เหตุระเบิดในประเทศศรีลังกา พ.ศ. 2562

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุระเบิดในประเทศศรีลังกา
พ.ศ. 2562
เป็นส่วนหนึ่งของการก่อการร้ายในประเทศศรีลังกา,
การเบียดเบียนคริสต์ศาสนิกชนในสมัยใหม่,
การก่อการร้ายที่เชื่อมโยงกับไอซิล
เหตุระเบิดในประเทศศรีลังกา พ.ศ. 2562ตั้งอยู่ในศรีลังกา
โคลัมโบ
โคลัมโบ
นิกอมโบ
นิกอมโบ
บัตทิคาโลอา
บัตทิคาโลอา
เทหิ-วละ

เทหิ-วละ
เทมฏโคฑะ
เทมฏโคฑะ
เหตุระเบิดในประเทศศรีลังกา พ.ศ. 2562 (ศรีลังกา)
สถานที่โบสถ์ โรงแรม
ชุมชนการเคหะ
  • 1 แห่งในย่านเทมฏโคฑะ
วันที่21 เมษายน 2562 (2562-04-21)
  • 08:00–08:45 น. เหตุระเบิด 6 ครั้ง
  • 14:10 น. เหตุระเบิดที่โรงแรมทรอปิคัลอินน์
  • 14:40 และ 15:20 น. เหตุระเบิดที่ย่านเทมฏโคฑะ[1]
(เวลามาตรฐานศรีลังกา; UTC+05:30)
เป้าหมายคริสต์ศาสนิกชนและนักท่องเที่ยว
ประเภทการระเบิดฆ่าตัวตาย
ตาย269 คน(รวมผู้จุดระเบิดฆ่าตัวตาย 9 คน)[2]
เจ็บประมาณ 500 คน[3]
ผู้ก่อเหตุผู้จุดระเบิดฆ่าตัวตาย 9 คน[4]
ผู้ต้องสงสัยผู้ถูกจับกุมและควบคุมตัว 58 คนภายใต้รัฐบัญญัติการป้องกันการก่อการร้าย[7]
เหตุจูงใจองค์การเอกเทวนิยมแห่งชาติ: การทำตอบโต้เหตุกราดยิงมัสยิดในไครสต์เชิร์ช[8][9][10][11]

ในเวลาเช้าของวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นวันอาทิตย์อีสเตอร์ เกิดเหตุลอบวางระเบิดครั้งร้ายแรงในโบสถ์คริสต์ 3 แห่งและโรงแรมหรู 3 แห่งทั่วประเทศศรีลังกา ต่อมาในเวลาบ่ายของวันเดียวกัน เกิดเหตุระเบิดขนาดเล็กที่ชุมชนการเคหะและเกสต์เฮาส์ในย่านชานเมืองของนครโคลัมโบ เหตุการณ์ทั้งหมดส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 253 คน[2] ในจำนวนนี้เป็นชาวต่างชาติ 46 คน และเจ้าหน้าที่ตำรวจ 3 นาย และมีผู้บาดเจ็บอีกประมาณ 500 คน[12][13][14][15][16] เหตุการณ์นี้เป็นเหตุก่อการร้ายขนาดใหญ่ครั้งแรกที่เกิดขึ้นในศรีลังกานับตั้งแต่ พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นปีสิ้นสุดสงครามกลางเมือง[17]

การลอบวางระเบิดที่โบสถ์เกิดขึ้นระหว่างการประกอบพิธีมิสซาอีสเตอร์ที่เมืองนิกอมโบ, บัตทิคาโลอา และโคลัมโบ ส่วนโรงแรมที่ถูกลอบวางระเบิด ได้แก่ โรงแรมแชงกรี-ลา, โรงแรมซินนามอนแกรนด์, โรงแรมเดอะคิงส์เบรี และโรงแรมทรอปิคัลอินน์[18][19][20][21] ทั้งหมดตั้งอยู่ในบริเวณนครโคลัมโบและปริมณฑล ไมตรีปาละ สิริเสนะ ประธานาธิบดีศรีลังกาในนามหัวหน้าคณะรัฐบาลศรีลังกาได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ[22]

