เสือโคร่งสุมาตรา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เสือสุมาตรา)
เสือโคร่งสุมาตรา
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Mammalia
อันดับ: Carnivora
วงศ์: Felidae
สกุล: Panthera
สปีชีส์: P.  tigris
สปีชีส์ย่อย: P.  t. sumatrae
Trinomial name
Panthera tigris sumatrae
(Pocock, 1929)
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของเสือโคร่งสุมาตรา
ชื่อพ้อง
  • P. t. sumatran

เสือโคร่งสุมาตรา (อังกฤษ: Sumatran tiger) ้เป็นประชากรเสือโคร่งชวาในเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย[2][3] ถือเป็นประชากรเสือชนิดเดียวที่เหลือรอดในหมู่เกาะซุนดา ส่วนเสือโคร่งบาหลีและเสือโคร่งชวานั้นสูญพันธุ์แล้ว[4]

การวิเคราะห์ลำดับจากดีเอ็นเอของไมโทคอนเดรียที่สมบูรณ์ของเสือโคร่ง 34 ตัว สนับสนุนสมมติฐานที่ว่าเสือโคร่งสุมาตรามีความแตกต่างในการจำแนะชนิดย่อยออกจากเสือโคร่งบนทวีปเอเชียแผ่นดินใหญ่[5] ใน ค.ศ. 2017 คณะทำงานผู้เชี่ยวชาญจำแนกสัตว์ประเภทแมวได้แก้ไขอนุกรมวิธานโดยระบุให้ประชากรเสือโคร่งที่มีชีวิตและสูญพันธุ์ทั้งหมดในประเทศอินโดนีเซียเป็น P. t. sondaica[2]

อนุกรมวิธาน[แก้]

หนังเสือโคร่งสุมาตราที่ เยอรมัน: Bundes-Pelzfachschule

Felis tigris sondaicus เป็นชื่อวิทยาศาสตร์ที่เสนอโดย Coenraad Jacob Temminck สำหรับตัวอย่างเสือโคร่งจากเกาะชวาใน ค.ศ. 1844[6]

Panthera tigris sumatrae ได้รับการเสนอจากเรจินัลด์ อินเนส โพค็อกใน ค.ศ. 1929 ซึ่งระบุผิวหนังและหัวกะโหลกของตัวอย่างเสือโคร่งจากเกาะสุมาตรา[7] กะโหลกกับลวดลายของตัวอย่างชนิดเสือโคร่งจากเกาะชวาและสุมาตราไม่มีความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัด[8][9] ดังนั้น P. t. sondaica จึงเป็นชื่อตามกฎของประชากรเสือโคร่งทั้งที่มีชีวิตและสูญพันธุ์ในประเทศอินโดนีเซีย[2]

ลักษณะ[แก้]

เสือโคร่งสุมาตราที่มีกะโหลกและลวดลายต่างจากตัวอย่างชนิดเสือโคร่งเบงกอลและเสือโคร่งชวา มันมีสีผิวเข้มกว่าและมีลายกว้างกว่าเสือโคร่งชวา[7] ลายมักหายไปในบริเวณใกล้ส่วนท้าย และบนหลัง waist และขาหลังมีเส้นที่เล็ก จุดดำมืดบริเวณระหว่างลายทั่วไป[10][8] ลายบนเสือโคร่งชนิดนี้พบถี่กว่าชนิดย่อยอื่น ๆ[11]

เสือโคร่งสุมาตราเป้นหนึ่งในเสือโคร่งขนาดเล็ก โดยเพศผู้วัดความยาวระหว่างหัวถึงตัวที่ 2.2 ถึง 2.55 เมตร (87 ถึง 100 นิ้ว) กับกะโหลกที่ใหญ่สุดที่ 295 ถึง 335 มิลลิเมตร (11.6 ถึง 13.2 นิ้ว) และหนัก 100 ถึง 140 กิโลกรัม (220 ถึง 310 ปอนด์) ส่วนเพศเมียหนัก 75 ถึง 110 กิโลกรัม (165 ถึง 243 ปอนด์) และมีความยาว 2.15 ถึง 2.30 เมตร (85 ถึง 91 นิ้ว) กับกะโหลกใหญ่สุดที่ 263 ถึง 294 มิลลิเมตร (10.4 ถึง 11.6 นิ้ว)[10]

