เหตุเครื่องบินสโมสรฮอกกี้โลโคโมติฟยาโรสลัฟล์ตก พ.ศ. 2554
สรุปอุบัติการณ์ | |
---|---|
วันที่ | 7 กันยายน ค.ศ. 2011 |
สรุป | กำลังสืบสวน |
จุดเกิดเหตุ | แม่น้ำวอลกา ใกล้กับยาโรสลัฟล์ รัสเซีย 57°33′07″N 40°07′16″E / 57.5518528°N 40.121212°Eพิกัดภูมิศาสตร์: 57°33′07″N 40°07′16″E / 57.5518528°N 40.121212°E |
ประเภทอากาศยาน | ยาคอฟเลฟ ยัค-42ดี |
ดําเนินการโดย | ยัคเซอร์วิส |
ต้นทาง | ท่าอากาศยานตูโนชนา ยาโรสลัฟล์ ประเทศรัสเซีย |
ปลายทาง | ท่าอากาศยานมินสค์-1 มินสค์ ประเทศเบลารุส |
ผู้โดยสาร | 37[1] |
ลูกเรือ | 8[1] |
เสียชีวิต | 43[2] |
รอดชีวิต | 2[1][2] |
เหตุเครื่องบินสโมสรฮอกกี้โลโคโมติฟยาโรสลัฟล์ตก พ.ศ. 2554 เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554 เมื่อเวลา 16.02 น. ตามเวลาท้องถิ่น เมื่ออากาศยานโดยสารแบบยัค-42 ซึ่งบรรทุกผู้โดยสารทีมฮ็อกกีน้ำแข็งอาชีพ และเจ้าหน้าที่โค้ชของทีมโลโคโมติฟยาโรสลัฟล์แห่งคอนตีเนนทัลฮอกกี้ลีก (KHL) ตกใกล้กับยาโรสลัฟล์ ประเทศรัสเซีย ทีมกำลังออกเดินทางมุ่งหน้าไปยังมินสค์ ประเทศเบลารุส เพื่อเริ่มต้นแข่งขัน KHL ฤดูกาล 2011-12[3] ผู้เล่นทุกคนในรายชื่อทีมหลักและผู้เล่นสี่คนจากทีมสำรองอยู่บนอากาศยานลำนั้น ซึ่งชนเข้ากับเสาหอคอย และประสบอุบัติเหตุตกไม่นานหลังนำเครื่องขึ้น ราว 2.5 กิโลเมตรจากท่าอากาศยานตูโนชนา รายงานเบื้องต้นว่า ผู้โดยสารบนเครื่องทั้งหมด 45 คนได้รับยืนยันว่าเสียชีวิต ยกเว้นสองคน เป็นผู้เล่นหนึ่งคนและสมาชิกลูกเรือหนึ่งคน[3][4]
อากาศยาน[แก้]
อากาศยานลำที่เกิดอุบัติเหตุ ยาคอฟเลฟ ยัค-42ดี หมายเลขทะเบียน RA-42434 และหมายเลขการผลิต 4520424305017 บินครั้งแรกใน พ.ศ. 2536 และถูกส่งไปยังโอเรลแอร์เอ็นเทอร์ไพรซ์ หลังปฏิบัติงานกับบืยโคโว อะเวีย มันได้ถูกส่งไปปฏิบัติงานกับฝูงบินเอโร เรนท์ และต่อมาปฏิบัติงานโดยยัคเซอร์วิส ซึ่งเป็นผู้ให้บริการอากาศยานลำที่ประสบอุบัติเหตุ[5] โอเลก พันเทเลเยฟ หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์ที่อาเวียพอร์ท ชี้ว่า ยัค-42 ได้รับการออกแบบมาให้มีอายุใช้งาน 36 ปี และเครื่องบินลำดังกล่าว ตามจำนวนชั่วโมงบิน จำนวนครั้งที่นำเครื่องขึ้นและลงจอด ยังมีอายุการใช้งานเหลืออยู่อีก 60% ตามข้อมูลของพันเทเลเยฟ ในการบินพลเรือน ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า "อากาศยานลำเก่า" แต่พิจารณาความเหมาะสมในการใช้งาน (airworthiness) แทน[6] ตามข้อมูลของรัฐมนตรีช่วยกระทรวงคมนาคม วาเลรี โอคูลอฟ เครื่องยนต์หนึ่งในสามของเครื่องบินถูกเปลี่ยนหนึ่งเดือนก่อนเกิดเหตุ[7] อากาศยานลำดังกล่าวมีกำหนดจะถูกปลดระวางในปลาย พ.ศ. 2554 เพื่อยกเครื่องยนต์ครั้งใหญ่ตามกำหนด[8]
ใน พ.ศ. 2552 ยัคเซอร์วิสถูกสอบสวนโดยคณะกรรมาธิการยุโรป หลังมีความกังวลด้านความเหมาะสมในการใช้งานและความปลอดภัยทางอากาศ ทางการรัสเซียออกข้อจำกัดต่อบริษัท และทำให้ยัคเซอร์วิสต้องได้รับการตรวจสอบเพื่อให้ได้มาตรฐานสากล[9] ใน พ.ศ. 2553 ยัคเซอร์วิสถูกห้ามทำการบินเข้าไปในน่านฟ้ายุโรป กระทรวงคมนาคมรัสเซีย เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ห้ามยัคเซอร์วิสมิให้บินเข้าไปในยุโรป วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ข้อจำกัดการทำการถูกยกเลิกโดยทางการรัสเซีย อย่างไรก็ดี คณะกรรมาธิการยุโรปยังไม่พอใจกับอุปกรณ์บังคับที่มีอยู่บนเครื่องบินยัคเซอร์วิสทุกลำ และห้ามเครื่องบินโดยสารขนาดเล็กยัค-40 สองลำ (หมายเลขทะเบียน RA-87648 และ RA-88308) มิให้ทำการบินในน่านฟ้ายุโรป[10]
อุบัติเหตุ[แก้]
