ข้ามไปเนื้อหา

เวงกัฏรามัน รามกฤษณัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เวงกี รามกฤษณัน
รามกิรุษณัณใน ค.ศ. 2015
นายกราชสมาคมแห่งลอนดอน คนที่ 62
ดำรงตำแหน่ง
1 ธันวาคม ค.ศ. 2015 – 30 พฤศจิกายน ค.ศ. 2020
ก่อนหน้าพอล เนิร์ส
ถัดไปเอเดรียน สมิท
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เวงกัฏรามัน รามกฤษณัน

ค.ศ. 1952 (อายุ 71–72 ปี)
จิตัมปรัม รัฐมัทราส (ปัจจุบันอยู่ในรัฐทมิฬนาฑู) ประเทศอินเดีย
สัญชาติ
  • สหราชอาณาจักร
  • สหรัฐ
คู่สมรสเวรา โรเซนเบร์รี (สมรส 1975)[1]
บุตร1[1]
ที่อยู่อาศัยสหราชอาณาจักร
เว็บไซต์www2.mrc-lmb.cam.ac.uk/group-leaders/n-to-s/venki-ramakrishnan
การศึกษาConvent of Jesus and Mary Baroda
ศิษย์เก่า
มีชื่อเสียงจาก
รางวัล
อาชีพทางวิทยาศาสตร์
สาขา
สถาบันที่ทำงาน
วิทยานิพนธ์The Green Function Theory of the Ferroelectric Phase Transition in Potassium Dihydrogen-Phosphate (1976)
อาจารย์ที่ปรึกษาในระดับปริญญาเอกTomoyasu Tanaka[1][7]
มีอิทธิพลต่อ

เวงกัฏรามัน รามกฤษณัน (อังกฤษ: Venkatraman Ramakrishnan; ทมิฬ: வெங்கட்ராமன் ராமகிருஷ்ணன்; ฮินดี: वेंकटरामन रामकृष्णन; เกิด ค.ศ. 1952) หรือเวงกี รามกฤษณัน (อังกฤษ: Venki Ramakrishnan) เป็นนักชีวเคมีชาวสหราชอาณาจักรสหรัฐผู้เกิดในประเทศอินเดีย เวงกัฏรามันได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีใน ค.ศ. 2009 ร่วมกับทอมัส เอ. สไตซ์และอาดา โยนัต "สำหรับการศึกษาโครงสร้างและหน้าที่ของไรโบโซม"[4][8][9][10]

เวงกัฏรามันดำรงตำแหน่งหัวหน้ากลุ่มวิจัยชีววิทยาโมเลกุลของสภาการวิจัยทางการแพทย์ในวิทยาเขตการแพทย์เคมบริดจ์ตั้งแต่ ค.ศ. 1995 และเป็นสมาชิกของวิทยาลัยทรินิตี มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์[11][12][13][14][15] และเคยดำรงตำแหน่งนายกราชสมาคมตั้งแต่ ค.ศ. 2015 จนถึง ค.ศ. 2020[16]

ชีวิตวัยเด็กและการศึกษา

[แก้]

เวงกัฏรามัน รามกฤษณันเกิดในครอบครัวชาวทมิฬในเมืองจิตัมปรัม อำเภอกฏลูร รัฐทมิฬนาฑู ประเทศอินเดีย[17] เป็นบุตรของ ซี. วี. รามกฤษณัน และราชลักษมี รามกฤษณัน ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ทั้งคู่ ซี. วี. รามกฤษณันผู้เป็นพ่อเคยดำรงตำแหน่งหัวหน้าภาควิชาชีวเคมีประจำมหาวิทยาลัยมหาราชาสยาชีราววโฑทรา[1][18] ซึ่งขณะที่เวงกัฏรามันเกิดนั้นพ่อของเขาทำวิจัยหลังปริญญาเอกอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน แมดิสันกับเดวิด อี. กรีน[1]