ตามข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้จุดระเบิดฆ่าตัวตายทั้งเจ็ดคนจากเหตุโจมตีในเวลาไล่เลี่ยกันเป็นพลเมืองศรีลังกาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์การเอกเทวนิยมแห่งชาติ (National Thowheeth Jama'ath) ซึ่งเป็นกลุ่มนักรบนิยมอิสลามท้องถิ่นที่ต้องสงสัยว่ามีความสัมพันธ์กับต่างประเทศ และก่อนหน้านี้ถูกเชื่อมโยงกับเหตุทุบทำลายพระพุทธรูปหลายองค์ในประเทศ[5] รุวัน วิเชวรรธนะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม แถลงในรัฐสภาว่า การสอบสวนเบื้องต้นได้เผยให้เห็นว่าเหตุโจมตีครั้งนี้เป็นการกระทำตอบโต้เหตุโจมตีชาวมุสลิมในไครสต์เชิร์ช[8][9][10][11] แต่นักวิเคราะห์เชื่อว่ามีการวางแผนเหตุโจมตีในศรีลังกาไว้ก่อนที่จะเกิดเหตุโจมตีในไครสต์เชิร์ช[23]

ในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2562 สำนักข่าวอะอ์มากซึ่งเป็นช่องทางกระจายข่าวสารของกลุ่มนักรบก่อการร้ายอิสลามรัฐอิสลามอิรักและลิแวนต์ (ไอซิล) ได้อ้างว่า ผู้จุดระเบิดเป็นนักรบไอซิลที่ตอบสนองต่อการเรียกร้องให้โจมตีพลเมืองประเทศที่เป็นพันธมิตรต่อต้านไอซิล[6] อย่างไรก็ตาม ศรีลังกามิได้เป็นส่วนหนึ่งของพันธมิตรต่อต้านกลุ่มนับรบดังกล่าว และผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่จากเหตุระเบิดครั้งนี้ก็เป็นพลเมืองศรีลังกา[24]

ปูมหลัง[แก้]

ประชากรส่วนใหญ่ของศรีลังกานับถือศาสนาพุทธ (ร้อยละ 70.2) รองลงมานับถือศาสนาฮินดู (ร้อยละ 12.6) ศาสนาอิสลาม (ร้อยละ 9.7) และศาสนาคริสต์ (ร้อยละ 7.4)[25] โดยร้อยละ 82 ของคริสต์ศาสนิกชนในศรีลังกานับถือนิกายโรมันคาทอลิก ที่เหลือเป็นผู้นับถือนิกายแองกลิคันสายคริสตจักรซิลอนและกลุ่มนิกายโปรเตสแตนต์อื่น ๆ ในจำนวนพอ ๆ กัน[26]

วันอาทิตย์อีสเตอร์เป็นวันที่สำคัญที่สุดวันหนึ่งของศาสนาคริสต์ และคริสต์ศาสนิกชนในศรีลังกานิยมไปโบสถ์ในวันนี้อย่างมาก[27]

เดอะนิวยอร์กไทมส์ และเอเอฟพีได้เผยแพร่จดหมายฉบับหนึ่งจากเจ้าหน้าที่ตำรวจระดับสูงของศรีลังกาส่งถึงเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงของรัฐเมื่อ 10 วันก่อนเกิดเหตุ เพื่อแจ้งเตือนเกี่ยวกับแผนการโจมตีโบสถ์คริสต์สำคัญโดยกลุ่มหัวรุนแรงนิยมอิสลามชื่อ องค์การเอกเทวนิยมแห่งชาติ[28] แต่ไม่มีการส่งผ่านข้อมูลในเรื่องนี้ไปยังนักการเมืองระดับสูงของประเทศ[29][30]

