เหตุโจมตีในดาร์ฟูร์ พ.ศ. 2563

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุโจมตีในดาร์ฟูร์ พ.ศ. 2563
เป็นส่วนหนึ่งของสงครามดาร์ฟูร์
ที่ตั้งของเมืองดาร์ฟูร์ (เขียวอ่อน) และส่วนหนึ่งของประเทศซูดาน (เหลืองอ่อน)
สถานที่ดาร์ฟูร์, ประเทศซูดาน
วันที่12–26 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
ประเภทการกราดยิง
ตาย89 คน
เจ็บ102 คน
เหตุจูงใจความขัดแย้งเกี่ยวกับที่ดินการเกษตร

เหตุโจมตีในดาร์ฟูร์ พ.ศ. 2563 เป็นเหตุกราดยิงเกิดขึ้นสามครั้งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2563 ในเมืองดาร์ฟูร์, ประเทศซูดาน คณะผู้นำของซูดานและสหภาพภารกิจรักษาสันติภาพผสมระหว่างสหประชาชาติและสหภาพแอฟริกันในดาร์ฟูร์ (UNAMID) มีความต้องการในการจัดการในเรื่องของปัญหาที่ดินการเกษตรจากเกษตรกรที่ไม่ใช่ชาวอาหรับ อาทิ เกษตรกรชาวมาซาลิต และเกษตรกรชาวเบดูอิน[1] ซึ่งทางการเชื่อว่ากลุ่มนี้เป็นผู้โจมตี[2]

เหตุโจมตี[แก้]

12 กรกฎาคม[แก้]

มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 9 ราย และบาดเจ็บ 20 ราย ในระหว่างการประท้วง โดยถูกกองกำลังไม่ทราบนามขี่รถจักรยานยนต์ อูฐ และม้ามาโจมตีด้วยอาวุธสงคราม ในเขตฟาตาบอนอ ทางเหนือของดาร์ฟูร์ หลังจากนั้น รัฐบาลจึงได้ประกาศสภาวะฉุกเฉินในทุกเมืองของประเทศ พยานได้เล่าว่ากองกำลังไม่ทราบนามใช้อาวุธปืนเบาและหนัก พร้อมทั้งยังปล้นสะดมตลาดภายในเมืองภายหลังจากการเลิกตรึงกำลังของกองกำลังตำรวจ[3]

24 กรกฎาคม[แก้]

มือปืนได้โจมตีในหมู้บ้านทางตอนใต้ของดาร์ฟูร์[4][5] เหตุโจมตีส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 20 ราย และผู้บาดเจ็บ 22 ราย[6] ในนั้นพบว่ามีเด็ก หลังจากนั้น นายกรัฐมนตรี อับดุลลา ฮัมด็อก ได้ให้ความมั่นใจกับเกษตรกรที่จะสามารถกลับไปทำไร่ทำนาต่อได้ โดยยืนยันว่า จะส่งกองกำลังไป "เพื่อปกป้องประชาชนในช่วงฤดูทางเกษตร"[7] กองกำลังเหล่านี้ได้กระจายไปทั้งดาร์ฟูร์โดยเป็นของกำลังทหารและกำลังตำรวจ[7]

25-26 กรกฎาคม[แก้]

มีเหตุกราดยิงในทางตะวันตกของดาร์ฟูร์ โดยมีมือปืน 500 ราย บุกโจมตีหมู่บ้านมาสเตรี ซึ่งเป็นชุมชนของชาวมาซาลิตมีผู้เสียชีวิตกว่า 60 ราย[5] โดยหมู่บ้านมาสเตรีติดอยู่กับชายแดนของประเทศชาด[8] สหประชาชาติได้แถลงการณ์ว่า มีผู้บาดเจ็บกว่า 60 รายจากการโจมตี โดยผู้ก่อเหตุยังได้เผาหมู่บ้านพร้อมกับปล้นสะดมด้วย[9]โดยสหประชาชาติได้กล่าวว่า "เป็นหนึ่งในเหตุการณ์ความมั่นคงล่าสุดที่ได้รับรายงานภายในช่วงสัปดาห์" [5] โดยมีชุมชมภายในทางตะวันตกของดาร์ฟูร์ถูกโจมตีมาแล้วเจ็ดครั้ง ตั้งแต่วันที่ 19 กรกฎาคม[8] สหประชาชาติเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาในเรื่องของกรรมสิทธิ์ โดยในช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 2000 พื้นที่ในภูมิภาคนี้เป็นพื้นที่รกร้าง ในช่วงไม่กี่ปีมีกลุ่มที่พยายามทวงสิทธิ์ภายในพื้นที่ จากเหตุการณ์ ไม่มีการออกมาว่าเป็นฝีมือของกลุ่มใด[10]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Sudan deploys security forces after 120 dead, injured in attack in Darfur". Middle East Monitor (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2020-07-28. สืบค้นเมื่อ 2020-07-28.
  2. Soudan : le gouvernement envoie l'armée au Darfour en proie à une flambée de violences [Sudan: the government sends the Army to Darfur after an eruption of violences] (ภาษาฝรั่งเศส), France TV info, Khartoum veut stopper les milices arabes proches de l'ancien président Omar el-Béchir qui terrorisent les populations dans l'ouest du pays [Cartum wants to stop the arab militias aligned with the old president Omar el Bechir who are terrorizing the West of the country.
  3. UN condemns deadly violence in Sudan's North Darfur
  4. "Attackers kill at least 20 in Sudan's Darfur, says tribal chief". Al Jazeera English. 25 July 2020.
  5. 5.0 5.1 5.2 "Sudan sending troops to Darfur after 60 killed" (ภาษาอังกฤษ). 27 July 2020. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)
  6. "Gunmen kill at least 22 villagers in South Darfur, locals say". 25 July 2020 – โดยทาง Reuters.
  7. 7.0 7.1 "Sudan to deploy troops to Darfur after killings: PM Hamdok". www.aljazeera.com. สืบค้นเมื่อ 27 July 2020.
  8. 8.0 8.1 "Dozens killed in renewed violence in Sudan's Darfur: UN". www.aljazeera.com. สืบค้นเมื่อ 27 July 2020.
  9. Deutsche Welle (www.dw.com). "More than 60 killed in fresh attacks in Sudan's Darfur region | DW | 27.07.2020". DW.COM.
  10. "Sudan to send more troops to Darfur after attacks". BBC News. 27 July 2020. สืบค้นเมื่อ 27 July 2020.