แม่ของเขาจบการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยแมคกิลล์ใน ค.ศ. 1959[19] โดยใช้เวลาเพียง 18 เดือน โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาได้แก่ดอนัลด์ โอ. เฮบบ์[1] น้องสาวของเขาคือลลิตา รามกฤษณัน เป็นศาสตราจารย์ด้านวิทยาภูมิคุ้มกันและโรคติดเชื้อประจำภาควิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์[20]และเป็นสมาชิกสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งสหรัฐ[21]

เวงกัฏรามันย้ายไปอยู่ที่วโฑทรา รัฐคุชราต ตั้งแต่อายุสามขวบ เข้าเรียนในโรงเรียน Convent of Jesus and Mary และเคยย้ายไปอยู่ที่แอดิเลด ประเทศออสเตรเลียระหว่าง ค.ศ. 1960 และ 1961 เขาเข้าศึกษาระดับเตรียมวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยมหาราชาสยาชีราววโฑทราและเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยเดียวกันโดยสามารถสอบชิงทุนระดับประเทศได้ เวงกัฏรามันสำเร็จการศึกษาวิทยาศาสตรบัณฑิตสาขาฟิสิกส์ใน ค.ศ. 1971[9] ซึ่งหลักสูตรวิชาฟิสิกส์ในมหาวิทยาลัยวโฑทรานั้นยังค่อนข้างใหม่ และยึดตามตำราจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์และตำราของริชาร์ด ฟายน์แมนเป็นหลัก[1]

หลังจบการศึกษาปริญญาตรี เวงกัฏรามันได้เดินทางศึกษาต่อในสหรัฐ โดยเขาได้รับปรัชญาดุษฎีบัณฑิตด้านฟิสิกส์จากมหาวิทยาลัยโอไฮโอใน ค.ศ. 1976 โดยงานวิจัยของเขาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสถานะเฟอร์โรอิเล็กทริกของโพแทสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต (KDP)[22] โดยมีที่ปรึกษาได้แก่โทโมยาซุ ทานากะ[7][23][24] หลังจากนั้นจึงเข้าเรียนด้านชีววิทยาที่มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย แซนดีเอโก ซึ่งเป็นการเปลี่ยนสายจากฟิสิกส์เชิงทฤษฎีไปเป็นชีววิทยา[25]

อาชีพและการวิจัย

[แก้]

เวงกัฏรามันเริ่มทำงานวิจัยเกี่ยวกับไรโบโซมในฐานะนักวิจัยหลังปริญญาเอกร่วมกับพีเทอร์ มอร์ที่มหาวิทยาลัยเยล[9] หลังจากนั้นเขาจึงสมัครเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัย แต่ในช่วงแรกยังไม่มีที่ใดรับแม้ว่าเขาจะสมัครไปกว่า 50 มหาวิทยาลัยในสหรัฐก็ตาม[26][27] เวงกัฏรามันจึงยังคงทำวิจัยเกี่ยวกับไรโบโซมระหว่าง ค.ศ. 1983 และ ค.ศ. 1995 ที่ห้องปฏิบัติการแห่งชาติบรุกเฮเวน[6] ใน ค.ศ. 1995 เขาได้ย้ายไปเป็นศาสตราจารย์ด้านชีวเคมีประจำมหาวิทยาลัยยูทาห์ และต่อมาใน ค.ศ. 1999 เขาได้ย้ายไปประจำกลุ่มวิจัยชีววิทยาโมเลกุลของสภาการวิจัยทางการแพทย์ในเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักรจนถึงปัจจุบัน โดยก่อนหน้านั้นระหว่าง ค.ศ. 1991 และ 1992 เวงกัฏรามันเคยทำวิจัยที่กลุ่มวิจัยดังกล่าวโดยได้รับทุนวิจัยกุกเกนไฮม์