บีบีซีไทยรายงานว่า รนิล วิกรมสิงหะ นายกรัฐมนตรีศรีลังกาไม่ทราบข่าวกรองมาก่อน มีผู้ตั้งข้อสงสัยว่าความสัมพันธ์ระหว่างรนิล วิกรมสิงหะ กับไมตรีปาละ สิริเสนะ ประธานาธิบดีศรีลังกา ซึ่งส่งผลให้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองศรีลังกาใน พ.ศ. 2561 อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้การป้องกันการก่อการร้ายผิดพลาด โดยก่อนหน้านี้ ไมตรีปาละ สิริเสนะ สั่งปลดรนิล วิกรมสิงหะ ออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2561[31] และให้มหินทะ ราชปักษะ เป็นนายกรัฐมนตรี[32] เหตุการณ์ดังกล่าวก่อให้เกิดการจลาจลในประเทศมีผู้เสียชีวิต 1 ราย[33] ต่อมามีการแต่งตั้งรนิล วิกรมสิงหะ เป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้งในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2561

ผู้เคราะห์ร้าย[แก้]

ผู้เสียชีวิตจำแนกตามสัญชาติ[34]
สัญชาติ จำนวน
 ศรีลังกา 207
 อินเดีย[35][36] 12
 จีน[37] 6
 สหราชอาณาจักร[38] 6
 เดนมาร์ก[39] 3
 เนเธอร์แลนด์[40] 3[a]
 ออสเตรเลีย[41] 2
 ซาอุดีอาระเบีย[42][43] 2
 สเปน[44] 2
 ตุรกี[45] 2
 สหราชอาณาจักร/ สหรัฐ[46] 2
 สหรัฐ[47] 2
 บังกลาเทศ[48] 1
 ญี่ปุ่น[49] 1
 โปรตุเกส[50] 1
 สวิตเซอร์แลนด์[51] 1
รวม 253[b]

เหตุระเบิดส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตที่ยืนยันแล้วจำนวน 253 ราย (ก่อนหน้านี้เชื่อว่ามี 359 ราย แต่ตัวเลขถูกปรับลดลงเนื่องจากการคำนวณผิดพลาดในครั้งแรก)[2] ส่วนใหญ่เป็นพลเมืองศรีลังกา เป็นพลเมืองต่างชาติ 46 ราย นอกจากนี้ยังมีผู้บาดเจ็บอย่างน้อย 500 คน บางรายมีอาการสาหัส

ศานตา มายาทุนเน เชฟเจ้าของรายการโทรทัศน์ชื่อดังชาวศรีลังกา เป็นหนึ่งในผู้เสียชีวิต[52] ชาวเดนมาร์กที่เสียชีวิตเป็นบุตรสามคนจากสี่คนของอันเนิร์ส ฮ็อลก์ พ็อวล์เซิน ประธานบริหารบริษัทเสื้อผ้าเบสต์เซลเลอร์ของเดนมาร์ก[53] ผู้เคราะห์ร้ายชาวบังกลาเทศเป็นสมาชิกตระกูลเชก–วาเซด และเป็นหลานอายุ 8 ขวบของญาติคนหนึ่งของเชก ฮาซีนา นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ[54][55][56][57] มีเด็กเสียชีวิตอย่างน้อย 45 รายจากเหตุระเบิด โดย 9 รายในจำนวนนี้เป็นพลเมืองต่างชาติ[57][51][58]

หมายเหตุ[แก้]

  1. สองคนในจำนวนนี้เป็นพลเมืองสวิส-ดัตช์และพลเมืองดัตช์-ศรีลังกาตามลำดับ
  2. นับจำนวนผู้เป็นพลเมืองหลายประเทศเพียงครั้งเดียว

อ้างอิง[แก้]

