เวอร์จินออสเตรเลีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เวอร์จินบลู)
เวอร์จินออสเตรเลีย
IATA ICAO รหัสเรียก
VA VOZ VELOCITY
เริ่มดำเนินงาน29 สิงหาคม ค.ศ. 2000 (23 ปี)
ท่าหลักบริสเบน
เมลเบิร์น
ซิดนีย์-คิงส์ฟอร์ดสมิธ
เมืองสำคัญแอดิเลด
โกลด์โคสต์ (รัฐควีนส์แลนด์)
เพิร์ธ
อลิซสปริงส์
สะสมไมล์วิลอซิตี้
ขนาดฝูงบิน70
จุดหมาย30
บริษัทแม่เวอร์จินออสเตรเลียโฮลดิ้ง
สำนักงานใหญ่ออสเตรเลีย บริสเบน, ประเทศออสเตรเลีย
บุคลากรหลักJayne Hrdlicka (CEO)
ริชาร์ด แบรนสัน (ผู้ร่วมก่อตั้ง)
Philippe Calavia (ผู้ร่วมก่อตั้งและอดีต CEO)
เว็บไซต์virginaustralia.com

เวอร์จินออสเตรเลีย (อังกฤษ: Virgin Australia) เป็นสายการบินสัญชาติออสเตรเลีย สายการบินเริ่มดำเนินงานในปีค.ศ. 2000 ในชื่อเวอร์จินบลู[1][2] เวอร์จินออสเตรเลียมีฐานการบิน 3 แห่งในบริสเบน, เมลเบิร์น, และซิดนีย์[3]

เวอร์จินออสเตรเลียเป็นหนึ่งในสายการบินในเวอร์จินกรุ๊ป และเป็นสายการบินที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในเวอร์จินกรุ๊ปในด้านของจำนวนฝูงบิน

ประวัติ[แก้]

เวอร์จินออสเตรเลียเปิดตัวในชื่อเวอร์จินบลูในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2000 ด้วยเครื่องบินโบอิง 737-400 จำนวนสองลำ โดยหนึ่งในนั้นได้เช่าจากเวอร์จินเอกซ์เพรส อีกสายการบินหนึ่งของเวอร์จินกรุ๊ป[4][5] โดยเริ่มทำการบินระหว่างบริสเบนและซิดนีย์

โบอิง 777-300อีอาร์ ของวีออสเตรเลีย

ในช่วงต้นปีค.ศ. 2006 ได้มีการประกาศแผนการทำเที่ยวบินนานาชาติไปยังจุดหมายปลายทางในสหรัฐอเมริกา โดยเวอร์จินออสเตรเลียได้สร้างสายการบินลูกใหม่ ในชื่อว่าวีออสเตรเลียและมีโบอิง 777-300อีอาร์ จำนวนห้าลำในฝูงบิน

ในวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2011 เวอร์จินบลูได้มีการเปลี่ยนชื่อใหม่เป็นเวอร์จินออสเตรเลีย สายการบินแปซิฟิกบลูและวีออสเตรเลียได้ถูกผนวกกิจการเข้ากับเวอร์จินออสเตรเลียในเวลาต่อมา[6][7]

กิจการองค์กร[แก้]

สำนักงานใหญ่[แก้]

ก่อนที่จะย้ายสำนักงานใหญ่ไปยังเซาท์แลงก์ในเดือนกันยายน ค.ศ. 2020 สำนักงานใหญ่ของเวอร์จินออสเตรเลีย คือ เวอร์จินวิลเลจ ในบริสเบน[8]

บริษัทลูก[แก้]

เวอร์จินออสเตรเลียมีบริษัทลูกดังนี้

  • แปซิฟิกบลูแอร์ไลน์ - ให้บริการตั้งแต่ปีค.ศ. 2004 - 2020 แปซิฟิกบลูให้บริการเที่ยวบินต้นทุนต่ำภายในประเทศนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย
  • วีออสเตรเลีย - ให้บริการตั้งแต่ปีค.ศ. 2009 - 2011 โดยให้บริการเที่ยวบินระยะไกลระหว่างออสเตรเลียและสหรัฐอเมริกา[9]
  • ไทเกอร์แอร์ออสเตรเลีย - ถูกซื้อโดยเวอร์จินออสเตรเลียโฮลดิ้งในปีค.ศ. 2014 ปิดตัวในปีค.ศ. 2020 เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19[10]
  • เวอร์จินออสเตรเลียเรจินัลแอร์ไลน์ - เดิมชื่อสกายเวสต์แอร์ไลน์ ถูกซื้อโดยเวอร์จินออสเตรเลียโฮลดิ้งในปีค.ศ. 2013 โดยให้บริการเที่ยวบินในภูมิภาค[11]

จุดหมายปลายทาง[แก้]

ข้อตกลงการทำการบินร่วม[แก้]

เวอร์จินออสเตรเลียได้ทำข้อตกลงการบินร่วมกับสายการบินดังต่อไนี้:[12]

