เรือหลวงรอแยลชาลส์ (ค.ศ. 1655)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรือ "เรือหลวง รอยัลชาร์ลส" ถูกยึดโดยกองทัพเรือดัตช์ที่เมดเวย์ (Medway) เดือนมิถุนายน ค.ศ. 1677
ประวัติ
อังกฤษ
ชื่อแนสบี (Naseby)
ตั้งชื่อตามพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ
อู่เรืออู่ปีเตอร์ เพท 2,วูลิช
เดินเรือแรกค.ศ. 1655
เปลี่ยนชื่อใหม่HMS Royal Charles, ค.ศ. 1660
เกียรติยศlist error: mixed text and list (help)
เข้าร่วมรบใน:
  • ยุทธนาวีโรโวสตอฟ
  • ยุทธนาวี 4 วัน
  • ยุทธนาวีวันเซนต์เจมส์
ถูกยึดมกราคม ค.ศ. 1667, โดย ดัตช์
ความเป็นไปนำไปประมูล,ใน ค.ศ. 1673 โดยราชนาวีดัตช์
ลักษณะเฉพาะ [1]
ชั้น: 80-gun first rate ship of the line
ความยาว: 131 ฟุต (5.5 เมตร)
ความลึกของระวางบรรทุก: 18 ฟุต (5.5 เมตร)
แผนแล่นเรือ: Full rigged ship
ยุทโธปกรณ์: ปืนใหญ่มีระยะยิงต่างๆ รวม 80 กระบอก

เรือหลวง รอแยลชาลส์ (อังกฤษ: Royal Charles) เป็นเรือรบบรรจุปืนใหญ่ 80 กระบอก ถูกออกแบบให้เป็นเรือรบลำดับที่หนึ่งในกระบวนรบแห่งราชนาวีอังกฤษ แต่เดิมทีเธอถูกตั้งชื่อว่า เนสบี สร้างโดย ปีเตอร์ พีตท์ [1]และถูกปล่อยลงน้ำที่อู่แห้งวูลวิชใน ค.ศ. 1655 [1]เพื่อใช้ประจำการในกองทัพเรือแห่งเครือจักรภพอังกฤษ[1] และถูกตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ชัยชนะเหนือพวกสนับสนุนราชวงศ์ของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ในสงครามกลางเมืองอังกฤษใน ค.ศ. 1645 เธอถูกสั่งต่อใน ค.ศ. 1654 ในฐานะหนึ่งในสี่เรือรบลำดับที่สอง ซึ่งมีความมุ่งหมายที่จะให้มีอัตราบรรจุปืน 60 กระบอก แต่ทว่าในระหว่างการก่อสร้าง เธอถูกปรับปรุงให้มีช่องยิงเต็มที่ตลอดด่านฟ้าเรือชั้นบน (เมื่อเทียบกับเรือรบในชั้นเดียวกันที่มีช่วงยิงเพียงบางส่วนซึ่งไม่มีช่องยิงบนด่านฟ้าชั้นนี้) และถูกปรับระดับให้เป็นเรือรบลำดับที่หนึ่ง

ด้วยการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษในมิถุนายน ปี ค.ศ. 1660 เรือถูกเปลี่ยนชื่อเป็น เรือหลวง รอแยลชาลส์ (HMS Royal Charles) และถูกใช้เป็นเรือพระที่นั่งนำเสด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 2 กลับอังกฤษใน ปี ค.ศ. 1660 โดยการบังคับการเรือโดย เซอร์ เอ็ดวาร์ด มอนตากู ภายใต้ชื่อใหม่ของเรือลำนี้ได้เข้าไปในราชนาวีอังกฤษ ซึ่งมาเป็นทางการใน ค.ศ. 1660

ด้วยระวางขับน้ำ 1229 ตัน เนสบี (ชื่อเดิมของเรือหลวง รอแยลชาลส์) จึงมีขนาดใหญ่กว่า โซเวอร์ริน ออฟ เดอะ ซีส์ เรือลำดับที่หนึ่งสามชั้น ซึ่งสร้างโดย ไพนเนส พีตท์ บิดาของปีเตอร์ แต่ที่ต่างจาก โซเวอร์ริน ออฟ เดอะ ซีส์ ก็คือ เนสบีได้เข้าประจำการเพียงสิบสองปีเท่านั้น

เรือลำนี้เข้าร่วมรบในสงครามอังกฤษ-เนเธอร์แลนด์ครั้งที่สอง โดยในปี ค.ศ. 1665 เธอเข้าร่วมรบในยุทธนาวีแห่งโรสตอฟ ภายใต้พระบรมราชโองการในจอมทัพเรือเจมส์ สจวต, ดยุคแห่งยอร์ค โดยมีเซอร์ วิลเลียม เพน เป็นผู้บังคับการเรือ ในระหว่าการสู้รบ เธอสามารถทำลายเรือธงของเนเธอร์แลนด์นาม เอ็นแดรช และใน ค.ศ. 1666 เธอได้เข้าร่วมรบอีกสองครั้งใน ยุทธนาวี 4 วันและยุทธนาวีวันเซนต์เจมส์

ค.ศ. 1667 สถานการณ์ในอังกฤษถูกกดดันด้วยการระดมยิงที่เม็ดเวย์ ซึ่งเนเธอร์แลนด์เข้าโจมตีแม่น้ำเทมส์และเม็ดเวย์ ในวันที่ 12 มิถุนายน และยึดเรือหลวง รอแยลชาลส์ ที่ไม่มีผู้บังคับการเอาไว้ได้[1] และส่งเธอไปยัง เฮลเลอร์ฟูลสลัช ในสาธารณรัฐดัตช์ ราชนาวีดัตช์มิได้นำเธอเข้าประจำการเนื่องจากเธอมีระวางกินน้ำที่ลึกเกินกว่าจะใช้งานตามแนวชายฝั่งนเธอร์แลนด์ได้ เธอประมูลขายในฐานะขยะใน ค.ศ. 1673

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Lavery, Ships of the Line vol.1, p160.