้าวที่จะรับผิดเรื่องการเปลี่ยนความเห็นของพรรคเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวเพราะประชาชนจะเริ่มสงสัยในความสามัคคีของพรรค[3]: 238  เหยาเสนอให้ลดการปรองดองกับนักศึกษาลลง ตรงกันข้าม เขาต้องการป้องกันไม่ให้ผู้นำทางการเมืองอื่น ๆ สนับสนุนการประท้วง บังคับให้นักศึกษายุติการคว่ำบาตร และรักษาวินัยแรงงานในอุตสาหกรรมและพาณิชย์เพื่อให้การผลิตดำเนินต่อไปได้ [3]: 239  เหยาและหลี่ เผิงเป็นผู้นำฝ่ายอนุรักษ์นิยมและได้รับการสนับสนุนโดยเห็นด้วยกับมุมมองของเติ้งต่อการประท้วง เติ้งได้รับเกียรติและความเคารพเป็นอย่างมากในประเทศจีนเนื่องจากเขาเกี่ยวข้องกับพรรคคอมมิวนิสต์มาเป็นเวลานานและมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอดีตผู้นำที่โด่งดังของจีนอย่างเหมา เจ๋อตง[5] เหยาค่อย ๆ ถอนการสนับสนุนจากกลุ่มปฏิรูปของจ้าว จื่อหยางด้วยการทำให้ผู้สนับสนุนของเขาเชื่อว่าจ้าวเข้าข้างนักศึกษาเกินไปเกี่ยวกับการชี้แจงบทบรรณาธิการ เหยาโจมตีจ้าวเพราะเขาตำหนิพรรคที่ปล่อยให้การทุจริตดำเนินไปโดยไม่มีการตรวจสอบและทำให้ประชาธิปไตยและกฎหมายในจีนแย่ลง[3]: 245  จ้าวพบว่าตนเองอยู่ในสถานการณ์ยากลำบากเมื่อเหยาและนักอนุรักษ์นิยมคนอื่น ๆ ทำงานร่วมกันและค้านการตัดสินใจที่เขาทำร่วมกับนักปฏิรูปคนอื่น ๆ เช่น เฉิน อีจือและเป้า ถง[6]

เหตุผลการออกกฎอัยการศึก

[แก้]

เหยาและหลี่ เผิงคือสองบุคคลที่มีความเกี่ยวข้องกับการประกาศกฎอัยการศึกในวันที่ 4 มิถุนายนมากที่สุด ความจำเป็นในการมีกฎอัยการศึกเกิดขึ้นจากความกลัวว่านักศึกษาที่หลั่งไหลเข้ามาในจัตุรัสอย่างต่อเนื่องนั้นถูกบังคับโดยกลุ่มต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างลับ ๆ บรรดาผู้นำพรรคต่างหวั่นเกรงว่าอำนาจเหล่านี้กำลังบังคับให้นักศึกษาและผู้ประท้วงหลั่งไหลเข้ามาในจัตุรัสเทียนอันเหมินอย่างต่อเนื่องซึ่งจะทำหน้าที่เพียงขัดขวางไม่ให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนปกครองประชาชนจีน[3]: 147  กลุ่มอนุรักษ์นิยมมองว่ากฎอัยการศึกเป็นวิธีเดียวเท่านั้นที่จะสามารถปราบปรามผู้ประท้วงในอนาคตได้อย่างรุนแรงและป้องกันไม่ให้พวกเขาพยายามเข้าถึงจัตุรัสดังกล่าว ตามที่โทนี ไซช์กล่าว เหยาเป็นผู้สนับสนุนกฎอัยการศึกอย่างแข็งขันมากเพราะเขาเห็นว่ามันเป็นทางเลือกสุดท้ายที่จะยุติการประท้วงและฟื้นฟูการดำเนินงานตามปกติของปักกิ่ง[7] ในระหว่างหารือกับผู้นำพรรคคนอื่น ๆ เหยากล่าวว่า "ธรรมชาติของขบวนการนักศึกษาได้เปลี่ยนแปลงไป เริ่มจากการแสดงออกถึงความเศร้าโศกตามธรรมชาติและกลายมาเป็นความวุ่นวายทางสังคม"[3]: 96  เขาสนับสนุนให้องค์กรนักศึกษาที่ได้รับการรับรองโดยไม่ได้เป็นทางการทั้งหมดถูกพิจารณาว่าผิดกฎหมายเพราะเขาเกรงว่าองค์กรเหล่านี้จะทำให้เกิดความวุ่นวายนอกปักกิ่งและทั่วทั้งประเทศ นอกจากนี้ เหยายังเป็นสมาชิกเพียงคนเดียวในคณะกรรมาธิการสามัญฯ ที่ปฏิเสธการเจรจากับนักศึกษาเพราะเขาเชื่อว่ากลุ่มผู้สมรู้ร่วมคิดเล็ก ๆ อยู่เบื้องหลังองค์กรนักศึกษาเหล่านี้และการเจรจากับพวกเขาจะยิ่งเสริมสร้างความสามารถของพวกเขาในการโค่นล้มพรรคคอมมิวนิสต์จีน[3] ในบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์เซาท์ไชนามอร์นิงโพสต์ โจว จุง-ยาน กล่าวถึงเหตุที่หลี่ เผิงและเหยา อีหลินสนับสนุนกฎอัยการศึกเนื่องจากกฎดังกล่าวจะช่วยให้กลุ่มหัวรุนแรงสามารถกุมอำนาจที่ตนเคยมีในประเทศได้[8]