กลุ่มวิจัยของเวงกัฏรามันได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยใน ค.ศ. 1999 เกี่ยวกับโครงสร้างของไรโบโซมหน่วยย่อย 30S ระดับ 5.5 อังสตรอม และในปีถัดมา กลุ่มวิจัยของเขาได้วิเคราะห์โครงสร้างโมเลกุลของหน่วยย่อย 30S และโครงสร้างสารเชิงซ้อนกับยาปฏิชีวนะชนิดต่าง ๆ ได้ผลเป็นผลสำเร็จ ตามด้วยผลงานวิจัยอื่น ๆ ที่เผยให้เห็นกลไกสำคัญในกระบวนการชีวสังเคราะห์โปรตีน ใน ค.ศ. 2007 กลุ่มวิจัยของเขาได้วิเคราะห์โครงสร้างระดับอะตอมของไรโบโซมซึ่งจับกับทีอาร์เอ็นเอและเอ็มอาร์เอ็นเอ และได้เริ่มใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนที่อุณหภูมิต่ำสำหรับการวิจัยการถ่ายโอนในยูคาริโอตและไมโทคอนเดรียตั้งแต่ ค.ศ. 2013[28][29] นอกจากนั้นเวงกัฏรามันยังมีผลงานวิจัยเกี่ยวกับโครงสร้างของฮิสโตนและโครมาติน

จนถึง ค.ศ. 2019 ผลงานวิจัยที่สำคัญของเวงกัฏรามันตีพิมพ์ (ข้อมูลจากกูเกิลสกอลาร์[30]) ในวารสารเนเจอร์[31][32][33] ไซเอินซ์[34][35] และเซลล์[36][37][38]

เวงกัฏรามันดำรงตำแหน่งนายกราชสมาคมระหว่าง ค.ศ. 2015 และ 2020 ซึ่งสหราชอาณาจักรในขณะนั้นได้รับผลกระทบจากทั้งเบร็กซิตและการระบาดทั่วของโควิด-19[39] ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2018 เวงกัฏรามันให้สัมภาษณ์ว่าการตัดสินใจออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของสหราชอาณาจักรในฐานะที่ที่น่าทำงานด้านวิทยาศาสตร์ โดยให้ความเห็นว่า "มันเป็นเรื่องยากสำหรับวงการวิทยาศาสตร์ที่จะเห็นประโยชน์จากเบร็กซิต มันแทบไม่มีเลย" เขามองว่าทั้งสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรปจะยังคงได้ประโยชน์ถ้าสหราชอาณาจักรตัดสินใจที่จะยังคงร่วมงานกับระบบนำทางดาวเทียมกาลิเลโอและยูระตอม ซึ่งไม่ใช่องค์กรภายใต้สหภาพยุโรป[40]

เวงกัฏรามันเห็นว่าเบร็กซิตโดยไม่มีข้อตกลงใด ๆ จะส่งผลร้ายต่อวงการวิทยาศาสตร์ โดยเขียนว่า "ข้อตกลงเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์นั้นเป็นไปเพื่อผลประโยชน์สูงสุดของยุโรปทั้งมวล และไม่ควรเอาไปเป็นข้อแลกเปลี่ยนเพื่อชดเชยความเสียหายจากความขัดแย้งในกรณีอื่น ๆ ถ้าเราต้องการที่จะจัดการกับปัญหาที่ส่งผลกระทบทั่วโลกอย่างเช่นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โรคในมนุษย์ และความมั่นคงทางอาหาร เราทำแยกกันไม่ได้ มันไม่มีสถานการณ์ไหนเลยที่การตัดความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมวงการวิทยาศาสตร์ที่ใกล้ที่สุดในสหภาพยุโรปจะทำให้เราบรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้น"[41]

