เหตุโจมตีในนอร์เวย์ พ.ศ. 2554
เหตุโจมตีในนอร์เวย์ พ.ศ. 2554 | |
---|---|
![]() ทิวทัศน์ทันทีทันใดหลังเกิดระเบิด | |
![]() ที่เกิดเหตุ | |
สถานที่ |
ออสโลและอูเตอยา ประเทศนอร์เวย์ |
พิกัด | 59°54′54″N 10°44′48″E / 59.9149776°N 10.746544°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 59°54′54″N 10°44′48″E / 59.9149776°N 10.746544°E |
วันที่ |
22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 15:26 น.[1] (CEST) |
ประเภท | การระเบิดและการยิง |
ตาย |
7 (ในกรุงออสโล) 68 (ในเกาะอูเตอยา) รวม: 76[2] |
เจ็บ |
30 (ในกรุงออสโล) 66 (ในเกาะอูเตอยา) รวม: 96[3][4] |
ผู้ก่อการ | แอนเดอส์ เบห์ริง เบรวิก |
เหตุโจมตีในนอร์เวย์ พ.ศ. 2554 เป็นเหตุโจมตีเพื่อก่อการร้ายสองครั้ง ต่อรัฐบาล ค่ายฤดูร้อนทางการเมือง และประชากรพลเรือน ในประเทศนอร์เวย์ เมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ครั้งแรกเป็นเหตุระเบิดในกรุงออสโล เมื่อเวลาประมาณ 15.26 นาฬิกา นอกสำนักงานนายกรัฐมนตรี เยนส์ สโตลเทนเบิร์ก และสำนักราชการอีกหลายแห่ง[5] การระเบิดดังกล่าวทำให้มีผู้เสียชีวิต 8 คน และได้รับบาดเจ็บอีกหลายคน ซึ่งมีมากกว่า 10 คนได้รับบาดเจ็บสาหัส
เหตุโจมตีครั้งที่สองนั้นเกิดขึ้นในราวสองชั่วโมงให้หลัง ที่ค่ายเยาวชนซึ่งจัดโดยองค์การเยาวชนของพรรคแรงงานนอร์เวย์ ณ เกาะอูเตอยา โดยมีมือปืนอย่างน้อยหนึ่งคนปลอมตัวเป็นตำรวจกราดยิงใส่ผู้เข้าค่าย ทำให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 68 คน[2] เหตุยิงบนเกาะอูเตอยานี้ถือเป็นเหตุที่มือปืนเดี่ยวสังหารผู้อื่นไปมากที่สุดในประวัติศาสตร์[6] หลังเหตุดังกล่าว เจ้าพนักงานตำรวจปะทะกับและจับกุมชายชาวนอร์เวย์วัย 32 ปี ชื่อ แอนเดอส์ เบห์ริง เบรวิก[7] และตั้งข้อหาเขาว่าเป็นผู้ลงมือก่อเหตุทั้งสองครั้ง[8] สหภาพยุโรป นาโต และอีกหลาย ๆ ประเทศแสดงการสนับสนุนนอร์เวย์ และประณามเหตุโจมตีดังกล่าว
เนื้อหา
การเตรียมการ[แก้]
เบรวิกใช้เวลาหลายปีเข้าไปอภิปรายในอินเทอร์เน็ตฟอรั่มและแสดงความเห็นต่อต้านอิสลามและการอพยพ[9] เขากำลังเตรียมก่อเหตุโจมตีตั้งแต่ พ.ศ. 2552 หรือก่อนหน้านั้น แม้ว่าเขาจะปกปิดเจตนารุนแรงของเขาก็ตาม[10][11][12]
เขาใช้เวลาช่วงต้นเดือนกันยายน พ.ศ. 2553 พยายามหาซื้ออาวุธปืนในกรุงปราก สาธารณรัฐเช็ก แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จึงหันมาพึ่งช่องทางกฎหมาย[13] โดยตัดสินใจซื้อปืนไรเฟิลกึ่งอัตโนมัติและปืนพกกล็อกอย่างถูกต้องตามกฎหมายในนอร์เวย์ เขาได้รับอนุญาตให้ซื้อปืนคาร์ไบน์กึ่งอัตโนมัติ รูเกอร์ มินิ-14 ซึ่งใช้เพื่อล่ากวาง เขาซื้อปืนในราคา 1,400 ยูโร ในปลาย พ.ศ. 2553[14] แต่การได้มาซึ่งปืนพกนั้นยากกว่ามาก โดยเขาต้องเข้าใช้บริการของสโมสรกีฬายิงปืนเป็นประจำ[15] จนกระทั่งได้รับอนุญาตให้ซื้อปืนพกกล็อกในกลางเดือนมกราคม พ.ศ. 2554[16][17]