เสียชีวิต

[แก้]

เหยาเสียชีวิตด้วยอาการป่วยเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1994 ขณะมีอายุได้ 77 ปี

ครอบครัว

[แก้]

เหยาและหง โช่วจื้อ ภรรยา มีบุตรด้วยกันสี่คน ได้แก่ เหยา หมิงรุ่ย (หญิง), เหมา หมิงชาน (หญิง), เหยา หมิงตวน (หญิง) และเหยา หมิงเหว่ย์ (ชาย) สามีของเหยา หมิงชานคือหวัง ฉีชาน อดีตรองประธานาธิบดีจีน สามีของเหยา หมิงตวนคือเมิ่ง สฺเวหนง อดีตผู้ว่าการมณฑลชานซีและอดีตนายกเทศมนตรีปักกิ่ง

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "姚明瑞同志逝世消息". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-17. สืบค้นเมื่อ 2025-01-16.
  2. Wolfgang Bartke (1 January 1997). Who was Who in the People's Republic of China. Walter de Gruyter. pp. 578–. ISBN 978-3-11-096823-1.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 3.6 3.7 Zhang Liang. Tiananmen Papers. Public Affairs, 2002. p. 639. ISBN 978-0-349-11469-9
  4. George H. W. Bush Library. "White House Situation Room Files, Tiananmen Square Crisis File, China – Part 1 Of 5 Tianamen Square Crisis" Tiananmen Square and U.S.-China relations, 1989–1993, May–June 1989. p 76. Retrieved November 12, 2010, from Archives Unbound.
  5. Ming Pao. "Balance of Power" Daily Report, June 1989. p 5. Retrieved November 18, 2010, from Foreign Broadcast Information Service Daily Reports: http://docs.newsbank.com/s/HistArchive/fbisdoc/FBISX/11EF37C662B613F0/10367B8A6237537E
  6. Cheng Ming. "CPC Split" Daily Report, June 1989. p 28. Retrieved November 18, 2010, from Foreign Broadcast Information Service Daily Reports: http://docs.newsbank.com/s/HistArchive/fbisdoc/FBISX/11EECBE2EDFEB820/10367B8A6237537E
  7. Saich, Tony. "The Rise and Fall of the Beijing People's Movement." Contemporary China Center, Australian National University, no. 9, July 1990. p 201. Retrieved November 23, 2010, from JSTOR.
  8. Chow Chung-Yan. "Zhao Ziyang alleges Li Peng 1989 scheming; Late leader's explosive memoirs out" South China Morning Post, May 2009. p 1. Retrieved November 18, 2010, from LexisNexis.
  9. 裴毅然 (2015-01-16). 紅色生活史: 革命歲月那些事(1921-1949) (in Chinese). 時報文化出版企業. ISBN 9789865729226.
ก่อนหน้า เหยา อีหลิน ถัดไป
วาระในพรรคการเมือง
สมัยก่อนหน้า
วัง ตงซิง
ผู้อำนวยการสำนักงานใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน
ค.ศ. 1978–1982
สมัยต่อมา
หู ฉีลี่
เจ้าหน้าที่รัฐบาล
สมัยก่อนหน้า
หวัง เหล่ย์ [zh]
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 
ค.ศ. 1978
สมัยต่อมา
จิน หมิง
สมัยก่อนหน้า
ยฺหวี ชิวหลี่
ผู้อำนวยการคณะกรรมการวางแผนแห่งรัฐ
ค.ศ. 1980–1983
สมัยต่อมา
ซ่ง ผิง
สมัยก่อนหน้า
ซ่ง ผิง
ผู้อำนวยการคณะกรรมการวางแผนแห่งรัฐ
ค.ศ. 1987–1989
สมัยต่อมา
โจว เจียหฺวา
สมัยก่อนหน้า
ว่าน หลี่
รองนายกรัฐมนตรีจีนหมายเลขหนึ่ง
ค.ศ. 1988–1993
สมัยต่อมา
จู หรงจี
Order of precedence
สมัยก่อนหน้า
หู ฉีลี่
อันดับที่ 5 ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
คณะกรรมาธิการสามัญปะจำกรมการเมือง ชุดที่ 13

ค.ศ. 1987–1989
สมัยต่อมา
ไม่มี
สมัยก่อนหน้า
เฉียว ฉือ
อันดับที่ 4 ของพรรคคอมมิวนิสต์จีน
คณะกรรมาธิการสามัญปะจำกรมการเมือง ชุดที่ 13

ค.ศ. 1989–1992
สมัยต่อมา
ซ่ง ผิง