รางวัลเชิดชูเกียรติ

[แก้]
เวงกัฏรามันในงานแถลงข่าวรางวัลโนเบล ค.ศ. 2009

เวงกัฏรามันได้รับเลือกเป็นสมาชิกขององค์การชีววิทยาโมเลกุลแห่งยุโรปใน ค.ศ. 2002[42] เป็นภาคีสมาชิกราชสมาคมใน ค.ศ. 2003[43] และเป็นสมาชิกสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งสหรัฐใน ค.ศ. 2004 ต่อมาใน ค.ศ. 2007 เวงกัฏรามันได้รับรางวัลลูย-ฌ็องเตสาขาการแพทย์[5] และรางวัลเหรียญทัตตาจากสหพันธ์สมาคมชีวเคมีแห่งยุโรป และใน ค.ศ. 2008 เขาได้รับรางวัลเหรียญฮีตลีย์จากสมาคมชีวเคมี ในปีนั้นเขายังได้เป็นสมาชิกวิทยาลัยทรินิตี มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และภาคีสมาชิกชาวต่างชาติของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งประเทศอินเดีย ต่อมาใน ค.ศ. 2010 เขาได้เป็นสมาชิกของสถาบันวิทยาศาสตร์เลโอพ็อลดีนาแห่งประเทศเยอรมนี[44] และภาคีสมาชิกกิตติมศักดิ์ของสถาบันวิทยาศาสตร์การแพทย์ ในปีเดียวกันเขายังได้รับปริญญากิตติมศักดิ์จากมหาวิทยาลัยมหาราชาสยาชีราววโฑทรา มหาวิทยาลัยยูทาห์ และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และยังได้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของวิทยาลัยซอมเมอร์วิลล์ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด[45] ใน ค.ศ. 2020 เขาได้รับเลือกเป็นสมาชิกสมาคมปรัชญาแห่งสหรัฐ[46] และเป็นกรรมการของหอสมุดบริติช[47]

เวงกัฏรามันได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีใน ค.ศ. 2009 ร่วมกับทอมัส เอ. สไตซ์และอาดา โยนัต[48] และได้รับเครื่องอิสริยาภรณ์ปัทมวิภูษัณใน ค.ศ. 2010 ซึ่งเป็นเครื่องอิสริยาภรณ์อันดับที่สองของประเทศอินเดียรองจากภารตรตนะ[49] เวงกัฏรามันได้รับบรรดาศักดิ์อัศวินในวันขึ้นปีใหม่ ค.ศ. 2012 จากผลงานสำคัญในสาขาชีววิทยาโมเลกุล[3] อย่างไรก็ตาม ตัวเวงกัฏรามันเองไม่นิยมใช้คำนำหน้า "เซอร์"[50] ในปีเดียวกันเขายังได้รับเหรียญเซอร์ฮันส์ เครพส์จากสหพันธ์สมาคมชีวเคมีแห่งยุโรป ต่อมาใน ค.ศ. 2014 เขาได้รับรางวัลฆิเมเนซ-ดิอัซครั้งที่ 46 จากมูลนิธิกอนชิตา ราบาโก ประเทศสเปน และใน ค.ศ. 2017 เขาได้รับรางวัลโกลเดนเพลตจากสถาบันความสำเร็จแห่งสหรัฐ[51] สถานีโทรทัศน์เอ็นดีทีวีของประเทศอินเดียใน ค.ศ. 2013 ได้เลือกให้เวงกัฏรามันเป็นหนึ่งใน 25 ชาวอินเดียที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่ เวงกัฏรามันไม่ต้องการใช้คำนำหน้า "เซอร์" หรือคำลงท้าย "FRS" แม้ว่าเขาจะมีสิทธิใช้คำนำหน้าหรือคำลงท้ายดังกล่าวในกลุ่มประเทศเครือจักรภพแห่งประชาชาติก็ตาม

เอกสารยืนยันการได้รับเลือกเข้าสู่ราชสมาคมกล่าวเกี่ยวกับเวงกัฏรามันว่า:

Ramakrishnan is internationally recognised for determination of the atomic structure of the 30S ribosomal subunit. Earlier he mapped the arrangement of proteins in the 30S subunit by neutron diffraction and solved X-ray structures of individual components and their RNA complexes. Fundamental insights came from his crystallographic studies of the complete 30S subunit. The atomic model included over 1500 bases of RNA and 20 associated proteins. The RNA interactions representing the P-site tRNA and the mRNA binding site were identified and the likely modes of action of many clinically important antibiotics determined. His most recent work goes to the heart of the decoding mechanism showing the 30S subunit complexed with poly-U mRNA and the stem-loop of the cognate phenylalanine tRNA. Anti-codon recognition leaves the "wobble" base free to accommodate certain non-Watson/Crick basepairs, thus providing an atomic description of both codon:anti-codon recognition and "wobble". He has also made substantial contributions to understanding how chromatin is organised, particularly the structure of linker histones and their role in higher order folding.[52]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