เบรวิกอ้างในแถลงการณ์ของเขาว่าได้ซื้อโซเดียมไนเตรต 300 กรัมจากร้านค้าโปแลนด์แห่งหนึ่งเป็นเงิน 10 ยูโร ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 เพื่อทำชนวนระเบิด[18] เดือนมีนาคม พ.ศ. 2554[19] เขาซื้อสารเคมีจากบริษัทเล็ก ๆ แห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ที่วรอตสวัฟ เบรวิกตัดสินใจเก็บเงิน 2,000 ยูโรเพื่อซื้อ "โสเภณีหรูหรา" ก่อนลงมือก่อเหตุ ซึ่งคาดกันว่าช่วยให้เขามีขวัญกำลังใจและแรงจูงใจ เขายังวางแผนบริการมรณสักขีครั้งสุดท้ายในโบสถ์ฟรอกเนอร์ก่อนก่อเหตุด้วย[15]
ตามแถลงการณ์ส่วนตัวของเขา เบรวิกสั่งซื้อปุ๋ยเพื่อทำระเบิดเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2554[20] เขาเริ่มต้นทำระเบิดในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม วันที่ 13 มิถุนายน เขาได้ทดลองระเบิดครั้งแรก ณ สถานที่ไร้ผู้คนแห่งหนึ่งที่ไม่ระบุ วันที่ 15 กรกฎาคม เขาเช่ายืมรถมาคันหนึ่ง และวันที่ 18 กรกฎาคม เขาผูกระเบิดติดเข้ากับรถ บันทึกสุดท้ายของเขาในวันที่ 22 กรกฎาคม กล่าวว่า เขามีวัตถุดิบเพียงพอสำหรับก่อเหตุระเบิดอย่างน้อย 20 ครั้ง[21]
เหตุระเบิดในออสโล[แก้]
วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 เมื่อเวลา 15.25 น. ตามเวลาออมแสงยุโรปกลาง ระเบิดซึ่งถูกวางไว้ในโฟล์กสวาเกนครัฟแตร์ถูกจุดระเบิดในที่จอดรถที่จัตุรัสรัฐบาล ในกรุงออสโล ใกล้กับสำนักงานนายกรัฐมนตรีนอร์เวย์ เยนส์ สโตลเทนเบิร์ก และสำนักราชการอื่น ๆ เช่น กระทรวงปิโตรเลียมและพลังงาน และกระทรวงการคลัง[22] โดยพบว่ามีหน้าต่างแตกกระจายเป็นอันมาก แต่ต่อมา มีการยืนยันว่ารายงานดังกล่าวไม่เป็นความจริง[23] และมีรายงานแย้งกันด้วยว่า อาจมีระเบิดเกิดขึ้นหลายครั้ง[24] สโตลเทนเบิร์กไม่ได้รับอันตรายจากเหตุดังกล่าว[25] เสียงของการระเบิดสามารถได้ยินไปไกลถึง 7 กิโลเมตร[22]
มีเศษแก้วและสะเก็ดอาคารที่ถูกระเบิดดาดาษตามท้องถนนรอบพื้นที่เกิดเหตุ พบซากรถคันหนึ่งถูกระเบิดใกล้อาคารที่ได้รับผลกระทบ และมีรายงานว่าเกิดควันไฟสีขาวขนาดใหญ่ โดยว่าเป็นเพลิงที่ลุกไหม้ในกระทรวงปิโตรเลียมและพลังงาน หลังเหตุ เจ้าพนักงานตำรวจเข้าปราบพื้นที่ และตรวจหาวัตถุระเบิดเพิ่มเติม[26] ตำรวจกระตุ้นให้ประชาชนอพยพออกจากใจกลางกรุงออสโล[27]
