ข้ามไปเนื้อหา

เหตุอาคารถล่มในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2568

พิกัด: 13°48′09″N 100°32′49″E / 13.802385628889215°N 100.54687286960188°E / 13.802385628889215; 100.54687286960188
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุอาคารถล่มในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2568
ส่วนหนึ่งของแผ่นดินไหวในประเทศพม่า พ.ศ. 2568
  • จากภาพบน ซ้ายไปขวา: เศษซากอาคารที่ทำการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแห่งใหม่ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2568 (หลังเหตุการณ์ 9 วัน) • เครื่องจักรขนาดใหญ่ขณะเจาะซากเสาและคานที่พังถล่มลงมา • เศษซากเหล็กและคอนกรีตของอาคาร • ภาพจากกล้องติดหน้ารถแสดงอาคารที่กำลังถล่ม (ในทางด้านซ้าย) • อาคารดังกล่าวหลายเดือนก่อนถล่ม
วันที่28 มีนาคม 2568
เวลาประมาณ 13:40 น. (UTC+7)
ที่ตั้งถนนกำแพงเพชร แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
พิกัด13°48′07″N 100°32′49″E / 13.802°N 100.547°E / 13.802; 100.547
ประเภทความล้มเหลวทางโครงสร้าง
สาเหตุแผ่นดินไหวในประเทศพม่า พ.ศ. 2568
เสียชีวิต44+
บาดเจ็บไม่ถึงตาย19+
สูญหาย50+
แผนที่

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568 เวลาประมาณ 13:40 น.[1] ในแขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร เกิดอุบัติเหตุอาคารที่ทำการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแห่งใหม่ 33 ชั้นถล่ม[2] ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 44 ราย[3][4] บาดเจ็บอย่างน้อย 19 ราย[a] และมีผู้สูญหายไม่ต่ำกว่า 50 ราย

การถล่มของอาคารเกิดจากแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในประเทศพม่า[5][6][7] ซึ่งอยู่ระหว่างการก่อสร้างในส่วนงานผนังและตกแต่งภายนอก แม้โครงสร้างจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ตั้งแต่ พ.ศ. 2567 แล้ว[8]

ภูมิหลัง

[แก้]

อาคารสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแห่งใหม่นี้ตั้งอยู่บนถนนกำแพงเพชร ใกล้ตลาดนัดจตุจักร กรุงเทพมหานคร[9] มีความสูง 33 ชั้น[10] การก่อสร้างเริ่มขึ้นใน พ.ศ. 2563 และก่อสร้างในส่วนโครงสร้างอาคารแล้วเสร็จเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2567 ตามประกาศของบริษัท China Railway No.10 Engineering Group[11] ผู้รับเหมาเป็นกิจการร่วมค้าระหว่างบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD-CRECG[12]

ก่อนตัวอาคารถล่ม ได้มีการเพิ่มแผงกระจกด้านหน้าและการติดตั้งเครื่องใช้ภายใน ด้วยงบประมาณก่อสร้าง 2,136 ล้านบาท[12] และหากก่อสร้างเสร็จสิ้น จะใช้งบประมาณรวม 2,522,153 ล้านบาท[13]

อาคารนี้สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นอาคารที่ทำการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแห่งใหม่ แทนที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินปัจจุบัน ซึ่งตั้งอยู่บนถนนพระรามที่ 6 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร

ผลกระทบ

[แก้]

ผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต

[แก้]

ขณะนี้การปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัยในพื้นที่อยู่ระหว่างดำเนินการ[14] เมื่อวันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2568 เวลา 16:00 น. กรุงเทพมหานครรายงานว่าพบผู้เสียชีวิตแล้ว 44 ราย[3][4] มีคนงานก่อสร้างในพื้นที่บาดเจ็บ 9 ราย รวมผู้บาดเจ็บจากเหตุการณ์อย่างน้อย 19 ราย และมีผู้สูญหายติดอยู่ใต้ซากปรักหักพังอีก 50 ราย

การสืบสวน

[แก้]

หน่วยงานท้องถิ่นเริ่มดำเนินการสอบสวนเรื่อง "คุณภาพของการก่อสร้าง วัสดุที่ใช้ และการปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องว่าด้วยการก่อสร้างอาคารที่ทนทานต่อแผ่นดินไหวอย่างเหมาะสมหรือไม่"[15] ต่อมากรมสอบสวนคดีพิเศษได้รับเป็นคดีพิเศษ[16]

การวิพากษ์วิจารณ์

[แก้]