เวงกัฏรามันสมรสกับเวรา โรเซนเบร์รี นักเขียนและวาดภาพประกอบวรรณกรรมสำหรับเด็กใน ค.ศ. 1975[1] แทนยา แคปคา ธิดาเลี้ยงของเขาเป็นแพทย์ในรัฐออริกอน ส่วนรามัน รามกฤษณัน บุตรชายของเขาเป็นนักเชลโลในนิวยอร์ก[53]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.00 1.01 1.02 1.03 1.04 1.05 1.06 1.07 1.08 1.09 1.10 1.11 1.12 1.13 1.14 "Venkatraman Ramakrishnan – Biography: From Chidambaram to Cambridge: A Life in Science". nobelprize.org. Stockholm. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-18.
  2. Anon (2015). Ramakrishnan, Sir Venkatraman. ukwhoswho.com. Who's Who (online Oxford University Press ed.). A & C Black, an imprint of Bloomsbury Publishing plc. doi:10.1093/ww/9780199540884.013.U45543. Closed access
  3. 3.0 3.1 "No. 60009". The London Gazette (Supplement). 31 December 2011. p. 1.
  4. 4.0 4.1 "2009 Chemistry Nobel Laureates". Nobel Foundation. 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-10-14.
  5. 5.0 5.1 Louis-Jeantet Prize อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Louis-Jeantet Prize" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  6. 6.0 6.1 Cerf, Corinne; Lippens, Guy; Muyldermans, Serge; Segers, Alain; Ramakrishnan, V.; Wodak, Shoshana J.; Hallenga, Klaas; Wyns, Lode (1993). "Homo- and heteronuclear two-dimensional NMR". Biochemistry. 32 (42): 11345–11351. doi:10.1021/bi00093a011. PMID 8218199.
  7. 7.0 7.1 Ramakrishnan, Venkatraman; Tanaka, Tomoyasu (1977). "Green's-function theory of the ferroelectric phase transition in potassium dihydrogen phosphate (KDP)". Physical Review B. 16 (1): 422–426. Bibcode:1977PhRvB..16..422R. doi:10.1103/physrevb.16.422.
  8. Rodnina, Marina V.; Wintermeyer, Wolfgang (2010). "The ribosome goes Nobel". Trends in Biochemical Sciences. 35 (1): 1–5. doi:10.1016/j.tibs.2009.11.003. PMID 19962317.
  9. 9.0 9.1 9.2 "Venkatraman_Ramakrishnan". University of Cambridge. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-04-19.
  10. Venkatraman Ramakrishnan Audio Interview Official Nobel Foundation website telephone interview
  11. Nair, Prashant (2011). "Profile of Venkatraman Ramakrishnan". Proceedings of the National Academy of Sciences. 108 (38): 15676–15678. Bibcode:2011PNAS..10815676N. doi:10.1073/pnas.1113044108. PMC 3179092. PMID 21914843. สิ่งพิมพ์เผยแพร่เข้าถึงแบบเปิด อ่านได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
  12. "Biologist Venki Ramakrishnan to lead Royal Society". BBC News. London. 2015-03-18. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-10.
  13. James, Nathan Rhys (2017). Structural insights into noncanonical mechanisms of translation. cam.ac.uk (วิทยานิพนธ์ PhD). University of Cambridge. doi:10.17863/CAM.13713. OCLC 1064932062. [[EThOS]] uk.bl.ethos.725540. Free to read
  14. Venki Ramakrishnan เว็บไซต์ทางการ Edit this at Wikidata
  15. Ramakrishnan, Venki (2018). Gene machine. The race to decipher the secrets of the ribosome. London: Oneworld. ISBN 9781786074362. OCLC 1080631601. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-03-27. สืบค้นเมื่อ 2022-11-05.
  16. Peplow, M. (2015). "Structural biologist named president of UK Royal Society". Nature. doi:10.1038/nature.2015.17153. S2CID 112623895.