ความสูญเสีย[แก้]
มีการยืนยันว่า ในเหตุระเบิดที่กรุงออสโล มีผู้เสียชีวิต 8 คน[25] ได้รับบาดเจ็บสาหัส 11 คน[28] และได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยอีก 15 คน[29][30] นายแพทย์ที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยออสโลกล่าวว่า เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลกำลังรักษาอาการบาดเจ็บที่ศีรษะ หน้าอกและบริเวณท้อง[31]
ในพื้นที่เกิดเหตุ มีผู้คนอยู่น้อยกว่าปกติ เพราะเป็นเดือนกรกฎาคมที่ชาวนอร์เวย์มีวันหยุดเป็นหลัก[32] ประกอบกับเหตุระเบิดเกิดขึ้นหลังเวลาราชการ นี้จึงอาจเป็นสาเหตุที่มีจำนวนผู้เสียหายไม่สูงนัก
ผลกระทบต่อการคมนาคม[แก้]
ถนนทุกสายที่มุ่งสู่เขตเมืองออสโลถูกปิดเพราะเจ้าหน้าที่ความมั่นคงอพยพประชาชนจากพื้นที่ และเตือนพลเมืองออสโลให้อยู่ห่างจากใจกลางเมือง และจำกัดการใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ ด้วยเกรงว่าอาจเกิดการโจมตีเพื่อก่อการร้ายขึ้นอีกได้[33] การขนส่งสาธารณะทั้งเข้าและออกเมืองถูกระงับ[34] โดยมีนักเดินทางรายหนึ่งติดต่อทางอีเมลกับบีบีซีซึ่งระบุว่า ตำรวจตั้งด่านตรวจบนถนนที่มุ่งสู่ท่าอากาศยานออสโล[35] แต่ท่ายังคงเปิดทำงานขณะที่ตำรวจตรวจค้นรถ ณ ที่นั้น[36][37]
สายทางรถไฟการ์เดอร์โมนระหว่างลีลล์สตอร์มกับท่าอากาศยานถูกปิดเช่นกัน หลังพบพัสดุต้องสงสัยใกล้กับรางรถไฟ[38] เหตุการณ์ทำนองเดียวกันยังเกิดที่สำนักงานสถานีโทรทัศน์ ทีวี 2 เป็นเหตุให้พนักงานต้องอพยพออกไป[39]
เหตุยิงกันบนเกาะอูเตอยา[แก้]
อย่างน้อยหนึ่งชั่วโมงครึ่งให้หลังเหตุระเบิดในกรุงออสโล[25] ชายในชุดตำรวจ ซึ่งยืนยันว่าเป็นแอนเดอส์ เบห์ริง เบรวิก กำลังโดยสารเรือเฟอร์รีไปยังเกาะอูเตอยา[40] อันเป็นสถานที่ตั้งของค่ายเยาวชนฤดูร้อนประจำปีของสันนิบาตเยาวชนแรงงานของพรรคแรงงานนอร์เวย์[25] โดยมีเยาวชนเข้าร่วมอย่างน้อย 600 คน[41]
เมื่อเบรวิกมาถึงเกาะ เขาแสดงตนว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ซึ่งเดินทางมาเพื่อตรวจสอบตามปกติหลังเหตุระเบิดในกรุงออสโล เขาส่งสัญญาณและขอให้ผู้คนมารวมตัวอยู่รอบตัวเขา[42] ก่อนที่เขาจะชักอาวุธและเครื่องกระสุนจากกระเป๋าและกราดยิงอาวุธออกไปไม่เลือก[43][44][45] ทำให้มีผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก เขาเริ่มยิงประชาชนบนเกาะก่อนแล้วค่อยเริ่มต้นยิงผู้ที่พยายามหลบหนีโดยว่ายน้ำข้ามทะเลสาบ[46]