  1. Thomas, Kris. "Easter Sunday Explosions In Sri Lanka: An Evolving Timeline Of Events". Roar Media. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
  2. 2.0 2.1 2.2 "Sri Lanka toll revised down by 'about 100'". BBC News. 25 April 2019. สืบค้นเมื่อ 25 April 2019.
  3. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ Derana321
  4. "Sri Lanka Attacks: What We Know and Don't Know". The New York Times. 24 April 2019.
  5. 5.0 5.1 "What to Know About National Thowheeth Jama'ath, the Group Suspected in the Sri Lanka Easter Attacks". Time. 22 April 2019. สืบค้นเมื่อ 23 April 2019.
  6. 6.0 6.1 "Sri Lanka bombings: Isis claims responsibility for deadly church and hotel attacks on Easter Sunday". The Independent. 23 April 2019.
  7. "Death toll rises to 359 in Ceylon bombings, more arrested", The Washington post, 23 April 2019, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-25, สืบค้นเมื่อ 2019-04-26.
  8. 8.0 8.1 "Bombings were response to Christchurch shooting - State Minister". Adaderana.lk. DeranaTV. สืบค้นเมื่อ 23 April 2019.
  9. 9.0 9.1 "State Defense Minister: Bombings were retaliation for Christchurch killings". 23 April 2019. สืบค้นเมื่อ 23 April 2019.
  10. 10.0 10.1 Wade, Matt (23 April 2019). "Sri Lankan attacks 'retaliation for Christchurch': minister". The Sydney Morning Herald.
  11. 11.0 11.1 "Sri Lanka blasts were in retaliation for New Zealand mosque shootings, official says". 23 April 2019. สืบค้นเมื่อ 23 April 2019.
  12. Bastians, Dharisha; Gettleman, Jeffrey; Schultz, Kai (21 April 2019). "Sri Lanka Bombings at Churches and Hotels Said to Kill Over 200". The New York Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 21 April 2019.
  13. "156 Dead In Blasts At Two Sri Lanka Churches During Easter Mass: Report". NDTV. สืบค้นเมื่อ 21 April 2019.
  14. "Sri Lanka Easter bombings live: Blasts during church services in Colombo". The National. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
  15. Sirilal, Ranga; Aneez, Shihar (21 April 2019). "Bombs kill more than 200 in Sri Lankan churches, hotels on Easter Sunday". Reuters. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
  16. Pokharel, Sugam; McKirdy, Euan (21 April 2019). "Sri Lanka blasts: At least 138 dead and more than 400 injured in multiple church and hotel explosions". CNN. สืบค้นเมื่อ 21 April 2019.
  17. "Hundreds killed, 450 injured as explosions rock Catholic churches during Easter mass". The Sydney Morning Herald. 22 April 2019. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
  18. "Sri Lanka attacks: More than 200 killed as churches and hotels targeted". BBC News. 21 April 2019. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
  19. "Sri Lanka Easter bombings: Mass casualties in churches and hotels". Al Jazeera. 21 April 2019. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
  20. Burke, Jason; Parkin, Benjamin (21 April 2019). "Sri Lanka blasts: hundreds injured in church and hotel explosions". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 20 April 2019.
  21. "Seventh bomb explosion heard at Sri Lanka Tropical Inn as Easter Sunday attacks continue". The Independent. 21 April 2019. สืบค้นเมื่อ 21 April 2019.
  22. รัฐบาลศรีลังกาประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วประเทศ
  23. "ISIS fanatics celebrate SL attacks". www.dailymirror.lk (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 23 April 2019.
  24. "Easter bombings victims identified". News. 22 April 2019. สืบค้นเมื่อ 24 April 2019.
  25. "Religious Beliefs In Sri Lanka". WorldAtlas (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-04-26.
  26. "Sri Lanka – Christianity". Mongabay.
  27. Shah, Khushbu; Collins, Sean (21 April 2019). "Sri Lanka Easter Sunday attacks: what we know". Vox (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
  28. "Police Warned That Sri Lanka Churches Were Bombing Targets". New York Times. 21 April 2019. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
