เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีน
เลขาธิการใหญ่คณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน | |
---|---|
中国共产党中央委员会总书记 | |
![]() | |
![]() | |
การเรียกขาน |
|
สมาชิกของ | คณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมือง |
รายงานต่อ | คณะกรรมาธิการกลาง |
จวน | ฉินเจิ้งเตี้ยน จงหนานไห่[1] |
ที่ว่าการ | ปักกิ่ง |
ผู้เสนอชื่อ | คณะกรรมาธิการกลาง |
ผู้แต่งตั้ง | คณะกรรมาธิการกลาง |
วาระ | 5 ปี ต่ออายุได้ไม่จำกัด |
ตราสารจัดตั้ง | ธรรมนูญพรรค |
ตำแหน่งก่อนหน้า | ประธาน (1943–1976) |
ผู้ประเดิมตำแหน่ง | เฉิน ตู๋ซิ่ว |
สถาปนา | 23 กรกฎาคม 1921 |
เลขาธิการใหญ่คณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน | |||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 中国共产党中央委员会总书记 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 中國共產黨中央委員會總書記 | ||||||
| |||||||
โดยทั่วไปย่อว่า | |||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 中共中央总书记 | ||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 中共中央總書記 | ||||||
|
เลขาธิการใหญ่คณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน (จีน: 中国共产党中央委员会总书记; พินอิน: Zhōngguó Gòngchǎndǎng Zhōngyāng Wěiyuánhuì Zǒngshūjì) คือผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์จีน พรรครัฐบาลเดียวของสาธารณรัฐประชาชนจีน นับตั้งแต่ ค.ศ. 1989 เลขาธิการใหญ่พรรคคอมมิวนิสต์จีนได้ดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ตามธรรมนูญพรรคคอมมิวนิสต์จีน เลขาธิการใหญ่ได้รับการเลือกตั้งในระหว่างการประชุมเต็มคณะของคณะกรรมาธิการกลาง เลขาธิการใหญ่ดำรงตำแหน่งสมาชิกโดยตำแหน่งในคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมือง องค์กรตัดสินใจสูงสุดโดยพฤตินัยของจีน เลขาธิการใหญ่เป็นหัวหน้าของสำนักเลขาธิการ และกำหนดวาระการประชุมของคณะกรรมาธิการกลาง กรมการเมือง และคณะกรรมาธิการสามัญประจำกรมการเมือง ตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ผู้ดำรงตำแหน่งนี้ได้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีของจีน (ยกเว้นในช่วงเปลี่ยนผ่าน) ทำให้ผู้ดำรงตำแหน่งนี้เป็นประมุขแห่งรัฐ และเป็นประธานคณะกรรมการการทหารส่วนกลาง ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของกองทัพปลดปล่อยประชาชน[หมายเหตุ 1]
ในฐานะผู้นำของเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในโลกโดยวัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศตามอำนาจซื้อ เศรษฐกิจขนาดใหญ่เป็นอันดับสองของโลกโดยวัดจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศตามราคาตลาด กองทัพที่ใหญ่ที่สุดในโลกโดยจำนวนกำลังพล รัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์ที่ได้รับการยอมรับ สมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ, และมหาอำนาจที่มีศักยภาพ เลขาธิการใหญ่จึงได้รับการพิจารณาว่าเป็นหนึ่งในบุคคลทางการเมืองที่ทรงอำนาจมากที่สุดในโลก[3]
เลขาธิการใหญ่คนปัจจุบันคือสี จิ้นผิง ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 2012 และได้รับเลือกตั้งใหม่สองครั้งเมื่อ 25 ตุลาคม ค.ศ. 2017 และ 23 ตุลาคม ค.ศ. 2022 บุคคลสุดท้ายที่ปกครองประเทศนานกว่าสองวาระคือเหมา เจ๋อตง ผู้ดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมาธิการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนตั้งแต่ ค.ศ. 1943 กระทั่งเสียชีวิตใน ค.ศ. 1976
ประวัติศาสตร์
[แก้]รายนามผู้ดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน
[แก้]- เฉิน ตู๋ซิ่ว 1921-1922; 1925-1927
- ชู ชิวไป๋ หัวหน้าโดยพฤตินัย 1927-1928
- เซี่ยง จงฝา 1928-1931
- หลี่ ลี่ซาน หัวหน้าโดยพฤตินัย 1929-1930
- หวัง หมิง (ดำรงตำแหน่ง) 1931-1932
- ฉิน ปังเสี้ยน 1932-1935
- จาง เหวินเทียน, เลขาธิการ 1935-1943
- ว่าง (1943-1956)
- เติ้ง เสี่ยวผิง, เลขาธิการ 1956–1967
- ว่าง (1967-1980)
- หู เย่าปัง, เลขาธิการ 1980-1987
- จ้าว จื่อหยาง, เลขาธิการ 1987-1989
- เจียง เจ๋อหมิน, เลขาธิการ 1989-2002
- หู จิ่นเทา, เลขาธิการ 2002-2012
- สี จิ้นผิง เลขาธิการ 2012-ปัจจุบัน
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "文革后的中南海:中央办事效率最高的时期". LYWZC.com. Comsenz Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 February 2018. สืบค้นเมื่อ 7 February 2018..
- ↑ "Who's Who in China's New Communist Party Leadership Lineup". Bloomberg News. 15 November 2012. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 2014. สืบค้นเมื่อ 1 December 2019.
- ↑ McGregor, Richard (2022-08-21). "Xi Jinping's Radical Secrecy". The Atlantic (ภาษาอังกฤษ). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 August 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-09-12.; Sheridan, Michael. "How Xi Jinping became the world's most powerful man". The Times. ISSN 0140-0460. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 June 2024. สืบค้นเมื่อ 2022-09-12.; O'Connor, Tom (2022-02-03). "Xi and Putin, two of world's most powerful men, to meet in China, US absent". Newsweek. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2022. สืบค้นเมื่อ 2022-09-12.
- China เก็บถาวร 2007-10-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สารานุกรมออนไลน์
อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref>
สำหรับกลุ่มชื่อ "หมายเหตุ" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="หมายเหตุ"/>
ที่สอดคล้องกัน