เหตุโจมตีในนิส พ.ศ. 2559

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุโจมตีในนิส พ.ศ. 2559
พรอมนาดเดซ็องแกล ที่เกิดเหตุ
เส้นทางการโจมตีจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก
สถานที่พรอมนาดเดซ็องแกล, นิส, ฝรั่งเศส
พิกัด43°41′37″N 7°15′21″E / 43.6936°N 7.2557°E / 43.6936; 7.2557พิกัดภูมิศาสตร์: 43°41′37″N 7°15′21″E / 43.6936°N 7.2557°E / 43.6936; 7.2557
วันที่14 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 (วันบัสตีย์)
ประมาณ 22:40 น. ตามเวลาออมแสงยุโรปกลาง (UTC+02:00)
ประเภทการจู่โจมด้วยยานพาหนะ
อาวุธรถบรรทุกและปืนสั้น
ตาย85 คน (รวมผู้ก่อการ)[1][2]
เจ็บ303 คน (อาการสาหัส 18 คน)[3][4]
ผู้ก่อเหตุมุฮัมมัด ละห์วีจญ์ บูฮ์ลาล (31 ปี)
ผู้ต้องสงสัยรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์[4][5]

ในคืนวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 มุฮัมมัด ละห์วีจญ์ บูฮ์ลาล ชาวตูนิเซียผู้มีถิ่นอาศัยในฝรั่งเศส[6][7] จงใจขับรถบรรทุกขนาด 19 ตัน ไล่ชนผู้คนที่กำลังฉลองวันบัสตีย์ (วันชาติฝรั่งเศส) ที่พรอมนาดเดซ็องแกล (Promenade des Anglais) ซึ่งเป็นถนนเลียบชายหาดที่มีชื่อเสียงของเมืองนิส จังหวัดอาลป์-มารีตีม ทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศฝรั่งเศส ทำให้มีผู้เสียชีวิต 84 คน และได้รับบาดเจ็บอีกสามร้อยกว่าคน[8][9][10] บูฮ์ลาลถูกตำรวจกระทำวิสามัญฆาตกรรมในที่สุด เหตุการณ์ครั้งนี้ถูกบรรยายว่าเป็นเหตุก่อการร้ายครั้งใหญ่ครั้งที่ 4 ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2558 ถัดจากเหตุโจมตีในแคว้นอีล-เดอ-ฟร็องส์ระหว่างวันที่ 7–9 มกราคม พ.ศ. 2558 เหตุโจมตีในกรุงปารีสเมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558[10] และเหตุการณ์คนร้ายบุกบ้านตำรวจและฆ่าตำรวจและภรรยาในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559 ที่เมืองมาญ็องวีล[11] ต่อมา ในวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 รัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ได้ออกมาอ้างว่าเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุโจมตีครั้งนี้[12]

การโจมตี[แก้]

โรงแรมเนเกรสโกที่ซึ่งผู้โจมตียิงตำรวจ[13] ถูกใช้เป็นสถานที่คัดแยกผู้บาดเจ็บในเวลาต่อมา
เส้นเวลาของเหตุโจมตี
11 กรกฎาคม :

14 กรกฎาคม :

  • 22:00–22:30 น. - ผู้คนประมาณ 30,000 คนชมการแสดงพลุไฟใกล้พรอมนาดเดซ็องแกล[15]
  • หลังจาก 22:30 น. ไม่นาน - บูฮ์ลาลขับรถบรรทุกเข้าสู่พรอมนาดเดซ็องแกล[15]
  • 22:45–23:00 - บูฮ์ลาลถูกตำรวจยิงเสียชีวิต[15]

เมื่อเวลาประมาณ 22:10 น. ของวันที่ 14 กรกฎาคม ตามเวลาออมแสงยุโรปกลาง (03:10 น. ของวันที่ 15 กรกฎาคม ตามเวลาในประเทศไทย) หรือ 30 นาทีก่อนเกิดเหตุ มีผู้เห็นคนขับรถบรรทุกสีขาวคันใหญ่[16] มุ่งหน้าไปทางพรอมนาดเดซ็องแกล โดยขับอย่างสะเปะสะปะ "เขาเร่งความเร็ว แล้วก็เบรก เร่งความเร็วอีกรอบ แล้วก็เบรกอีกรอบ" ตามคำให้การของพยานคนหนึ่ง[14] จากนั้นรถบรรทุกได้เลี้ยวเข้าสู่ถนนสายดังกล่าวและมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ แต่แล้วก็กลับรถไปทางเดิม[14]