  29. Burke, Jason; Perera, Amantha (21 April 2019). "Sri Lanka death toll expected to rise as leaders condemn killings". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 21 April 2019.
  30. "Blasts at Sri Lanka hotels and churches kill 156". AFP. 21 April 2019. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
  31. ระเบิดในศรีลังกา : ประชาชนอาลัยเหยื่อที่พุ่งสูงถึง 321 ราย ท่ามกลางความกังขาถึงประสิทธิภาพของรัฐบาล หลังตำรวจเคยได้รับคำเตือนภัยล่วงหน้าแล้ว
  32. ศรีลังกาวุ่นประธานาธิบดีสั่งปลดฟ้าผ่านายกรัฐมนตรี
  33. วิกฤตการเมืองศรีลังกาลาม ตาย 1 เจ็บ 2
  34. "Who are the victims of the Sri Lanka attacks?". 22 April 2019 – โดยทาง www.bbc.com.
  35. "Sri Lanka blasts: 11 Indians dead, bodies of 7 JDS members to reach Karnataka". สืบค้นเมื่อ 23 April 2019.
  36. Dubai resident missing after Sri Lanka attacks confirmed dead
  37. "Missing Chinese national confirmed dead after Colombo bombings: Chinese embassy". 25 April 2019.
  38. "Sri Lanka attacks: Eight Britons killed in explosions". สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
  39. "Three children of Danish billionaire killed in Sri Lanka attacks". สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
  40. "Nog twee Nederlandse slachtoffers onder doden Sri Lanka". Volkskrant. Volkskrant. สืบค้นเมื่อ 23 April 2019.
  41. "Two Australians confirmed dead in Sri Lanka Easter Sunday terror attacks". สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
  42. "2 Saudis among Victims of Sri Lanka Bombings". Asharq Al-Awsat. 23 April 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-04-26. สืบค้นเมื่อ 23 April 2019.
  43. "Saudi Arabian Airlines Statement". Twitter. 23 April 2019. สืบค้นเมื่อ 23 April 2019.
  44. "Una pareja de españoles, entre las víctimas mortales de los atentados de Sri Lanka". El País. 22 April 2019. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
  45. "2 Turkish engineers among dead in Sri Lanka bombings". สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
  46. Gardner, Bill; Johnson, Jamie (23 April 2019). "Grieving father tells how he lost two teenage children in Sri Lanka bombings". The Telegraph. สืบค้นเมื่อ 25 April 2019.
  47. "A billionaire's children, a D.C. fifth-grader, a celebrity chef: the victims in Sri Lanka". สืบค้นเมื่อ 24 April 2019.
  48. "Sheikh Selim's minor grandson dies in Sri Lanka bombings". bdnews24.com. 22 April 2019. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
  49. "One Japanese national killed, four others injured as Sri Lanka attacks rock expat community". สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
  50. "Rui Lucas morreu às mãos dos terroristas no Sri Lanka. Português de 31 anos estava em lua de mel". สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
  51. 51.0 51.1 "Sri Lanka attacks: tributes paid as two more victims named - live news". The Guardian. 22 April 2019. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
  52. Davidson, Tom (21 April 2019). "Tragic last picture hours before TV chef and daughter killed in Sri Lanka attack". Mirror. สืบค้นเมื่อ 21 April 2019.
  53. Goodley, Simon (22 April 2019). "Three children of Asos billionaire killed in Sri Lanka attacks". The Guardian. The Guardian. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
  54. Greenfield, Patrick (23 April 2019). "Sri Lanka: boy, 8, related to Bangladeshi leader and UK MP, among young victims". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 23 April 2019.
  55. "Sheikh Selim's son-in-law, grandson, injured in Sri Lanka bomb blast". Dhaka Tribune. 21 April 2019. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
  56. "Father's tribute to 'wonderful wife' and 'amazing children' killed in Sri Lanka hotel blast". ITV. 22 April 2019. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
  57. 57.0 57.1 "Sri Lanka attacks: Who are the victims?". BBC. 22 April 2019. สืบค้นเมื่อ 22 April 2019.
  58. "Australian man recalls horror of finding wife and daughter dead in Sri Lanka attack". The Guardian. 22 April 2019. สืบค้นเมื่อ 23 April 2019.