ข้ามไปเนื้อหา

เรอเน มากริต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เรเน่ มากริตต์)
เรอเน มากริต
เกิดเรอเน ฟร็องซัว กีแลน มากริต
21 พฤศจิกายน ค.ศ. 1898(1898-11-21)
เลซีน, ประเทศเบลเยี่ยม
เสียชีวิต15 สิงหาคม ค.ศ. 1967(1967-08-15) (68 ปี)
บรัสเซลส์, ประเทศเบลเยี่ยม
สัญชาติเบลเยี่ยม
มีชื่อเสียงจากจิตรกร
ขบวนการเซอร์เรียลลิซึม

เรอเน ฟร็องซัว กีแลน มากริต (อังกฤษ: René François Ghislain Magritte) หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อเรอเน มากริต (21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2441 - 15 สิงหาคม พ.ศ. 2510) เป็นจิตรกรสัญชาติเบลเยี่ยม มีชื่อเสียงจากการวาดภาพแนวเหนือจริง หรือ เซอร์เรียลลิซึม เขาเริ่มเป็นที่รู้จักจากผลงานที่ดูเฉลียวฉลาดและภาพวาดเหนือจริงที่ชวนกระตุ้นให้คิดผลงานของเขาเป็นที่ท้าทายต่อผู้เข้าชมที่ถูกความเป็นจริงตีกรอบไว้

ประวัติตามช่วงเวลาชีวิต

[แก้]

ปี 1898 มากริตเกิดที่ประเทศเบลเยียม เป็นบุตรชายของนายเลโอโปลด์ มากริต (Léopold Magritte) และนางอาร์เดลีน (Régina)

ปี 1910 มากริตได้เข้าเรียนหลักสูตรการวาดภาพสำหรับเด็กเป็นครั้งแรก

ปี 1913 ครอบครัวของเขาได้ย้ายไปอยู่ที่ชาร์เลอรัว ซึ่งเขาได้เข้าเรียนในโรงเรียนสอนไวยากรณ์ ที่แห่งนี้ทำให้เขาได้พบกับ Georgette Berger (เกิดเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 1901) หรือว่าที่ภรรยาในอนาคตของเขาเป็นครั้งแรก

ปี 1919 เขาได้พบกับเหล่าสมาชิกหัวก้าวหน้าของกลุ่มอาว็อง-การ์ด ทำให้เขามีความสนใจในความเคลื่อนไหวทางศิลปะแบบฟิวเจอร์ริสม์ (Futurism) มากยิ่งขึ้น

ปี 1926 เขาได้เข้าร่วมกลุ่ม Galerie Selection

ปี 1927 เรเน่และภรรยาได้ย้ายไปอยู่ที่เมือง Perreux-sur-Marne ใกล้กับกรุงปารีส ในที่แห่งนี้เองที่มากริตได้เข้าร่วมกลุ่มลัทธิเหนือจริงชาวฝรั่งเศสและทำความรู้จักกับ อ็องเดร เบรอตง (André Breton), ปอล เอลัวร์ (Paul Éluard), ฮานส์ อาร์ป (Hans Arp) และคนอื่นๆ

ปี 1932 เขาได้เข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์เบลเยี่ยม

ปี 1940 มากริตได้ออกจากประเทศเบลเยี่ยมเพราะมีการบุกรุกของกองกำลังศัตรู ก่อนที่จะกลับไปสู่เมืองบรัสเซลส์

ปี 1945 มากริตเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์เบลเยี่ยม

ปี 1946 มากริตได้ร่วมลงชื่อใน แถลงการณ์เซอร์เรียลลิซึม ครั้งที่ 1 โดยเบรอตอง ในนามของ เซอร์เรียลลิซึมแห่งแสงสว่าง โดยมากริตได้เสนอแนวคิดบางอย่างที่ขัดกับกลุ่มเซอร์เรียลลิซึมฝรั่งเศส