อากาศยานยัคเซอร์วิสติดหอบอกตำแหน่งซึ่งอยู่ห่าง 450 เมตรจากปลายรันเวย์ 05 ที่ท่าอากาศยานตูโนชนา ขณะกำลังนำเครื่องขึ้น โดยมีรายงานว่าอากาศยานลำดังกล่าวใช้พื้นที่รันเวย์มากเกินไปในการนำเครื่องขึ้นและไม่ได้รับความสูงที่จะนำเครื่องขึ้นอย่างเหมาะสม[11] หลังชนเข้ากับเสาเรดาร์ของหอ เครื่องบินได้ชนเข้ากับฝั่งแม่น้ำตูโนชนา ห่างจากจุดที่ไหลไปรวมกับแม่น้ำวอลกา 200 เมตร โดยสูญเสียส่วนหางไปเมื่อชน ขณะที่ส่วนหน้าของเครื่องแตกเป็นชิ้น ๆ[11] ที่จุดตก ส่วนหางยังอยู่ในน้ำ ขณะที่ชิ้นส่วนหน้าอยู่บนพื้นแห้ง[12] ตำแหน่งของซากเครื่องบินอยู่ห่างจากปลายรันเวย์อย่างน้อย 2 กิโลเมตร[13]
รายงานพยานระบุว่าเครื่องบิน "ระเบิดลุกเป็นไฟ" หลังชนเข้ากับเสาเรดาร์[14] ทิศทางของเครื่องบินเปลี่ยนหลังจากนั้น พยานอีกรายงานหนึ่งอธิบายว่า เครื่องยนต์ของเครื่องเงียบลงไม่กี่อึดใจก่อนเกิดอุบัติเหตุชน[15] อีกรายงานหนึ่งว่า เครื่องบินชนกับต้นไม้บางต้นก่อนตก[16] อีกรายงานหนึ่งว่า เครื่องบินแตกออกเป็นสองส่วนก่อนชน[12] กล้องเฝ้าตรวจความปลอดภัยซึ่งติดตั้งไว้บนเสาเรดาร์บันทึกการพุ่งเข้าของอากาศยานด้วยความเร็ว วิ่งออกปลายรันเวย์ เหนือพื้นดินไม่กี่เมตร และจมูกเชิดขึ้นไม่กี่อึดใจก่อนชนกับเสาเรดาร์[17]
ดูเพิ่ม[แก้]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 "Крушение самолета Як-42 в Ярославской области" (ภาษารัสเซีย). Ministry of Emergency Situations. 7 September 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-01-17. สืบค้นเมื่อ 7 September 2011.
- ↑ 2.0 2.1 Full list of people on board of crashed Yak-42, Russia Today (7 September 2011)
- ↑ 3.0 3.1 "Russian ice hockey team wiped out in plane crash". Yaroslavl: RIA Novosti. 7 September 2011. สืบค้นเมื่อ 7 September 2011.
- ↑ "Top KHL squad killed in passenger plane crash in Russia — RT". Rt.com. 2008-02-06. สืบค้นเมื่อ 2011-09-08.
- ↑ "Яковлев Як-42Д Бортовой №: RA-42434" (ภาษารัสเซีย). russianplanes.net. สืบค้นเมื่อ 8 September 2011.
- ↑ "Разбившийся Як-42 израсходовал 40% летного ресурса, сообщили эксперты" (ภาษารัสเซีย). Moscow: RIA Novosti. 7 September 2011. สืบค้นเมื่อ 7 September 2011. (รัสเซีย)
- ↑ "Russian investigators probe KHL jet crash". CBC News. September 8, 2011. สืบค้นเมื่อ September 8, 2011.
- ↑ "Commission Regulation (EC) No 1144/2009 of 26 November 2009 amending Regulation (EC) No 474/2006 establishing the Community list of air carriers which are subject to an operating ban within the Community". Eur-lex.europa.eu. สืบค้นเมื่อ September 8, 2011.
- ↑ Kaminiski, David (September 9, 2011). "Yak Service had come under EU safety scrutiny". FlightGlobal. สืบค้นเมื่อ September 9, 2011.
- ↑ 11.0 11.1 Kaminiski, David (September 8, 2011). "Yak-42 failed to gain height and hit beacon: ministry". FlightGlobal. สืบค้นเมื่อ September 8, 2011.
- ↑ 12.0 12.1 "Нелетная страна". Rosbalt. September 8, 2011. สืบค้นเมื่อ September 8, 2011.
- ↑ "Accident description". Aviation Safety Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-16. สืบค้นเมื่อ September 8, 2011.
- ↑ Maloveryan, Yuri (September 7, 2011). "Russia's Lokomotiv ice hockey team in air disaster". BBC News. สืบค้นเมื่อ September 9, 2011.
- ↑ "Poor-quality fuel emerges as possible cause in fatal Russian jet crash". The Globe and Mail. September 8, 2011. สืบค้นเมื่อ September 8, 2011.
- ↑ Выживший бортинженер пытался спасти пилота (ภาษารัสเซีย). NTV. September 8, 2011. สืบค้นเมื่อ September 8, 2011.
- ↑ "Last second Yak-42 were recorded on video". NTV (ภาษารัสเซีย). September 8, 2011. สืบค้นเมื่อ September 8, 2011.