โฆษกสำนักงานตำรวจแห่งชาติใต้กำกับกระทรวงยุติธรรมและตำรวจรายงานว่า ผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่เป็นเยาวชนอายุ 15 และ 16 ปี[47] มีรายงานว่า พยานบางคนบนเกาะซ่อนตัวอยู่ในพุ่มไม้และในห้องน้ำ และติดต่อโดยเมสเสจข้อความเพื่อมิให้มือปืนทราบตำแหน่งของตน[48] ตามรายงาน เหตุยิงสิ้นสุดลงหลังเวลาผ่านไปกว่าหนึ่งชั่วโมงครึ่ง เมื่อหน่วยปฏิบัติการพิเศษของตำรวจมาถึงและมือปืนยอมให้จับกุมแต่โดยดี แม้ว่าจะมีกระสุนเหลืออยู่ก็ตาม เมื่อเวลา 18.35 น.[49]
เมื่อเวลา 17.27 น. ตำรวจท้องที่ได้รับแจ้งเหตุยิงกันดังกล่าว และอีกสองนาทีให้หลัง ตำรวจในกรุงออสโลได้รับแจ้งเหตุเช่นกัน[50] ถึงเวลา 17.38 น. หน่วยต่อต้านการก่อการร้ายกลางถูกส่งไปยังอูเตอยา[50] อย่างไรก็ตาม กองกำลังปฏิบัติการพิเศษในกรุงออสโลไม่มีเฮลิคอปเตอร์ที่จะขนส่งไปยังเกาะอูเตอยาได้ทันที ทำให้หน่วยดังกล่าวต้องลงพื้นที่โดยรถยนต์[51] แล้วจึงต่อเรือเฟอร์รีไปยังเกาะเมื่อเวลา 18.09 น. แต่ต้องรอเรือพาพวกเขาแล่นข้ามน้ำไปอีกหลายสิบนาที จนไปถึงเกาะเมื่อเวลา 18.25 น. และเมื่อตำรวจมาถึงไม่เกินสองนาที มือปืนก็ยอมให้ตำรวจจับกุมแต่โดยดี[50]
พยานหลายคนที่ค่ายเยาวชนแสดงความสงสัยว่ามีมือปืนก่อเหตุเพียงคนเดียวจริงหรือไม่[52] ตำรวจได้รับการบอกรูปพรรณสัณฐานของมือปืนคนที่สอง และกำลังสอบสวนเพื่อยืนยันหรือปฏิเสธความถูกต้องของข้อมูลนี้ เนื่องจากความไม่แน่นอนในการระบุรูปพรรณสัณฐานของพยานและลักษณะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างโกลาหล ตำรวจจึงยังไม่ได้มีข้อคิดเห็นอย่างเป็นทางการต่อประเด็นดังกล่าว[53][54] เบรวิกอ้างว่าเขาลงมือก่อเหตุคนเดียวและไม่มีผู้สมรู้ร่วมคิด[55] เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม มีการจับกุมเพิ่มอีก 6 คนในกรุงออสโลด้วยข้อหามีความเชื่อมโยงกับเหตุโจมตี ก่อนจะถูกปล่อยตัวมาเมื่อเชื่อว่าทั้งหมดไม่ถูกสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องอีกต่อไป[56]
ผู้ต้องสงสัย[แก้]
สื่อนอร์เวย์หลายสำนักระบุว่า ผู้ต้องสงสัยลงมือก่อเหตุคือ แอนเดอส์ เบห์ริง เบรวิก เขาถูกจับกุมในเกาะอูเตอยาสำหรับก่อเหตุยิงดังกล่าวและเชื่อมโยงเข้ากับเหตุระเบิดในกรุงออสโลด้วย[57][58][59] เขาถูกตั้งข้อหาก่อการร้ายจากเหตุทั้งสอง[8] ตามข้อมูลของทนายของเขา เบรวิกยอมรับว่าเขารับผิดชอบต่อทั้งเหตุระเบิดและเหตุยิงระหว่างการสืบสวนสอบสวน แต่ปฏิเสธความผิดทางอาญา โดยอ้างว่าพฤติการณ์ของเขานั้น "โหดร้ายแต่จำเป็น"[60] เมื่อเขาถูกนำตัวขึ้นศาลครั้งแรกเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม เบรวิกถูกส่งกลับไปคุมขังเป็นเวลาแปดสัปดาห์ และช่วงสี่สัปดาห์แรกเป็นการขังเดี่ยว[61] เบรวิกต้องการให้มีการไต่สวนอย่างเปิดเผยและสวมเครื่องแบบที่เขาออกแบบเองระหว่างไต่สวน แต่คำขอทั้งสองถูกผู้พิพากษาปฏิเสธ[62]
