เลือดมีออกซิเจนน้อย
Hypoxemia | |
---|---|
ชื่ออื่น | Hypoxaemia |
เลือดที่มีปริมาณออกซิเจนน้อยจะมีสีแดงคล้ำ | |
สาขาวิชา | Pulmonology |
ภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อย (อังกฤษ: hypoxemia) หมายถึงการที่ในเลือด (โดยเฉพาะเลือดในหลอดเลือดแดง[1]) มีปริมาณออกซิเจนน้อยกว่าปกติ[2][3] เกิดได้จากหลายสาเหตุ และมักทำให้เกิดภาวะพร่องออกซิเจนได้ เนื่องจากเลือดที่มีปริมาณออกซิเจนน้อยย่อมไม่สามารถส่งออกซิเจนให้เนื้อเยื่อได้เพียงพอต่อความต้องการ
นิยาม
[แก้]ภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อยคือการที่มีออกซิเจนในเลือดน้อย ส่วนภาวะพร่องออกซิเจนจะกินความหมายกว้างกว่าคือการมีออกซิเจนน้อยในเลือด หรือในเนื้อเยื่อ หรือในร่างกาย[3] ภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อยสามารถทำให้เกิดภาวะพร่องออกซิเจนได้ เรียกว่า ภาวะพร่องออกซิเจนเหตุเลือดมีออกซิเจนน้อย (hypoxemic hypoxia) แต่ภาวะพร่องออกซิเจนยังสามารถเกิดได้จากสาเหตุอื่นๆ อีก เช่น ภาวะเลือดจาง เป็นต้น[4]
นิยามของภาวะเลือดมีออกซิเจนน้อยโดยทั่วไปแล้วจะอ้างอิงกับการลดลงของความดันย่อยของออกซิเจนในเลือดแดง (หน่วยเป็นมิลลิเมตรปรอท) นิยามอื่นๆ อาจอ้างอิงกับปริมาตรออกซิเจนที่ลดลง (มิลลิลิตรของออกซิเจนต่อเดซิลิตรของเลือด) หรือร้อยละความอิ่มตัวของฮีโมโกลบินที่จับกับออกซิเจน โดยทั้งหมดนี้อาจพบร่วมกันหรือพบแยกกันก็ได้[3][5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Eckman, Margaret (2010). Professional guide to pathophysiology (3rd ed.). Philadelphia: Wolters Kluwer/Lippincott Williams & Wilkins. p. 208. ISBN 978-1605477664.
- ↑ Pollak, Charles P.; Thorpy, Michael J.; Yager, Jan (2010). The encyclopedia of sleep and sleep disorders (3rd ed.). New York, NY. p. 104. ISBN 9780816068333.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Martin, Lawrence (1999). All you really need to know to interpret arterial blood gases (2nd ed.). Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins. p. xxvi. ISBN 978-0683306040.
- ↑ Robert J. Mason, V. Courtney Broaddus, Thomas R. Martin, Talmadge E. King, Dean E. Schraufnagel, John F. Murray and Jay A. Nadel (eds.) (2010) Murray & Nadel's Textbook of Respiratory Medicine, 5th ed. Philadelphia: Saunders Elsevier. ISBN 1-4160-4710-7.
- ↑ Morris, Alan; Kanner, Richard; Crapo, Robert; Gardner, Reed. (1984) Clinical Pulmonary Function Testing. A manual of uniform laboratory procedures, 2nd ed.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]การจำแนกโรค |
---|