ฝูงบิน[แก้]

โบอิง 737-800 ของเวอร์จินออสเตรเลีย
ฟอกเกอร์ 100 ของเวอร์จินออสเตรเลียเรจินอลแอร์ไลน์

เวอร์จินออสเตรเลียมีฝูงบินดังนี้:[17][18]

ฝูงบินของเวอร์จินออสเตรเลีย
เครื่องบิน ประจำการ คำสั่งซื้อ ผู้โดยสาร[19] หมายเหตุ
J Y รวม
โบอิง 737-700 2 8 120 128 จะถูกโอนย้ายไปยังเวอร์จินออสเตรเลียเรจินัลแอร์ไลน์
โบอิง 737-800 75 8 162 170
168 176 ได้รับต่อมาจากซิลค์แอร์[20][21]
โบอิง 737 MAX 8 4 TBA เริ่มส่งมอบในปีค.ศ. 2023[22]
โบอิง 737 MAX 10 25 TBA เริ่มส่งมอบในปีค.ศ. 2023[23]
ฝูงบินของเวอร์จินออสเตรเลียเรจินัลแอร์ไลน์
แอร์บัส เอ320-200 7 168 168
โบอิง 737-700 15 149 149 ทดแทนฟอกเกอร์ 100
ฟอกเกอร์ 100 10 100 100 จะถูกทดแทนด้วยโบอิง 737-700 ในต้นปีค.ศ. 2023
ฝูงบินของเวอร์จินออสเตรเลียคาร์โก้
โบอิง 737-300F 1 สินค้า เช่ามาจากแอร์เวิร์ก
บริติชแอร์โรสเปซ 146-200QC 1 สินค้า เช่ามาจากไฟออนแอร์ออสเตรเลีย
บริติชแอร์โรสเปซ 146-200QT 2 สินค้า
รวม 98 44

อ้างอิง[แก้]

  1. "Virgin Australia to replace Virgin Blue, V Australia, Pacific Blue airline names -- Polynesian Blue too? - Executive Traveller". www.executivetraveller.com (ภาษาอังกฤษ). 2011-05-04.
  2. "Virgin Australia company overview | Virgin Australia". www.virginaustralia.com.
  3. "Virgin Australia Route Map". web.archive.org. 2019-12-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-29. สืบค้นเมื่อ 2022-07-30.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  4. "Low-cost blueprint lets Virgin soar". The Age (ภาษาอังกฤษ). 2003-11-16.
  5. "Virgin Australia Newsroom". Virgin Australia Newsroom (ภาษาอังกฤษ).
  6. http://www.theaustralian.com.au/travel/news/rebranded-virgin-prepares-for-a-tough-battle/story-e6frg8ro-1226050900146
  7. O'sullivan, Matt (2011-05-04). "Virgin wins stalemate over brand name rights". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ).
  8. http://www.theaustralian.com.au/business/aviation/virgin-blue-seeks-shelter-in-brisbane/story-e6frg95x-1111117782097
  9. "V Australia to take off". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ). 2007-07-25.
  10. "Virgin does deals with Singapore, Tiger, Skywest". The Sydney Morning Herald (ภาษาอังกฤษ). 2012-10-29.
  11. "Virgin Australia Newsroom". Virgin Australia Newsroom (ภาษาอังกฤษ).
  12. "Airline Partners". Virgin Australia. สืบค้นเมื่อ 26 January 2020.
  13. "Airline Partners". Virgin Australia. สืบค้นเมื่อ 11 February 2020.
  14. "Virgin Australia and Hainan Airlines launch codeshare". Finder.com.au. 4 June 2018. สืบค้นเมื่อ 5 June 2018.
  15. "Hong Kong Airlines and Virgin Australia to Launch Codeshare Partnership". Hong Kong Airlines. 6 June 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-14. สืบค้นเมื่อ 5 June 2018.
  16. "Virgin Australia and United Airlines launch codeshare". Virgin.com. 15 December 2021. สืบค้นเมื่อ 22 December 2021.
  17. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-08-28. สืบค้นเมื่อ 2022-07-30.
  18. "Virgin Australia's freighter aircraft take off". Australian Aviation (ภาษาอังกฤษแบบออสเตรเลีย).
  19. "Our fleet - flying with us | Virgin Australia". www.virginaustralia.com.
  20. "Virgin Australia Fleet Details and History". www.planespotters.net. สืบค้นเมื่อ 2022-05-30.
  21. "Virgin Australia unveils interior design prototype of the future". Virgin Australia Newsroom (ภาษาอังกฤษ). 2021-11-11. สืบค้นเมื่อ 2022-05-30.
  22. "Virgin Australia To Take Four Boeing 737 MAX 8s From February 2023". Simple Flying. 2 May 2022.
  23. "Virgin Australia begins its countdown to the Boeing 737 MAX - Executive Traveller". www.executivetraveller.com (ภาษาอังกฤษ). 2021-08-27. สืบค้นเมื่อ 2022-05-04.