เหตุกราดยิงที่มหาวิทยาลัยเคนต์สเตท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เหตุกราดยิงที่มหาวิทยาลัยเคนต์สเตท
ภาพถ่ายโดยจอห์น ฟิลอซึ่งได้รับรางวัลพูลลิทเซอร์ แสดงให้เห็นแมรี แอนน์ เวจจิโอคุกเข่าและร้องอยู่เหนือร่างของเจฟฟรีย์ มิลเลอร์ ภายหลังนักศึกษาบางส่วนถูกยิงเสียชีวิตโดยกองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิ กองทัพภาคพื้นโอไฮโอ
สถานที่มหาวิทยาลัยเคนต์เสตท, เคนต์, รัฐโอไฮโอ, สหรัฐ
วันที่4 พฤษภาคม 1970; 53 ปีก่อน (1970-05-04)
12:24 p.m. (ตะวันออก: UTC−5)
ตาย4
เจ็บ9
ผู้เสียหายนักศึกษามหาวิทยาลัยเคนต์สเตท
ผู้ก่อเหตุกองกำลัง G ของกองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิ ภาคพื้นโอไฮโอ

เหตุกราดยิงที่มหาวิทยาลัยเคนต์สเตท (อังกฤษ: Kent State shootings) หรือรู้จักในชื่อ การสังหารหมู่วันที่ 4 พฤษภาคม (อังกฤษ: May 4 massacre) หรือ การสังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยเคนต์สเตท (อังกฤษ: Kent State massacre)[1][2][3] เป็นเหตุกราดยิงนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเคนต์ผู้ปลอดอาวุธโดยกองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิ โอไฮโอ ส่งผลให้มีนักศึกษาเสียชีวิตสี่รายและได้รับบาดแผลอีกเก้าราย เหตุการณ์เกิดขึ้นในวันที่ 4 พฤษภาคม 1970 ที่เมืองเคนต์ รัฐโอไฮโอ ราว 40 ไมล์ทางตอนใต้ของเมืองคลีฟแลนด์ เหตุฆาตกรรมนี้เกิดขึ้นระหว่างการเดินขบวนสันติภาพต่อต้านการขยายบทบาทในสงครามเวียดนามของสหรัฐเข้าไปยังประเทศกัมพูชาซึ่งเป็นกลางในขณะนั้น และประท้วงต่อต้านการมีกองกำลังติดอาวุธของกองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิในวิทยาเขต เหตุการณ์นี้เป็นครั้งแรกที่นักศึกษาที่ชุมนุมเพื่อต่อต้านสงครามถูกสังหารในประวัติศาสตร์สหรัฐ

นายทหารของกองกำลังพิทักษ์มาตุภูมิจำนวน 28 ยิงปืนราว 67 ครั้ง ภายในเวลา 13 วินาที ส่งผลให้นักศึกษาเสียชีวิตสี่ราย ได้รับแผลอีกเก้าราย ในจำนวนนี้มีหนึ่งรายที่กลายเป็นอัมพาตถาวร ในผู้เสียชีวิตสี่รายประกอบด้วยสามรายซึ่งเสียชีวิตในที่เกิดเหตุทันที ได้แก่ แอลลิซัน เบธ คราวส์ อายุ 19 ปี, เจฟฟรีย์ เกลนน์ มิลเลอร์ อายุ 20 ปี และ แซนดรา ลี ชีวเออร์ อายุ 20 ปี ส่วน วิลเลียม น็อกซ์ โชรเอเดอร์ อายุ 19 ปี เสียชีวิตที่โรงพยาบาลรอบินซันเมมอเรียลไม่นานหลังถูกยิง[4][5]

การประท้วงในครั้งนั้นมีนักศึกษาเข้าร่วมมากกว่า 300 คน รวมถึงคราวส์ และมิลเลอร์ โดยประท้วงการขยายบทบาทของสหรัฐในยุทธการกัมพูชาเพื่อต่อสู้ในสงครามเวียดนาม ที่ซึ่งประธานาธิบดีริเชิร์ด นิกซันประกาศทางโทรทัศน์ในวันที่ 30 เมษายน หรือหนึ่งสัปดาห์ก่อนการประท้วง ในขณะที่ชีวเออร์ และโชรเอเดอร์ เป็นหนึ่งในฝูงชนราว 100 คนที่สังเกตการณ์การประท้วงอยู่รอบนอก ราว 300 ฟุตห่างไปจากจุดกราดยิง กลุ่มคนกลุ่มนี้มาดูการประท้วงระหว่างช่วงพักระหว่างเรียน[6][7]

เหตุกราดยิงจนมีผู้เสียชีวิตในครั้งนี้กระตุ้นให้เกิดความโกรธเกรี้ยวอย่างรุนแรงและทันทีในสถานศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศ มีนักศึกษามากกว่า 4 ล้านคนเข้าร่วมในกิจกรรมเดินออกหมู่ซึ่งจัดการกันเป็นระบบ (organized walk-outs) ในมหาวิทยาลัย, วิทยาลัย และโรงเรียนมัธยมหลายร้อยแห่ง ทำให้นี่เป็นการประท้วงหยุดเรียนครั้งใหญ่ที่สุดในสหรัฐ ณ ขณะนั้น การประท้วงหยุดเรียนของนักเรียนนักศึกษาทั่วประเทศ ปี 1970[8] ยังส่งผลให้สังคมตั้งคำถามและหันมาหนุนการต่อต้านการมีบทบาทของสหรัฐในสงครามเวียดนามหนักขึ้นกว่าก่อน[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. "These would be the first of many probes into what soon became known as the Kent State Massacre. Like the Boston Massacre almost exactly two hundred years before (March 5, 1770), which it resembled, it was called a massacre not for the number of its victims, but for the wanton manner in which they were shot down." Philip Caputo (May 4, 2005). "The Kent State Shootings, 35 Years Later". NPR. สืบค้นเมื่อ November 9, 2007.
  2. Rep. Tim Ryan (May 4, 2007). "Congressman Tim Ryan Gives Speech at 37th Commemoration of Kent State Massacre". Congressional website of Rep. Tim Ryan (D-Ohio). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-07-25. สืบค้นเมื่อ November 9, 2007.
  3. John Lang (May 4, 2000). "The day the Vietnam War came home". Scripps Howard News service. สืบค้นเมื่อ November 9, 2007.
  4. Shots Still Reverberate For Survivors Of Kent State 'Dean Kahler, who was paralyzed during the shootings, went on to become a high school teacher and covered the events of May 4 in his classes' NPR News, May 3, 2010. Retrieved January 20, 2014.
  5. Dean Kahler: Visitors' Center helps him move past May 4, 1970 เก็บถาวร 2017-10-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 'Dean Kahler, among the most severely wounded of the 13 Kent State students shot by the National Guard on May 4, 1970, tours the new May 4th Visitors' Center being dedicated this weekend' WKSU, May 3, 2013. Retrieved January 20, 2014.
  6. "Sandy Scheuer". May 4, 1970. สืบค้นเมื่อ May 12, 2013.[ลิงก์เสีย]
  7. Lewis, Jerry M.; Thomas R. Hensley (Summer 1998). "The May 4 Shootings At Kent State University: The Search For Historical Accuracy". Ohio Council for the Social Studies Review. 34 (1): 9–21. ISSN 1050-2130. OCLC 21431375. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (Reprint)เมื่อ May 9, 2008. สืบค้นเมื่อ April 16, 2007.
  8. Director: Joe Angio (February 15, 2007). Nixon a Presidency Revealed (television). History Channel.
  9. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ highlight

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]