เรือบรรทุกเครื่องบินรัสเซียอัดมีรัลคุซเนซอฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรือบรรทุกเครื่องบินอัดมีรัล คุซเนซอฟ ค.ศ. 2012
ประวัติ
โซเวียต / รัสเซีย
ชื่ออัดมีรัล โฟลตา โซเวียตโคกอร์ โซยูซา คุซเนซอฟ
ตั้งชื่อตามจอมพลเรือ นีโคไล เกราซีโมวิช คุซเนซอฟ
Ordered3 มีนาคม 1981
ปล่อยเรือ1 เมษายน 1982[1]
เดินเรือแรก6 ธันวาคม 1985
เข้าประจำการ25 ธันวาคม 1990
รหัสระบุ113
สถานะในประจำการ
ลักษณะเฉพาะ
ประเภท: เรือบรรทุกเครื่องบิน
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 43,000 ตัน (ระวางปกติ)
55,200 ตัน (เต็มระวาง)
61,390 ตัน (ระวางสูงสุด)
ความยาว: 305 เมตร (ตลอดลำ)
270 เมตร (แนวน้ำ)
ความกว้าง: 72 เมตร (ตลอดลำ)
35 เมตร (แนวน้ำ)
กินน้ำลึก: 10 เมตร[1]
ระบบพลังงาน:

เครื่องยนต์แรงดันไอน้ำขนาด 8 หม้อต้ม 4 เพลา 200,000 แรงม้า

  • เครื่องกำเนิดไฟฟ้าดีเซล 1,500 kW จำนวน 6 ชุด
  • เครื่องกำเนิดไฟฟ้าไอน้ำ 1,500 kW จำนวน 9 ชุด
ระบบขับเคลื่อน: 4 ใบจักร[1]
ความเร็ว: 29 นอต (54 กิโลเมตร/ชั่วโมง)[1]
พิสัยเชื้อเพลิง: 45 วัน[1]
ลูกเรือ: 1,690 นาย[1]
ยุทโธปกรณ์:
  • 8 × ปืน AK-630 AA (6×30 mm, 6,000 รอบ/นาที/กระบอก, 24,000 รอบ)
  • 8 ระบบป้องกันระยะประชิด CADS-N-1 Kashtan (each 2 × 30 mm Gatling AA plus 32 3K87 Kortik SAM)
  • 12 ระบบขีปนาวุธเรือสู่เรือ P-700 Granit
  • 24 ระบบขีปนาวุธเรือสู่อากาศ 8-cell 3K95 Kinzhal VLS (192 ; 1 ลูกต่อ 3 วินาที)
  • ฐานปล่อยจรวด RBU-12000 UDAV-1 ASW
อากาศยาน:

อากาศยานปีกตรึง:

  • Su-33 - 14 ลำ
  • MiG-29 - 24 ลำ[2]
  • Su-25UTG/UBP - 4 ลำ

อากาศยานปีกหมุน:

  • ฮ. Ka-27LD32 - 4 ลำ
  • ฮ. Ka-27PL - 11 ลำ
  • ฮ. Ka-27PS - 2 ลำ

อัดมีรัล โฟลตา โซเวียตโคกอร์ โซยูซา คุซเนซอฟ (รัสเซีย: Адмира́л фло́та Сове́тского Сою́за Кузнецо́в) เป็นเรือลาดตระเวนบรรทุกเครื่องบินของสหภาพโซเวียตและประเทศรัสเซีย ในปัจจุบันมีสถานะเป็นเรือธงของกองทัพเรือรัสเซีย ถูกต่อขึ้นที่อู่ต่อเรือทะเลดำในยูเครนสมัยยังเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต ในตอนแรกเรือลำนี้จะถูกตั้งชื่อว่า ริกา ต่อมาเมื่อวางกระดูกงูจึงเปลี่ยนเป็นชื่อ เลโอนิด เบรจเนฟ เมื่อปล่อยลงน้ำและทดสอบเรือใช้ชื่อว่า ทบิลิซี ก่อนที่สุดท้ายจะมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า คุซเนซอฟ[3] โดยตั้งชื่อตามจอมพลเรือ นีโคไล เกราซีโมวิช คุซเนซอฟ ผู้บัญชาการทหารเรือแห่งสหภาพโซเวียต

เริ่มเข้าประจำการในกองทัพเรือโซเวียต และถูกวางให้เป็นเรือนำในชั้นเรือเดียวกัน แต่เรืออีกลำในชั้นเรือเดียวกันคือเรือบรรทุกเครื่องบินวาร์ยักนั้นกลับสร้างไม่เสร็จและตกเป็นสมบัติของรัฐบาลยูเครน ซึ่งต่อมาประเทศจีนได้ซื้อเรือวาร์ยักนี้ไปสร้างต่อจนแล้วเสร็จและเข้าประจำการในชื่อ เหลียวหนิง

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Yu.B. Apalkov, Korabli VMF SSSR, Tom 2, Udarnye Korabli, Galeya Print, Sankt Peterburg, 2003
  2. http://flotprom.ru/news/index.php?ELEMENT_ID=170929
  3. Sovetskii Avianostsy, S.Balakin & V.Zablotskiy, Moscow 2007

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]