อุดมการณ์ขวาจัดของเบรวิกปรากฏในแถลงการณ์ยาว 1,518 หน้า ชื่อว่า "2083-การประกาศอิสรภาพของยุโรป" ซึ่งถูกโพสต์วันเดียวกับวันเกิดเหตุ[63][64] แถลงการณ์ชาตินิยมสุดขั้วของเขาเปิดเผยถึงมุมมองแบบอาการกลัวคนแปลกหน้าของเขา ซึ่งประกอบด้วยแนวคิดทางการเมืองหลายแนวคิด รวมทั้งการสนับสนุนลัทธิอนุรักษนิยมทางวัฒนธรรม ประชานิยมฝ่ายขวา ต่อต้านอิสลามานุวัตร และลัทธิทหารพรานเซอร์เบียในระดับที่แตกต่างกัน[65][66] ขณะที่สนับสนุนการกวาดล้างยูราเบีย "มากซิสต์ทางวัฒนธรรม" อิสลามและพหุวัฒนธรรมนิยมด้วยกำลัง เพื่อรักษาไว้ซึ่งความเป็นคริสต์ของทวีปยุโรป[11][66][67][68][69][70]
ความสูญเสีย[แก้]
เมื่อเวลาประมาณ 3.50 น. ตามเวลาออมแสงยุโรปกลาง ของวันที่ 23 กรกฎาคม เครือข่ายโทรศัพท์หลักสองสถานีของนอร์เวย์ แพร่ภาพการแถลงข่าวสดจากกรุงออสโล ซึ่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาตินอร์เวย์ ออยสเตน เมแลนด์ แถลงจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุยิงบนเกาะอูเตอยาว่ามี "อย่างน้อย 80 คน" และคาดว่าจะเพิ่มขึ้น[71][72][73][74]
วันที่ 25 กรกฎาคม โฆษกตำรวจเปิดเผยว่ายอดผู้เสียชีวิตของเหยื่อบนเกาะอูเตอยาถูกทบทวนปรับลดลงเหลือ 68 คน หลังยอดผู้เสียชีวิตถูกนับเมื่อศพถูกนำมายังแผ่นดินใหญ่[75] นอกจากนี้ยังเสริมอีกว่ายอดผู้สูญหายยังคงมีสูงและยอดผู้เสียชีวิตอาจสูงถึง 86 คน
วันที่ 26 กรกฎาคม ตำรวจนอร์เวย์เผยแพร่ชื่อและวันที่เกิดของเหยื่อบนเว็บไซต์ จนถึงวันที่ 29 กรกฎาคม ชื่อของเหยื่อทั้ง 77 คน (8 คนจากเหตุระเบิด และ 69 คนบนเกาะอูเตอยา) ปรากฏอยู่บนเว็บไซต์[76] ภายหลังเหตุการณ์ สถานเอกอัครราชทูต ประจำกรุงออสโล ได้แจ้งกระทรวงการต่างประเทศของไทยว่ามีผู้เสียชีวิตชาวไทย 1 ราย คือ นางสาว พรทิพย์ อดัม อายุ 21 ปี เสียชีวิตจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่เกาะอูโทยา โดยนายจุลพงษ์ โนนศรีชัย เอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล ได้ให้เกียรติในการเข้าร่วมงานฝังศพในวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ณ โบสถ์เมือง Lund ใกล้กับเมือง Kristiansand พร้อมกล่าวคำสดุดีต่อหน้า นางสวรรยา อดัม มารดา ของผู้เสียชีวิตอีกด้วย[77]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ "At least 91 killed in shootings and bomb blast in Norway". VG. 22 July 2011. สืบค้นเมื่อ 23 July 2011.
