เรือส่งกำลังบำรุงแบบ 908

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพรวมชั้น
ผู้สร้าง: อู่ต่อเรือเคียร์ซอน, ติดตั้งใหม่ที่อู่ต่อเรือต้าเหลียน
ผู้ใช้งาน:
ก่อนหน้าโดย: แบบ 905
ตามหลังโดย: แบบ 903
ในประจำการ: ค.ศ. 1996–ปัจจุบัน
เสร็จแล้ว: 2 ลำ
ใช้การอยู่: 2 ลำ
ลักษณะเฉพาะ
ประเภท: เรือส่งกำลังบำรุง
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 37,000 ตัน
ความยาว: 188.9 ม. (619.8 ฟุต)
ความกว้าง: 25.33 ม. (83.1 ฟุต)
กินน้ำลึก: 10.41 ม. (34.2 ฟุต)
ระบบขับเคลื่อน:
  • 1 ดีเซลเบอร์มีสเตอร์ แอนด์ เวน 10,600 แรงม้า (7,904 กิโลวัตต์)
  • 1 เพลา
ความเร็ว: 16 นอต (30 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 18 ไมล์ต่อชั่วโมง)
อัตราเต็มที่: 125 นาย
อากาศยาน: เฮลิคอปเตอร์แซด-8 จำนวน 1 ลำ
อุปกรณ์สนับสนุนการบิน: โรงเก็บเครื่องบิน และดาดฟ้าขึ้นลงของเครื่องบิน

เรือส่งกำลังบำรุงแบบ 908 (ชื่อเรียกนาโต ชั้น-ฝูซู่ หรือที่เรียกว่าชั้น-หนานชาง) เป็นชั้นเรือเสบียงหลายผลิตภัณฑ์ ที่ประจำการในกองทัพเรือกองทัพปลดปล่อยประชาชน และกองทัพเรือไทย[1] โดยเรือส่งกำลังบำรุงแบบ 908 ลำแรกที่ชื่อชิงไห่หูเดิมได้รับการวางกระดูกงูสำหรับกองทัพเรือโซเวียตในฐานะเรือบรรทุกสินค้าชั้นโคมันดาร์นเฟดโก แต่การก่อสร้างหยุดชะงักเนื่องจากเงินไม่เพียงพอ จากนั้นจีนได้จัดซื้อเรือลำนี้ในฐานะเรือที่ไม่สมบูรณ์ใน ค.ศ. 1993 จากประเทศยูเครนหลังยุคโซเวียต เรือลำนี้มีเรือที่สร้างขึ้นรูปเดียวกัน (ไอเอ็นเอส เจียวติ) ซึ่งปฏิบัติการร่วมกับกองทัพเรืออินเดีย หลังจากที่ได้รับการปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญ เรือลำนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็นชิงไห่หู (885) โดยเดิมชื่อหนานชาง (หนานยุ่น 953) และอดีตวลาดีมีร์ เปเรกูดอฟ[2][3][4] ส่วนเรือที่คล้ายกันอีกลำได้รับการสร้างและขายให้แก่ประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันประจำการกองทัพเรือไทยในชื่อเรือหลวงสิมิลัน (871)

เรือเสบียงแบบ 908 เป็นเรือส่งกำลังบำรุงรุ่นที่สองของจีนที่ติดตั้งเครนทั้งหมดหกตัว, ตำแหน่งเติมน้ำมันสี่แห่ง และตำแหน่งเสบียงสองแห่ง สิ่งนี้ทำให้เรือสามารถส่งกำลังบำรุงเรือรบได้สามลำพร้อมกัน ทั้งนี้ เฮลิคอปเตอร์อำนวยความสะดวกจากเรือดังกล่าวสามารถส่งกำลังบำรุงเรือรบที่ปฏิบัติการในบริเวณใกล้เคียงผ่านการรับส่งสิ่งของกลางทะเลในทางดิ่ง (VERTREP)

ภูมิหลัง[แก้]