  17. "Common root: Tamil Nadu gets its third laureate". Times of India. TNN. 8 October 2009.
  18. Ramakrishnan, C. V.; Banerjee, B. N. (1951). "Mould Lipase: Effect of Addition of Vitamins and Sterol to the Cake Medium on the Growth and the Activity of the Lipolytic Mould". Nature. 168 (4282): 917–918. Bibcode:1951Natur.168..917R. doi:10.1038/168917a0. PMID 14899529. S2CID 4244697.
  19. Ramakrishnan, Rajalakshmi (1959). Comparative Effects of Successive and Simultaneous Presentation on Transfer in Verbal Learning (วิทยานิพนธ์ PhD). McGill University. ProQuest 301865011.
  20. "Lalita Ramakrishnan Home page in Department of Medicine, University of Cambridge". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-12-08. สืบค้นเมื่อ 2022-11-05.
  21. "Lalita Ramakrishnan elected to the U.S. National Academy of Sciences". University of Cambridge. สืบค้นเมื่อ 30 January 2016.
  22. Ramakrishnan, Venkatraman (1976). The Green function theory of the ferroelectric phase transition in KDP (วิทยานิพนธ์ PhD). Ohio University. OCLC 3079828. ProQuest 302809453.
  23. "Venkatraman Ramakrishnan: a profile". Times of India. 2009-10-07. สืบค้นเมื่อ 2009-10-07.
  24. "Factbox: Nobel chemistry prize – Who are the winners?". Reuters. 2009-10-07. สืบค้นเมื่อ 2009-10-07.
  25. "Profile: Dr Venkatraman Ramakrishnan". Indian Express. 7 October 2009. สืบค้นเมื่อ 2009-10-07.
  26. "Nobel laureate Venkat Ramakrishnan failed IIT, medical entrance tests". The Times Of India. 2010-01-05.
  27. "Venki Ramakrishnan, Ph.D. Biography and Interview". www.achievement.org. American Academy of Achievement.
  28. Fernández, Israel S.; Bai, Xiao-Chen; Hussain, Tanweer; Kelley, Ann C.; Lorsch, Jon R.; Ramakrishnan, V.; Scheres, Sjors H. W. (2013-11-15). "Molecular architecture of a eukaryotic translational initiation complex". Science. 342 (6160): 1240585. doi:10.1126/science.1240585. ISSN 1095-9203. PMC 3836175. PMID 24200810.
  29. Amunts, Alexey; Brown, Alan; Bai, Xiao-Chen; Llácer, Jose L.; Hussain, Tanweer; Emsley, Paul; Long, Fei; Murshudov, Garib; Scheres, Sjors H. W. (2014-03-28). "Structure of the yeast mitochondrial large ribosomal subunit". Science. 343 (6178): 1485–1489. Bibcode:2014Sci...343.1485A. doi:10.1126/science.1249410. ISSN 1095-9203. PMC 4046073. PMID 24675956.
  30. ดรรชนีผลงานตีพิมพ์โดย Venki Ramakrishnan บนกูเกิล สกอลาร์
  31. Ramakrishnan, V.; Wimberly, Brian T.; Brodersen, Ditlev E.; Clemons, William M.; Morgan-Warren, Robert J.; Carter, Andrew P.; Vonrhein, Clemens; Hartsch, Thomas (2000). "Structure of the 30S ribosomal subunit". Nature. 407 (6802): 327–339. Bibcode:2000Natur.407..327W. doi:10.1038/35030006. PMID 11014182. S2CID 4419944.
  32. Ramakrishnan, V.; Carter, Andrew P.; Clemons, William M.; Brodersen, Ditlev E.; Morgan-Warren, Robert J.; Wimberly, Brian T. (2000). "Functional insights from the structure of the 30S ribosomal subunit and its interactions with antibiotics". Nature. 407 (6802): 340–348. Bibcode:2000Natur.407..340C. doi:10.1038/35030019. PMID 11014183. S2CID 4408938.
  33. Ramakrishnan, V.; Finch, J. T.; Graziano, V.; Lee, P. L.; Sweet, R. M. (1993). "Crystal structure of globular domain of histone H5 and its implications for nucleosome binding". Nature. 362 (6417): 219–223. Bibcode:1993Natur.362..219R. doi:10.1038/362219a0. PMID 8384699. S2CID 4301198.