เนื่องจากผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินไม่ได้ออกมาขอโทษในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่อมามีการเปิดเผยถึงหนังสือเวียนในลักษณะที่ตำหนิประชาชนว่าเป็น "ผู้ที่มีความเห็นในเชิงลบ"[17] พิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส อดีตผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดินได้ออกมาให้สัมภาษณ์โดยตอบโต้ผู้ที่วิจารณ์ว่าทำไมเลือก ผู้รับเหมาโครงการที่เสนอราคาต่ำสุด ในลักษณะที่ว่าหากใช้เลือกผู้รับเหมาโครงการราคาแพงก็จะถูกวิจารณ์อีก ส่วนที่มีผู้วิจารณ์ ว่าโต๊ะเก้าอี้ราคาแพง อดีตผู้ว่าฯ ได้ตอบโต้กลับว่าถ้าใช้เป็นสิบปีถือว่าคุ้มค่าคุ้มราคา[ต้องการอ้างอิง]

ภาพมุมกว้างเศษซากอาคารที่ทำการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินแห่งใหม่ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2568 (หลังเหตุการณ์ 9 วัน)

หมายเหตุ

[แก้]
  1. เป็นคนงานก่อสร้าง 9 คนและบุคคลในบริเวณใกล้เคียง 10 คน

อ้างอิง

[แก้]
  1. "แผ่นดินไหวเมียนมา 7.4 สะเทือน กทม.-หลายจังหวัดทั่วประเทศ". Thai PBS. สืบค้นเมื่อ 2025-03-31.
  2. เปิดที่มา ‘เอกชนจีน’ อวดสร้างตึกใหม่ สตง. ก่อนถล่มหลังแผ่นดินไหว
  3. 3.0 3.1 "Facebook". www.facebook.com. สืบค้นเมื่อ 2025-04-15.
  4. 4.0 4.1 "สรุปยอดผู้เสียชีวิตตึกถล่ม 44 คน สูญหาย 50 คน". TNN Thailand. 2025-04-15. สืบค้นเมื่อ 2025-04-15.
  5. "Powerful Myanmar earthquake kills dozens, also hits Thailand". Reuters. สืบค้นเมื่อ March 28, 2025.
  6. "Earthquake rocks Thailand and Myanmar, triggering the collapse of a Bangkok high-rise". NPR. สืบค้นเมื่อ March 28, 2025.
  7. "Myanmar-Thailand earthquake live updates: More than 100 dead, 700 injured in Myanmar". ABC News.
  8. "แกะรอยบริษัทจีน โชว์ป้ายทำโครงสร้างตึก สตง. เสร็จตั้งแต่ เม.ย. 67". PPTV ONLINE. PPTVHD36. สืบค้นเมื่อ 5 April 2025.
  9. "Dozens of workers trapped in collapsed Bangkok high-rise". Bangkok Post. 28 March 2025. สืบค้นเมื่อ 28 March 2025.
  10. "Bangkok high-rise collapses after powerful 7.7 earthquake rocks Myanmar and Thailand". PBS. March 28, 2025. สืบค้นเมื่อ March 28, 2025.
  11. 許祺安 (2025-03-28). "緬甸地震|泰國摩天大樓倒塌5死 建商為中國鐵路十局去年才封頂". 香港01 (ภาษาChinese (Hong Kong)). สืบค้นเมื่อ 2025-03-29.
  12. 12.0 12.1 Jay (2025-03-28). "อาคาร "สตง." ถล่ม! สะเทือน ITD ผู้ก่อสร้าง หลังแผ่นดินไหว". ข่าวหุ้นธุรกิจออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 2025-03-28.
  13. ข่าวประชาสัมพันธ์ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
  14. "Dashcam captures moment Bangkok building collapses". BBC. 28 March 2025. สืบค้นเมื่อ 28 March 2025.
  15. Citizen, The Online (2025-03-28). "Under-construction audit office in Bangkok collapses after Myanmar earthquake". The Online Citizen (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2025-03-28.[ลิงก์เสีย]
  16. "ดีเอสไอ" รับคดีอาคาร สตง. ถล่มเป็นคดีพิเศษ พบหลักฐานใช้นอมินี
  17. ผู้ว่าฯ สตง.ออกจดหมายเวียน ตัดพ้อไม่ได้รับความเป็นธรรม ขอให้ทุกคนอดทน จับมือกันให้แน่น

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

13°48′09″N 100°32′49″E / 13.802385628889215°N 100.54687286960188°E / 13.802385628889215; 100.54687286960188