- ↑ 2.0 2.1 "Police scale down: 68 killed in Utøya" (in Norwegian). VG Nett. 25 July 2011. สืบค้นเมื่อ 25 July 2011.
- ↑ "Politiet nedjusterer: 68 drept på Utøya" (in Norwegian). VG Nett. 24 July 2011. สืบค้นเมื่อ 24 July 2011. Google translation
- ↑ "En av de sårede fra Utøya døde på Ullevål sykehus" (in Norwegian). Dagbladet. 24 July 2011. สืบค้นเมื่อ 24 July 2011.
- ↑ Beaumont, Peter (22 July 2011). "Oslo bomb: suspicion falls on Islamist militants". The Guardian. UK. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
- ↑ "Norwegian Gunman Confesses -- Deadliest Attack By A Single Gunman In History". Radar Online. July 24, 2011. สืบค้นเมื่อ July 29, 2011.
- ↑ Skevik, Erlend; Jørstad, Atle; Stormoen, Stein-Erik (22 July 2011). "Storberget: - Den pågrepne er norsk". VG Nett (in Norwegian). NO. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
- ↑ 8.0 8.1 "Scores killed in Norway attack". BBC. UK. 23 July 2011. สืบค้นเมื่อ 23 July 2011.
We have no more information than... what has been found on [his] own websites, which is that it goes towards the right and that it is, so to speak, Christian fundamentalist.
- ↑ Clive Williams. "Deadly, cruel lesson from Norway". The Australian. สืบค้นเมื่อ 2011-07-27.
- ↑ "Oslo Suspect Cultivated Parallel Life to Disguise 'Martyrdom Operation'". 24 July 2011. สืบค้นเมื่อ 25 July 2011.
- ↑ 11.0 11.1 "2083 — A European Declaration of Independence" (PDF). สืบค้นเมื่อ 24 July 2011.
- ↑ Norský vrah sháněl zbraně i u motorkářů v Praze (in Czech), Týden, 24 July 2011 (Google Translate link)
- ↑ Oslo killer sought weapons from Prague’s underworld, Czech Position, 25 July 2011
- ↑ "Breivik's injected his dum-dum bullets with poison to make them deadlier". Daily Mail. 2011-07-26.
- ↑ 15.0 15.1 Zbraně jel Breivik nakoupit do "nebezpečné Prahy" (in Czech), novinky.cz, 24 July 2011 (Google Translate link)
- ↑ Suspect focused on buying specific weapons, ft, 24 July 2011
- ↑ "Skaffet seg våpen på lovlig vis". Bergens Tidende (in Norwegian). Norsk Telegrambyrå. 24 July 2011. สืบค้นเมื่อ 24 July 2011.
- ↑ Zoellner, Marek (26 July 2011). "ABW: Breivik kupował we Wrocławiu chemikalia, ale legalnie" (in Polish). pl:Gazeta Wrocławska/PAP. Archived from the original on 26 July 2011. สืบค้นเมื่อ 26 July 2011. (Google Translate link)
- ↑ "Tajné služby Breivika sledovaly od března, podle otce se měl raději zastřelit". novinky.cz (in Czech). 25 July 2011. สืบค้นเมื่อ 25 July 2011. (Google Translate link)
- ↑ "Diary of a madman". 24 July 2011. สืบค้นเมื่อ 25 July 2011.
- ↑ Z deníku norského vraha: Prásk! Detonace byla úspěšná!:-) (in Czech), Týden, 24 July 2011 (Google Translate link)
- ↑ 22.0 22.1 Ward, Andrew (22 July 2011). "Youth camp shooting after Oslo bomb". Financial Times. Stockholm. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
- ↑ Foto: Dagbladet.no. "Explosion i centrala Oslo - Nyheter - Senaste nytt | Expressen - Nyheter Sport Ekonomi Nöje". Expressen.se. สืบค้นเมื่อ 2011-07-22.
