ข้ามไปเนื้อหา

เหตุรถไฟชนกันที่เหวินโจว พ.ศ. 2554

พิกัด: 28°00′48″N 120°35′24″E / 28.01333°N 120.59000°E / 28.01333; 120.59000
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เหตุรถไฟชนกันที่เหวินโจว เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 โดยรถไฟความเร็วสูงสองขบวนประสบอุบัติเหตุชนและตกรางในเหวินโจว มณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน รถไฟทั้งสองขบวนนั้นกำลังแล่นอยู่บนทางรถไฟสายหนิงโป-ไท่โจว-เหวินโจวขณะเกิดเหตุ สื่อของรัฐจีนยืนยันมีผู้เสียชีวิตที่ได้รับการยืนยันแล้ว 39 คน และอย่างน้อย 192 คนถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล ในจำนวนนี้มี 12 คนได้รับบาดเจ็บสาหัส[1] อย่างไรก็ตาม ตามสถิติของบริษัทประกันภัย มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 120 คน สำหรับสาเหตุคาดว่าเป็นเพราะระบบอาณัติสัญญาณรถไฟล้มเหลว[2]

ลำดับเหตุการณ์

[แก้]

รถไฟทั้งสองกำลังวิ่งอยู่บนสะพานรถไฟสูง 20 เมตรระหว่างนครหังโจวกับฝูโจวเมื่อรถไฟทั้งสองขบวนชนกัน[3] เมื่อเวลาประมาณ 20.00 น. ตามเวลามาตรฐานจีน รถไฟหมายเลข D3115 (CRH1-046B) บรรทุกผู้โดยสาร 1,072 คน[4] กำลังมุ่งหน้าจากสถานีรถไฟหังโจวไปยังสถานีฝูโจวใต้สูญเสียพลังงานก่อนจะหยุดลงเหนือสะพานรถไฟ ซึ่งเกิดจากฟ้าผ่าที่เกิดขึ้นจากพายุฝนฟ้าคะนองที่อยู่ห่างไปทางใต้ 32 กิโลเมตร และทางตะวันตก 97 กิโลเมตรจากสะพานรถไฟแห่งนั้น[5] ไม่นานหลังจากนั้น รถไฟหมายเลข D301 (CRH2-139E) บรรทุกผู้โดยสาร 558 คน[4] กำลังมุ่งหน้าจากสถานีรถไฟปักกิ่งใต้ไปยังสถานีฝูโจว ชนเข้ากับท้ายขบวนรถไฟหมายเลข D3115 ที่กำลังจอดนิ่งสนิทอยู่[6][3]

ตู้โดยสารที่สิบห้าและสิบหกท้ายขบวน D3115 และตู้โดยสารสี่ตู้หน้าของ D301 ตกราง และมีตู้โดยสารสี่ตู้ตกจากสะพานรถไฟ สามตู้ในจำนวนนี้ลงมาอยู่ในแนวราบกับพื้น ส่วนตู้ที่สี่นั้นค้างอยู่ในแนวดิ่งกับพื้น โดยปลายด้านหนึ่งอยู่บนพื้นและอีกด้านหนึ่งยังพิงอยู่กับสะพานรถไฟ[6][7]

สาเหตุดั้งเดิมของเหตุชนกันดังกล่าวว่ากันว่าเป็นฟ้าผ่ารถไฟขบวนแรก ซึ่งเป็นเหตุให้รถไฟขบวนดังกล่าวสูญเสียพลังงานและหยุดสนิทบนราง[3] อย่างไรก็ตาม อีกห้าวันให้หลังเหตุชนกันดังกล่าว บริษัทสถาบันวิจัยและออกแบบสัญญาณและการสื่อสารการรถไฟแห่งชาติปักกิ่ง จำกัด สถาบันวิจัยการรถไฟ แสดงความรับผิดชอบ โดยระบุในรายงานว่า สัญญาณบนรางไม่ได้เปลี่ยนเป็นสีแดง และเจ้าหน้าที่สังเกตไม่เห็นข้อผิดพลาดนี้[2]

ซีซีทีวีรายงานเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ว่า กระทรวงการรถไฟประกาศว่ามีผู้เสียชีวิต 39 คน และบาดเจ็บ 192 คน[8] เซียง เหว่ยยี่ วัยสองขวบ เป็นบุคคลสุดท้ายที่ถูกช่วยชีวิต 21 ชั่วโมงหลังเกิดเหตุ[9] ผู้ปกครองทั้งสองของเธอเสียชีวิตในเหตุการณ์[8]

สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐในปักกิ่งระบุในวันที่ 25 กรกฎาคม ว่า พลเมืองสหรัฐสองคนเสียชีวิตในเหตุการณ์นี้ด้วย[8] สถานกงสุลอิตาลีประจำเซี่ยงไฮ้ ว่า มีพลเมืองอิตาลีสองคนเสียชีวิต

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Death toll from China's train crash rises to 39, including two Americans". News.xinhuanet.com. สืบค้นเมื่อ 2011-07-25.
  2. 2.0 2.1 "Chinese railway institute takes blame for train crash". Reuters. 2011-07-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-11-30. สืบค้นเมื่อ 2011-07-28.
  3. 3.0 3.1 3.2 Krishnan, Ananth (2011-07-24). "China bullet train collision triggers safety debate". The Hindu. สืบค้นเมื่อ 2011-07-24.
  4. 4.0 4.1 "Ministry spokesman apologizes for deadly crash; says high-speed railway still faces challenges". Xinhua News Agency. 2011-07-25. สืบค้นเมื่อ 2011-07-25.
  5. Frantz, Vickie (2011-07-24). "Bullet Train Derails in China: 35 Killed, 200 Injured". AccuWeather. สืบค้นเมื่อ 2011-07-24.
  6. 6.0 6.1 Ji Shaoting, Lu Qiuping, and Zhang Yi (2011-07-24). "At least 33 dead, 190 injured in east China train crash". Xinhua News Agency. สืบค้นเมื่อ 2011-07-24.{{cite web}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  7. "China: Dozens die as bullet trains collide in Zhejiang". BBC News. 2011-07-24.
  8. 8.0 8.1 8.2 Louise Watt (2011-06-30). "China's rail plans under fire after deadly crash". The Globe and Mail. สืบค้นเมื่อ 2011-07-25.
  9. "Toddler rescued 21 hours after train crash in stable condition, parents dead". News.xinhuanet.com. สืบค้นเมื่อ 2011-07-25.

28°00′48″N 120°35′24″E / 28.01333°N 120.59000°E / 28.01333; 120.59000