การแสดงพลุไฟกำลังสิ้นสุดลงเมื่อเวลาประมาณ 22:40 น.[17] เมื่อรถบรรทุกพยายามพังรั้วกั้นพาหนะอย่างช้า ๆ บริเวณตรงข้ามโรงพยาบาลเด็กล็องวาล[14] มีคนขี่จักรยานยนต์คนหนึ่งขี่ไล่ตามรถบรรทุกและพยายามเปิดประตูฝั่งคนขับรถ แต่สุดท้ายร่างของเขาก็หล่นไปใต้ล้อรถบรรทุก[14] เมื่อเห็นเหตุการณ์ดังกล่าว เจ้าหน้าที่ตำรวจ 2 นายจีงเปิดฉากยิงใส่รถบรรทุก[18] เมื่อถึงจุดนี้ คนขับก็เร่งความเร็วขึ้น มุ่งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และบุกตะลุยฝูงชนในลักษณะซิกแซ็กเพื่อกวาดชนคนเดินเท้าให้ได้มากที่สุด เจ้าหน้าที่ตำรวจพยายามยิงสกัด แต่คนขับยิงตอบโต้และยังยิงเข้าใส่ฝูงชนด้วย คนขับขับรถฝ่าฝูงชนไปได้ 2 กิโลเมตร (1.2 ไมล์) เมื่อถึงบริเวณใกล้กับโรงแรมปาแลเดอลาเมดีแตราเน เอริก ซียอตี ผู้เห็นเหตุการณ์ระบุว่า มีบุคคลคนหนึ่งกระโดดขึ้นไปบนหน้ารถบรรทุกเพื่อพยายามหยุดและเบี่ยงเบนความสนใจคนขับ[19] โดยขณะนั้นตำรวจได้ล้อมรถบรรทุกไว้แล้ว[14] รถบรรทุกถูกตำรวจยิงกราดด้วยกระสุนและคนขับเสียชีวิต[14][20]

เจ้าหน้าที่ตำรวจพบซองกระสุน ปืนสั้น ลูกระเบิดเปล่า รวมทั้งปืนอาก้าและเอ็ม 16 ซึ่งเป็นของทำเลียนแบบอยู่ในรถบรรทุกคันนั้น[21]

อ้างอิง[แก้]

  1. "EN DIRECT – Attentat sur la promenade des Anglais à Nice". Le Figaro (ภาษาฝรั่งเศส). France. สืบค้นเมื่อ 14 July 2016.
  2. "Terror Attack on Nice: At Least 80 Dead After Grenade-Filled Truck Plows Into Crowd, Officials Say". ABC. สืบค้นเมื่อ 15 July 2016.
  3. "Nice attack: Who were the victims?". BBC News. สืบค้นเมื่อ 17 July 2016.
  4. 4.0 4.1 "France Blames ISIS for Inspiring Terrorist Attack in Nice". The New York Times. 16 July 2016.
  5. "Nice truck attack: Islamic State claims responsibility". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 16 July 2016.
  6. "Attentat de Nice : ce que l'on sait du chauffeur, Mohamed Lahouaiej Bouhlel". Nouvel Obs (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 15 July 2016.
  7. "Attentat à Nice : le suspect a été formellement identifié" (ภาษาฝรั่งเศส). Europe1. สืบค้นเมื่อ 15 July 2016.
  8. "Latest updates on France lorry attack". BBC. สืบค้นเมื่อ 15 July 2016.
  9. "Attentat à Nice: au coins 84 persons tunes par le camion fou". Paris Match (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 15 July 2016.
  10. 10.0 10.1 Breeden, Alissa J. Rubin, Adam Nossiter, Aurelien; Blaise, Lilia (15 July 2016). "Death Toll From Terrorist Attack in Nice, France, Rises to 84". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 15 July 2016.
  11. ย้อนรอย...เหตุก่อการร้าย! ใน "ฝรั่งเศส"
  12. "Nice attacker said to have radicalized as ISIS claims responsibility for massacre" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Fox News Channel. 16 July 2016. สืบค้นเมื่อ 17 July 2016.
  13. "Nice attack: Lorry driver confirmed as Mohamed Lahouaiej-Bouhlel". BBC News. สืบค้นเมื่อ 16 July 2016.
  14. 14.0 14.1 14.2 14.3 14.4 14.5 14.6 "Nice attack: What we know of the Bastille Day killings". BBC. 15 July 2016. สืบค้นเมื่อ 15 July 2016.
  15. 15.0 15.1 15.2 "Bastille Day Attack - Timeline". RTÉ News. 15 July 2016.
  16. Callimachi, Rukmini (15 July 2016). "In Truck Attack in Nice, Mainstay of Commerce Reinvented as Tool of Death". The New York Times.
  17. "At least 74 killed as truck plows into crowd in Nice, France, on Bastille Day". The Jerusalem Post.
  18. Willgress, Lydia; Samuel, Henry (15 July 2016). "Hero motorcyclist attempted to stop Nice terror attacker". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 16 July 2016.
  19. "How the Truck Was Stopped". The New York Times. 15 July 2016. สืบค้นเมื่อ 15 July 2016.
  20. Almasy, Steve (14 July 2016). "Live updates: Truck driver attacks crowd in Nice, killing dozens". CNN.
  21. "Lorry have guns inside". BBC. 15 July 2016. สืบค้นเมื่อ 15 July 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]