- ↑ "Stor eksplosjon i Oslo sentrum" (in Norwegian). NO: NRK. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
- ↑ 25.0 25.1 25.2 25.3 "Oslo: Bomb blast near Norway prime minister's office". BBC News. UK. 22 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
- ↑ "Big Blast Hits Government Buildings in Central Oslo". The New York Times. 23 July 2011.
- ↑ "Explosion rocks Oslo | Events". Blogs. Reuters. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
- ↑ "Explosion In Oslo Government Building". News. Sky. 23 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
- ↑ Hough, Andrew (22 July 2011). "Oslo explosion: 'several' dead, dozens injured after Norway city blast". The Telegraph. UK. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
- ↑ "Explosion hits Norwegian PM's office — Europe". Al Jazeera English. 22 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
- ↑ "17 dead in Oslo bombing, shootings; Norwegian held - On Deadline - USATODAY.com". Content.usatoday.com. 23 July 2011. สืบค้นเมื่อ 23 July 2011.
- ↑ "Norway on summer vacation". The Research Council of Norway. 1 July 2010. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
- ↑ Duxbury, Charles (22 July 2011). "Deadly Attacks Shake Norway". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
- ↑ Rayfield, Jillian (22 July 2011). "Oslo Bomb Attack — Eyewitness Reports". LiveWire. Talking Points Memo. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
- ↑ "Oslo bomb — latest updates". News. UK: BBC. 22 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
- ↑ "Bomb blast rocks downtown Oslo". RT. 22 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
- ↑ "Oslo-trikken: – Det er normal drift, ingen grunn til bekymring". TV 2 (in Norwegian). NO. 22 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
- ↑ "All trains shut down after suspicious package". Dagbladet. NO. 22 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
- ↑ Lofstad, Ralf; Haraldsen, Stian; Badi, Diana (22 July 2011). "Disse områdene er evakuert". Dagbladet (in Norwegian). NO. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
- ↑ "Police: 91 youth campers dead in mass shooting, bombing in Norway". CNN. US. 23 July 2011. สืบค้นเมื่อ 23 July 2011.
- ↑ "Norway Camp Shooting: 'As Many As 30 Dead'". Sky News. 23 July 2011. Accessed 27 July 2011
- ↑ "Flere unge skutt og drept på Utøya". Norwegian Broadcasting Corporation. 22 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
- ↑ Witnesses Describe Scene Of Terror At Norway Camp by NPR, 23 July 2011
- ↑ Brenna, Jarle (22 July 2011). "Vi er under angrep!". VG Nett (in Norwegian). NO. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
- ↑ "LIVE: Doden bij bomexplosie in Oslo – schietpartij op jongerenkamp" (in Dutch). NL: NRC.
- ↑ "Nine, perhaps 10, killed in Norway shooting". Reuters. 22 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
- ↑ "Blasts and Gun Attack in Norway; 7 Dead". The New York Times. 22 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
- ↑ "Twin terror attacks shock Norway". News. UK: BBC. 22 July 2011. สืบค้นเมื่อ 23 July 2011.
- ↑ "Terroriserte Utøya i halvannen time" (in Norwegian). 23 July 2011. สืบค้นเมื่อ 25 July 2011. Unknown parameter
|trans_title=
ignored (help) - ↑ 50.0 50.1 50.2 "Breivik forberedte terror i ni år" (in Norwegian). 24 July 2011. สืบค้นเมื่อ 24 July 2011. Unknown parameter
|trans_title=
ignored (help) - ↑ "The wrong helicopter and a sinking boat: Why it took police so long to reach Norwegian island massacre". News. UK: Mail Online. 24 July 2011. สืบค้นเมื่อ 24 July 2011.
- ↑ "Eyewitness to VG: (...)". VG.
- ↑ "Politiet frykter gjerningsmann kan være på frifot" (in Norwegian). NO: VG. 23 July 2011. สืบค้นเมื่อ 23 July 2011.
- ↑ "Frykter at gjerningsmann kan være på frifot" (in Norwegian). NO: Aftenposten. 23 July 2011. สืบค้นเมื่อ 23 July 2011.
- ↑ "Synes ikke selv at han bør straffes" (in Norwegian). NO: NRK. 24 July 2011. สืบค้นเมื่อ 24 July 2011.