ปี 1947 มากริตออกจากกพรรคคอมมิวนิสต์เบลเยี่ยม

ปี 1951 มากริตเริ่ททำงานประเภทจิตรกรรมฝาผนัง จำนวนทั้งสิ้น 4 ชิ้น โดยชิ้นแรกเสร็จในปีนี้ ชิ้นต่อๆไปเสร็จในปี 1953, ปี 1957 และปี 1961 ตามลำดับ

ปี 1965 สุขภาพของมากริตเริ่มถดถอย แต่เขาก็ยังคงท่องเที่ยว โดยในเดือนธันวาคมเขาก็ได้ไปท่องเที่ยวสหรัฐอเมริกา

ปี 1967 มากริตเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง

การเคลื่อนไหวทางศิลปะ

[แก้]

ผลงานของมากริตนั้นอยู่ในรูปแบบของเซอร์เรียลลิซึม ดังนั้นภาพวาดของมากริตจึงมักจะขัดแย้งกับความเป็นจริง รวมไปถึงทฤษฏีทางวิทยาศาสตร์ด้วย โดย A.M.Hammacher ได้ยกตัวอย่างจากผลงานของมากริต อย่างเช่นภาพ The False Mirror ที่แสดงให้เห็นถึงความจงใจที่จะลดทอนการทำงานตามธรรมชาติของลูกตา จุดที่น่าสังเกตก็คือ ลูกตานั้นไม่ได้มองมาที่ผู้ชม แต่นี่เป็นเพราะมากริตหลีกเลี่ยงการทำงานที่แท้จริงของลูกตา ซึ่งก็คือ การมองเห็น แต่กลับแสดงแค่การสะท้อนกลับของมันเท่านั้น คือการสะท้อนกลับของท้องฟ้าและก้อนเมฆที่อยู่ในส่วนกระจกตา หรืออย่างภาพ The Castle in the Pyrenees ที่มากริตพยายามจะหักล้างทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของโลก โดยสร้างสรรค์ออกมาเป็นปราสาทที่อยู่บนก้อนหินยักษ์ที่ลอยได้อย่างเหนือธรรมชาติ ซึ่งการวาดภาพของมากริตนั้น เป็นเหมือนกับการแสดงออกทางปรัชญาของขบวนการที่เขาเข้าร่วมอย่างเซอร์เรียลลิซึม

พิพิธภัณฑ์มากริต

[แก้]

พิพิธภัณฑ์มากริตได้ถูกเปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 2009 ตั้งอยู่ในโรงแรมแบบนีโอ-คลาสสิค 5 ชั้น ภายในได้ติดตั้งผลงานของมากริตกว่า 200 ชิ้น ทั้งภาพจิตรกรรม, ภาพวาดลายเส้น และประติมากรรม โดยสถานที่แห่งนี้เป็นพิพิธภัณฑ์ถาวร นั่นก็คือเป็นสถานที่ที่เก็บผลงานของมากริตที่ใหญ่ที่สุดและมากที่สุดจากการเก็บสะสมโดยภรรยาของมากริต (Georgette Magritte) และจากไอรีน แฮมัวร์ (Irene Hamoir) นอกจากนี้ทางพิพิธภัณฑ์ยังมีภาพถ่ายของเขาที่ทำการแสดงศิลปะในปีค.ศ. 1920 และหนังสั้นเซอร์เรียลลิซึมในปีค.ศ. 1956

อ้างอิง

[แก้]
  • René Magritte / text by A.M. Hammacher ; translated by James Brockway,New York : Harry N. Abrams, 1973.
  • Rene Magritte 1898-1967 : thought rendered visible / Marcel Paquet [English translation, Michael Claridge], Koln : Benedikt Taschen, 1994.
  • Magritte : the true art of painting / Harry Torczyner ; translated by Richard Miller ; with the collaboration of Bella Bessard, London : Thames and Hudson, 1979.