เสมหะในคอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เสมหะในคอ
(Post-nasal drip)
ชื่ออื่นupper airway cough syndrome (UACS), post nasal drip syndrome (PNDS)
เสมหะในคอ
สาขาวิชาโสตศอนาสิกวิทยา

เสมหะในคอ (อังกฤษ: Post-nasal drip, PND) เกิดเมื่อเยื่อเมือกในจมูกผลิตเมือก/มูกมากเกิน แล้วไหลไปสะสมอยู่ที่คอหรือที่ด้านหลังจมูก โดยมีเหตุมาจากเยื่อจมูกอักเสบ โพรงอากาศอักเสบ โรคกรดไหลย้อน หรือจากโรคเกี่ยวกับการกลืน เช่น การบีบตัวผิดปกติของหลอดอาหาร หรืออาจเกิดจากภูมิแพ้ (คือ allergic postnasal drip) หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ จากยา หรือจากเหตุอื่น ๆ[1]

อย่างไรก็ดี ก็มีนักวิชาการที่อ้างว่า มูกที่ไหลไปในคอจากหลังจมูกเป็นการทำงานตามธรรมชาติที่ก็เกิดในบุคคลปกติด้วย[2] และมีการไม่เห็นด้วยว่าควรจัดเป็นอาการเพราะไม่มีนิยามที่ได้การยอมรับ ไม่มีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อแบบเป็นโรค และไม่มีวิธีตรวจทางชีวเคมี[2]

อาการ[แก้]

อาการที่สัมพันธ์กัน[แก้]

อาการนี้เสนอว่าเป็นเหตุของลมหายใจเหม็นโดยมีเหตุที่ไม่ใช่ปาก โดยเฉพาะถ้าติดเชื้อในโพรงอากาศด้วย กรดไหลย้อนเชื่อว่า ทำให้อาการนี้แย่ขึ้นหรือแม้แต่เป็นเหตุ[3] อาการเองก็อาจเป็นเหตุของกล่องเสียงอักเสบและ/หรือทำให้กล่องเสียงไวระคายเคือง แล้วนำไปสู่การทำงานผิดปกติของสายเสียง[4][5]

วินิจฉัย[แก้]

การรักษา[แก้]

อาการที่เกิดจากภูมิแพ้สามารถรักษาได้ด้วยสารต้านฮิสตามีน แต่ยารุ่นแรก ๆ (เช่น คลอเฟนะมีน) อาจมีผลข้างเคียงรวมทั้งความง่วงนอน[1] ยาสเตอรอยด์ที่ฉีดทางจมูก เช่น fluticasone propionate ก็อาจช่วย[6]

เชิงอรรถและอ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "Postnasal Drip: Causes, Treatments, Symptoms, and More". WebMD (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-04-02.
  2. 2.0 2.1 Morice, AH (2004). "Post-nasal drip syndrome--a symptom to be sniffed at?". Pulmonary Pharmacology & Therapeutics. 17 (6): 343–5. doi:10.1016/j.pupt.2004.09.005. PMID 15564073.
  3. Rosenberg, M (1996). "Clinical assessment of bad breath: current concepts". Journal of the American Dental Association. 127 (4): 475–82. doi:10.14219/jada.archive.1996.0239. PMID 8655868.
  4. Ibrahim, Wanis H.; Gheriani, Heitham A.; Almohamed, Ahmed A.; Raza, Tasleem (2007-03-01). "Paradoxical vocal cord motion disorder: past, present and future". Postgraduate Medical Journal (ภาษาอังกฤษ). 83 (977): 164–172. doi:10.1136/pgmj.2006.052522. ISSN 1469-0756. PMC 2599980. PMID 17344570.
  5. Gimenez; Zafra. "Vocal cord dysfunction: an update". Annals of Allergy, Asthma & Immunology. 106: 267–274. doi:10.1016/j.anai.2010.09.004.
  6. "Can Nasal Steroids Ease Allergy Symptoms?". WebMD (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-04-02.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

การจำแนกโรค
ทรัพยากรภายนอก