ประชากรและที่อยู่อาศัย[แก้]

เสือโคร่งสุมาตรา มีถิ่นกระจายพันธุ์อยู่เฉพาะเกาะสุมาตรา ในประเทศอินโดนีเซียเท่านั้น อาศัยอยู่ในป่าดิบชื้นของเกาะสุมาตรา ล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเป็นอาหาร เช่น หมูป่า, เก้ง, กวาง, สมเสร็จ หรือแม้กระทั่งลิงอุรังอุตัง รวมถึงมนุษย์ด้วย[12]

สถานะ[แก้]

ปัจจุบัน เสือโคร่งสุมาตรานับได้ว่าเป็นเสือโคร่งเพียงสายพันธุ์เดียวที่สามารถพบได้ในประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจาก เสือโคร่งชวา (P. t. sondaica) และ เสือโคร่งบาหลี (P. t. balica) ที่เคยเป็นสายพันธุ์ที่เล็กที่สุดมาก่อน ได้สูญพันธุ์ไปก่อนหน้านี้นานแล้ว

สถานะของเสือโคร่งสุมาตราในธรรมชาติก็นับว่าใกล้สูญพันธุ์อย่างวิกฤตแล้ว โดยคาดว่ามีจำนวนราว 400-450 ตัว เท่านั้น[13]โดยสถานที่ ๆ พบมากที่สุด คือ อุทยานแห่งชาติเครินซีเซบลัท ที่อยู่ทางตะวันตกของเกาะ มีประมาณ 160 ตัว นับว่าเป็นครึ่งหนึ่งของประชากรเสือโคร่งสุมาตราทั้งหมด โดยสาเหตุสำคัญที่ทำให้เสือโคร่งสุมาตราใกล้สูญพันธุ์ คือ การล่าเพื่อเอาอวัยวะต่าง ๆ ไปทำเป็นยาตามความเชื่อ โดยพรานผู้ล่าจะล่าโดยการใช้กับดักเป็นบ่วงรัดเท้า ซึ่งจะทำให้เกิดบาดแผลฉกรรจ์ อาจบาดลึกเข้าไปถึงกระดูก และตัดข้อเท้าของเสือโคร่งสุมาตราให้ขาดได้เลย [14]

