ข้ามไปเนื้อหา

ฉบับร่าง:เส้นวอลเลซ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เส้นวอลเลซ)
เส้นวอลเลซแสดงแนวแบ่งเขตระหว่างสัตว์ในออสเตรเลียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณที่เป็นผืนดินในช่วงสุดยอดน้ำแข็งครั้งสุดท้าย เมื่อระดับน้ำทะเลต่ำกว่าปัจจุบันมากกว่า 110 m (360 ft) แสดงเป็นสีเทา น้ำลึกของช่องแคบลอมบอกระหว่างบาหลีและลอมบอกเป็นอุปสรรคน้ำแม้ในช่วงที่ระดับน้ำทะเลลดต่ำลงจนเชื่อมเกาะและแผ่นดินที่แยกออกจากกันในปัจจุบันเข้าด้วยกัน

เส้นวอลเลซ หรือ แนววอลเลซ เป็นแนวแบ่งเขตทางสัตวภูมิศาสตร์ที่กำหนดขึ้นในปี ค.ศ. 1859 โดยอัลเฟรด รัสเซล วอลเลซ นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ และตั้งชื่อโดยโทมัส เฮนรี ฮักซ์ลีย์ นักชีววิทยาชาวอังกฤษ

เส้นแบ่งนี้แยกระหว่างเขตชีวภูมิศาสตร์ของทวีปเอเชียกับ 'วอลเลเซีย' ซึ่งเป็นเขตเปลี่ยนผ่านระหว่างเอเชียและทวีปออสเตรเลีย เดิมเรียกว่าหมู่เกาะมลายู และหมู่เกาะอินโด-ออสเตรเลีย (ในปัจจุบันคือประเทศอินโดนีเซีย) ทางตะวันตกของเส้นนี้พบสิ่งมีชีวิตที่มีความเกี่ยวข้องกับสปีชีส์ในเอเชีย ส่วนทางตะวันออกเป็นการผสมผสานของสปีชีส์ที่มีต้นกำเนิดจากทั้งเอเชียและออสเตรเลีย วอลเลซสังเกตเห็นความแตกต่างที่ชัดเจนนี้ทั้งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมบนบกและนก ระหว่างการเดินทางของเขาในอินดีสตะวันออกในศตวรรษที่ 19

เส้นแบ่งนี้พาดผ่านประเทศอินโดนีเซีย โดยผ่านช่องแคบมากัสซาร์ระหว่างเกาะบอร์เนียวกับเกาะซูลาเวซี และผ่านช่องแคบลมบกระหว่างเกาะบาหลีกับเกาะลมบก แม้ว่าระยะห่างระหว่างสองเกาะนี้จะน้อยมากเพียงประมาณ 35 กิโลเมตร (22 ไมล์) แต่ก็เพียงพอให้เกิดความแตกต่างของสปีชีส์ที่อาศัยอยู่บนแต่ละเกาะ

ลักษณะทางสัตวภูมิศาสตร์ที่ซับซ้อนของหมู่เกาะอินโด-ออสเตรเลียเป็นผลมาจากตำแหน่งที่ตั้งซึ่งเป็นจุดบรรจบกันของแผ่นเปลือกโลกหลักสี่แผ่น และแผ่นเปลือกโลกขนาดเล็กอื่น ๆ ที่เป็นอิสระจากกันร่วมกับระดับน้ำทะเลในอดีต สิ่งเหล่านี้ทำให้กลุ่มอนุกรมวิธานต่าง ๆ แยกตัวออกจากกันบนเกาะที่อยู่ใกล้กันในปัจจุบัน เส้นวอลเลซเป็นหนึ่งในแนวแบ่งหลายเส้นที่นักธรรมชาติวิทยาและนักชีววิทยากำหนดขึ้นตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 เพื่อกำหนดข้อจำกัดของการกระจายตัวของพืชและสัตว์ในหมู่เกาะนี้[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ali, Jason R.; Heaney, Lawrence R. (June 2021). "Wallace's line, Wallacea , and associated divides and areas: History of a tortuous tangle of ideas and labels". Biological Reviews. 96 (3): 922–942. doi:10.1111/brv.12683. ISSN 1464-7931. PMID 33502095. S2CID 231764849.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]