- ↑ Norwegian police arrest six in Oslo raids BreakingNews.ie, 24 July 2011.
- ↑ "Anders (32) i Oslo ble pågrepet etter bombe og massedrap". Nyhetene. NO: TV 2. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
- ↑ "[[blond]] [[norwegians|Norwegian]]". Daily Mail. UK. 22 July 2011. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011. URL–wikilink conflict (help)
- ↑ "Pågrepet 32-åring kalte seg selv nasjonalistisk". Nett (in Norwegian). NO: VG. สืบค้นเมื่อ 22 July 2011.
- ↑ Hansen, Birthe Steen (23 July 2011). "Defence: - In his mind it was necessary". Nettavisen / TV2. สืบค้นเมื่อ 23 July 2011.
- ↑ Tisdal, Townsend (25 July 2011). "Defiant from the dock, Breivik boasts more will die". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.
- ↑ Erlanger, Steven (25 July 2011). "Norway Suspect Denies Guilt and Suggests He Did Not Act Alone". New York Times. สืบค้นเมื่อ 26 July 2011.
- ↑ Kumano-Ensby, Anne Linn (23 July 2011). "Sendte ut ideologisk bokmanus en time før bomben". NRK News (in Norwegian). สืบค้นเมื่อ 23 July 2011.
- ↑ Bjoern Amland and Sarah Dilorenzo (24 July 2011). "Lawyer: Norway suspect wanted a revolution". Forbes. Associated Press. สืบค้นเมื่อ 24 July 2011.
- ↑ "Norwegian mass murderer Breivik comments on Croat-Serb relations in his manifesto". Croatian Times. 27 July 2011. สืบค้นเมื่อ 27 July 2011.
- ↑ 66.0 66.1 'Norway attack suspect had anti-Muslim, pro-Israel views' by Ben Hartman, The Jerusalem Post, 24 July 2011
- ↑ Birnbaum, Michael; Goodman, J David (22 July 2011). "At Least 80 Are Dead in Norway Shooting". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 23 July 2011. More than one of
|last1=
และ|last=
specified (help); More than one of|first1=
และ|first=
specified (help) - ↑ Norwegian Massacre Gunman was a Right-Wing Extremist who hated Muslims by The Daily Mail, 24 July 2011
- ↑ Beaumont, Peter (23 July 2011). "Anders Behring Breivik: profile of a mass murderer". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 25 July 2011.
- ↑ Norwegian Crime and Punishment by Debra J. Saunders, San Francisco Chronicle, 26 July 2011 ~ "... the anti-multiculturalism, anti-Muslim and anti-Marxist message of his 1,500-page manifesto."
- ↑ อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อVG-eng
- ↑ Live Stream. NO: TV 2.
- ↑ TV2, Norwegian national television station
- ↑ "Politiet: Minst 80 drepte på Utøya - Norge". Nyheter (in Norwegian). NO: NRK. สืบค้นเมื่อ 23 July 2011.
- ↑ "Norway Skynews Live blog". Sky News. สืบค้นเมื่อ 25 July 2011.
- ↑ "– Navn på omkomne etter tragediene på Utøya og i Oslo" (in Norwegian). 29 July 2011. สืบค้นเมื่อ 29 July 2011.
- ↑ http://www.mfa.go.th/web/200.php?id=27869
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ: 2011 Norway attacks |
![]() |
วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ: |
- Stor eksplosjon i Oslo sentrum, Aftenposten, News report in Norwegian, with pictures.
- Allvarligt bombattentat skakar Oslo, Sveriges Radio, News report in Swedish, with pictures.
- LIVE: Oslo explosion, BBC News, live news broadcast on the bombing in Oslo.
- Norway — Breivik Attacks, July 2011 collected news and commentary at The New York Times
- Oslo Terrorist Attacks - Terrorism with a different face, in a different place
ภาพ[แก้]
- Oslo Attacks: A Bloody Aftermath — slideshow by Life magazine
- Norway Massacre: Island Under Siege — slideshow by Life magazine
- Deadly Attacks In Norway — slideshow by NPR