สวนสัตว์ในประเทศต่าง ๆ ที่มีเสือโคร่งสุมาตราในครอบครองก็ได้แก่ สวนสัตว์ซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย และสวนเสือตระการ ที่อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี ประเทศไทย[15] แต่เสือโคร่งสุมาตราในสวนสัตว์ มีเพียงน้อยรายที่จะอยู่รอดตั้งแต่เล็กจนโตเต็มวัยได้ [16]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Cat Specialist Group (1996). Panthera tigris ssp. sumatrae. 2006 IUCN Red List of Threatened Species. IUCN 2006. Retrieved on 11 May 2006. Database entry includes a brief justification of why this subspecies is critically endangered and the criteria used.
  2. 2.0 2.1 2.2 Kitchener, A. C.; Breitenmoser-Würsten, C.; Eizirik, E.; Gentry, A.; Werdelin, L.; Wilting, A.; Yamaguchi, N.; Abramov, A. V.; Christiansen, P.; Driscoll, C.; Duckworth, J. W.; Johnson, W.; Luo, S.-J.; Meijaard, E.; O’Donoghue, P.; Sanderson, J.; Seymour, K.; Bruford, M.; Groves, C.; Hoffmann, M.; Nowell, K.; Timmons, Z. & Tobe, S. (2017). "A revised taxonomy of the Felidae: The final report of the Cat Classification Task Force of the IUCN Cat Specialist Group" (PDF). Cat News (Special Issue 11): 66–68.
  3. Liu, Y.-C.; Sun, X.; Driscoll, C.; Miquelle, D. G.; Xu, X.; Martelli, P.; Uphyrkina, O.; Smith, J. L. D.; O’Brien, S. J. & Luo, S.-J. (2018). "Genome-wide evolutionary analysis of natural history and adaptation in the world's tigers". Current Biology. 28 (23): 3840–3849. doi:10.1016/j.cub.2018.09.019. PMID 30482605.
  4. Mazák, J. H. & Groves, C. P. (2006). "A taxonomic revision of the tigers (Panthera tigris)" (PDF). Mammalian Biology. 71 (5): 268–287. doi:10.1016/j.mambio.2006.02.007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-03-13.
  5. Cracraft, J.; Feinstein, J.; Vaughn, J. & Helm-Bychowski, K. (1998). "Sorting out tigers (Panthera tigris): Mitochondrial sequences, nuclear inserts, systematics, and conservation genetics" (PDF). Animal Conservation. 1 (2): 139–150. doi:10.1111/j.1469-1795.1998.tb00021.x. S2CID 34186394.
  6. Temminck, C. J. (1844). "Aperçu général et spécifique sur les mammifères qui habitent le Japon et les iles qui en dépendent". ใน von Siebold, F.; Temminck, C. J.; Schlegel, H.; de Haan, W.; Nakazawa, K.; Tanaka, S.; Kuroda, N.; Okada, Y. (บ.ก.). Fauna Japonica sive Descriptio animalium, quae in itinere per Japoniam, jussu et auspiciis superiorum, qui summum in India Batava imperium tenent, suscepto, annis 1825 - 1830. Mammalia. Lugduni Batavorum: Arnz et Socius. pp. 1–59.
  7. 7.0 7.1 Pocock, R. I. (1929). "Tigers". Journal of the Bombay Natural History Society. 33: 505–541.
  8. 8.0 8.1 Mazák, J. H. & Groves, C. P. (2006). "A taxonomic revision of the tigers (Panthera tigris) of Southeast Asia". Mammalian Biology - Zeitschrift für Säugetierkunde. 71 (5): 268–287. doi:10.1016/j.mambio.2006.02.007.
  9. Kitchener, A. C. & Yamaguchi, N. (2010). "What is a tiger? Biogeography, morphology, and taxonomy". ใน Tilson, R. & Nyhus, P. J. (บ.ก.). Tigers of the World (Second ed.). London: Academic Press. pp. 53–84. doi:10.1016/B978-0-8155-1570-8.00004-9. ISBN 9780080947518.
  10. 10.0 10.1 Mazák, V. (1981). "Panthera tigris". Mammalian Species (152): 1–8. doi:10.2307/3504004. JSTOR 3504004.
  11. Kitchener, A. (1999). "Tiger distribution, phenotypic variation and conservation issues". ใน Seidensticker, J.; Christie, S., Jackson, P. (บ.ก.). Riding the Tiger. Tiger Conservation in human-dominated landscapes. Cambridge: Cambridge University Press. pp. 19–39. ISBN 978-0-521-64057-2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-04-23.
  12. Indonesia's Little Bigfoot, "Finding Bigfoot". สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: จันทร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556
  13. "Sumatran Tiger". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-06-17. สืบค้นเมื่อ 2010-02-19.
  14. "ท่องโลกกว้าง: เจ้าเสือน้อยเข้าบ้าน ตอนที่ 2". ไทยพีบีเอส. 21 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-09. สืบค้นเมื่อ 22 January 2015.
  15. ข่าว ในสวนเสือตระการ
  16. "ท่องโลกกว้าง: เจ้าเสือน้อยเข้าบ้าน ตอนที่ 1". ไทยพีบีเอส. 20 January 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-05-09. สืบค้นเมื่อ 21 January 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]