แบบ 908 เป็นขั้นตอนที่สองในการพัฒนาและก่อสร้างเรือส่งกำลังบำรุงของจีน แม้จะถือว่าประสบความสำเร็จค่อนข้างมาก แต่เรือเสบียงแบบ 905 ลำแรก (ชั้นฝูชิง) ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของกองทัพเรือกองทัพปลดปล่อยประชาชน (PLAN) ได้อย่างสมบูรณ์ ข้อเสียเปรียบหลักของเรือชั้นนี้คือส่วนใหญ่ใช้สำหรับเติมของเหลว เช่น เชื้อเพลิง และน้ำ เรือเหล่านี้ในขั้นแรกของการพัฒนาเรือส่งกำลังบำรุงของจีนสามารถเติมเสบียงแห้งที่จำกัดอย่างยิ่ง และแทบไม่สามารถเติม และไม่สามารถเติมอมภัณฑ์ได้ เนื่องจากอุตสาหกรรมของจีนในขณะนั้นขาดความสามารถในการให้มาตรการความปลอดภัยที่ดีสำหรับการเติมและจัดเก็บอมภัณฑ์ ร่วมกับเชื้อเพลิง นี่เป็นหนึ่งในสองข้อจำกัดหลักที่แม้ว่าเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1977 คณะกรรมาธิการการทหารส่วนกลางได้สั่งให้เริ่มการพัฒนาเรือกำลังบำรุงกองเรือที่สามารถเติมได้ในจุดเดียว (กล่าวคือสามารถเติมอมภัณฑ์, เชื้อเพลิง, น้ำ และเสบียงที่เป็นของแข็งร่วมกันโดยเรือลำเดียว ซึ่งเป็นแนวคิดที่ริเริ่มโดยกองทัพเรือสหรัฐ) โดยในที่สุดโครงการนี้ก็ถูกระงับ

ส่วนข้อจำกัดหลักอื่น ๆ คือข้อจำกัดด้านงบประมาณ เนื่องจากเศรษฐกิจจีนใกล้จะถึงจุดล่มสลาย อันเป็นผลมาจากการปฏิวัติทางวัฒนธรรม ในที่สุด เมื่อการปฏิรูปเศรษฐกิจในสาธารณรัฐประชาชนจีนใน ค.ศ. 1979 ทำให้เศรษฐกิจจีนดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ระยะที่สองของเรือส่งกำลังบำรุงกองเรือของจีนก็กลับมาดำเนินการอีกครั้งใน ค.ศ. 1988 หลังจากพักตัวราวหนึ่งทศวรรษ ซึ่งทางกองทัพเรือกองทัพปลดปล่อยประชาชนมีความคาดหวังอย่างมากสำหรับเรือชั้นใหม่: นอกเหนือจากส่งกำลังบำรุงแล้ว เรือใหม่ยังต้องสามารถทำหน้าที่เป็นเรือพยาบาลได้อีกด้วย อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เป็นไปตามความคาดหวังที่สูงของกองทัพเรือกองทัพปลดปล่อยประชาชน ต้นทุนจึงเพิ่มขึ้นหลายครั้ง เมื่อการออกแบบเสร็จสิ้น ราคาของเรือใหม่ที่เสนอนั้นเกินที่กองทัพเรือกองทัพปลดปล่อยประชาชนจะจ่ายได้ และโครงการนี้ก็ตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกยกเลิกอีกครั้ง

เรือหลวงสิมิลัน[แก้]

ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1993 จีนได้รับแจ้งจากรัฐบาลไทย โดยแจ้งความตั้งใจของอดีตผู้นำในการจัดซื้อเรือเรือส่งกำลังบำรุงสำหรับกองเรือบรรทุกอากาศยาน จีนได้ตัดสินใจเข้าร่วมการประมูล ท่ามกลางผู้ต่อเรือฝั่งตะวันตกอื่น ๆ เช่น อู่ต่อเรือเดเซแอนแอ็ส, ฟินกันตีเอรี, บาซัน, ฮุนได รวมทั้งดัตช์เชลเดอ และการออกแบบของจีนจะคล้ายกับอดีตเรือโซเวียตที่ดัดแปลงอย่างมาก โดยงานบนเรือทั้งสองลำจะดำเนินการพร้อมกัน หัวหน้านักออกแบบดั้งเดิมของเรือส่งกำลังบำรุงจีนภายในประเทศรุ่นที่สองที่ถูกยกเลิก เป็นนักวิชาการชื่อจาง เหวินเต๋อ (张文德) ซึ่งได้รับการเสนอชื่อให้เป็นหัวหน้านักออกแบบและผู้จัดการโครงการของโครงการดัดแปลงสำหรับกองทัพเรือจีน ก็ได้รับมอบหมายงานเพิ่มเติมเช่นกัน เนื่องจากหัวหน้าผู้ออกแบบเรือลำที่สองของจีนจะสร้างเพื่อส่งออกไปยังกองทัพเรือไทย ซึ่งจีนสามารถเอาชนะคู่แข่งฝั่งตะวันตกและชนะข้อตกลงของไทยได้

งานบนเรือที่สร้างขึ้นสำหรับกองทัพเรือไทยไปได้ด้วยดีและแล้วเสร็จในวันที่ 12 สิงหาคม ค.ศ. 1996 จาง เหวินเต๋อ หัวหน้านักออกแบบอยู่บนเรือเป็นการส่วนตัวเป็นเวลาสิบสองวันระหว่างการเดินทางมายังประเทศไทย โดยรวบรวมข้อมูลในช่วงเวลาสุดท้าย เพื่อที่จะช่วยในการออกแบบเรือส่งกำลังบำรุงรุ่นหลัง เมื่อใดก็ตามที่เป็นไปได้ จางได้ควบคุมเรือด้วยตนเอง รวมถึงเรดาร์, การจัดการเรือเล็กที่เรือดังกล่าวได้บรรทุก และงานอื่น ๆ เรือนี้ได้เข้าเข้าประจำการกองทัพเรือไทยอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1996 และได้รับการตั้งชื่อว่าเรือหลวงสิมิลัน (หมายเลขเรือ 871)

เรือหลวงสิมิลันคล้ายกับเรือที่สร้างขึ้นรูปเดียวกันกับที่ประจำการในประเทศจีนอย่างมาก ยกเว้นแต่มันจะใช้ตัวเรือจีน อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างที่สำคัญที่สุดคือการอัปเกรดความสามารถในการส่งกำลังบำรุง แม้ว่าจะสามารถส่งกำลังบำรุงที่เป็นของแข็งได้ แต่ความสามารถในการเติมเสบียงกระสุนยังค่อนข้างจำกัดสำหรับเรือรบจีน ซึ่งเรือไทยได้เอาชนะปัญหานี้ด้วยการเพิ่มความสามารถในการเติมเสบียงอาวุธยุทธภัณฑ์ แม้จะมีความแตกต่างระหว่างเรือสองลำ แต่เทคโนโลยีและส่วนประกอบส่วนใหญ่ โดยเฉพาะเทคโนโลยีหลักสำหรับเรือทั้งสองลำยังคงเหมือนเดิม และด้วยเหตุนี้ จีนจึงวางเรือหลวงสิมิลัน และเรือจีนชิงไห่หู (青海湖) ไว้ในชั้นเดียวกัน ซึ่งชั้นดังกล่าวในที่สุดจะพัฒนาเป็นเรือส่งกำลังบำรุงแบบ 903 (ชั้นฝูฉือ)

อ้างอิง[แก้]

  1. "Type 908 AOR". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-06-14. สืบค้นเมื่อ 2021-03-27.
  2. "Nancang Underway Replenishment Ship (AOR)". Globalsecurity.org. สืบค้นเมื่อ March 4, 2007.
  3. "NANCANG CLASS FLEET REPLENISHMENT SHIP". SinoDefence.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มีนาคม 20, 2007. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 4, 2007.
  4. "World Navies Today: Chinese Fleet Support & General Logistics Auxiliaries". World Navies Today. สืบค้นเมื่อ March 4, 2007.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]