  34. Selmer, M. (2006). "Structure of the 70S Ribosome Complexed with mRNA and tRNA". Science. 313 (5795): 1935–1942. Bibcode:2006Sci...313.1935S. doi:10.1126/science.1131127. PMID 16959973. S2CID 9737925.
  35. Ogle, J. M. (2001). "Recognition of Cognate Transfer RNA by the 30S Ribosomal Subunit". Science. 292 (5518): 897–902. Bibcode:2001Sci...292..897O. doi:10.1126/science.1060612. PMID 11340196. S2CID 10743202.
  36. Ramakrishnan, V. (2002). "Ribosome Structure and the Mechanism of Translation". Cell. 108 (4): 557–572. doi:10.1016/s0092-8674(02)00619-0. PMID 11909526. S2CID 2078757.
  37. Brodersen, Ditlev E.; Clemons, William M.; Carter, Andrew P.; Morgan-Warren, Robert J.; Wimberly, Brian T.; Ramakrishnan, V. (2000). "The Structural Basis for the Action of the Antibiotics Tetracycline, Pactamycin, and Hygromycin B on the 30S Ribosomal Subunit". Cell. 103 (7): 1143–1154. doi:10.1016/s0092-8674(00)00216-6. PMID 11163189. S2CID 7763859.
  38. Ogle, James M.; Murphy, Frank V.; Tarry, Michael J.; Ramakrishnan, V. (2002). "Selection of tRNA by the Ribosome Requires a Transition from an Open to a Closed Form". Cell. 111 (5): 721–732. doi:10.1016/s0092-8674(02)01086-3. PMID 12464183. S2CID 10784644.
  39. Clive Cookson (20 November 2020). "'Voice of British science fights for future of UK research'". The Financial Times.
  40. Ian Tucke (15 July 2018). "Venkatraman Ramakrishnan: 'Britain's reputation has been hurt'". The Guardian.
  41. A no-deal Brexit would be a disaster for the UK science community The Independent
  42. "The EMBO Pocket Directory" (PDF). European Molecular Biology Organization. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-03-16.
  43. "Sir Venki Ramakrishnan FRS". London: Royal Society. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-09-06.
  44. "Venkatraman Ramakrishnan". German Academy of Sciences Leopoldina. สืบค้นเมื่อ 26 May 2021.
  45. "Emeritus and Honorary Fellows". Somerville College, Oxford. สืบค้นเมื่อ 26 August 2018.
  46. "The American Philosophical Society Welcomes New Members for 2020".
  47. "Venki Ramakrishnan appointed to the British Library Board". The British Library. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-22. สืบค้นเมื่อ 2020-07-05.
  48. "All Nobel Laureates in Chemistry". Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 2009-10-07.
  49. "This Year's Padma Awards announced" (Press release). Ministry of Home Affairs. 25 January 2010. สืบค้นเมื่อ 25 January 2010.
  50. "Laureate – Venkatraman Ramakrishnan". Lindau Nobel Laureate Meetings. สืบค้นเมื่อ 21 April 2016.
  51. "Golden Plate Awardees of the American Academy of Achievement". www.achievement.org. American Academy of Achievement.
  52. "Venkatraman Ramakrishnan: Certificate of Election EC/2003/31". London: The Royal Society. 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 พฤษภาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2015.
  53. Amit Roy (17 Oct 2009). "'Venki' makes light of India link – Winner says not to treat science like cricket; league of misses grows". The Telegraph (Kolkata). สืบค้นเมื่อ 2009-10-17.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]