เรือนจำอะบูฆุร็อยบ์

พิกัด: 33°17′33″N 44°03′54″E / 33.2925°N 44.0650°E / 33.2925; 44.0650
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

33°17′33″N 44°03′54″E / 33.2925°N 44.0650°E / 33.2925; 44.0650

ห้องขังในเรือนจำ

เรือนจำอะบูฆุร็อยบ์ (อาหรับ: سجن أبو غريب) เป็นเรือนจำในอะบูฆุร็อยบ์ ประเทศอิรัก ตั้งอยู่ห่างจากแบกแดดไปทางทิศตะวันตก 32 กิโลเมตร เรือนจำนี้เคยเปิดดำเนินการในคริสต์ทศวรรษ 1950 และเป็นเรือนจำความมั่นคงสูงสุดที่มีการทรมาน การประหารชีวิตรายสัปดาห์ และสภาพแวดล้อมอันโหดร้าย ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1980 เรือนจำนี้ถูกซัดดัม ฮุสเซน และกองทัพสหรัฐในเวลาต่อมาใช้ควบคุมนักโทษทางการเมือง และเรือนจำนี้เป็นที่รู้จักกันในเรื่องการทรมานและวิสามัญฆาตกรรมก่อนจะถูกปิดใน ค.ศ. 2014

อะบูฆุร็อยบ์ได้รับความสนใจจากนานาชาติใน ค.ศ. 2003 หลังการบุกครองอิรัก เมื่อมีการเปิดโปงเรื่องอื้อฉาวจากการทรมานและทำร้ายนักโทษโดยผู้คุมในเรือนจำส่วนที่กองกำลังผสมที่นำโดยสหรัฐเป็นผู้ดำเนินการ ผู้สอบสวนชาวอิสราเอลก็อยู่ในอิรักร่วมกับกองกำลังผสม เพราะพวกเขาพูดภาษาอาหรับได้[1][2]

ใน ค.ศ. 2006 สหรัฐได้ถ่ายโอนอำนาจควบคุมอะบูฆุร็อยบ์ทั้งหมดให้แก่รัฐบาลกลางอิรัก อะบูฆุร็อยบ์เปิดตัวใหม่ใน ค.ศ. 2009 ในชื่อ เรือนจำกลางแบกแดด (سجن بغداد المركزي) แต่ก็ถูกปิดตัวใน ค.ศ. 2014 เนื่องจากความกังวลในด้านความปลอดภัยจากสงครามกลางเมืองอิรัก ในปัจจุบัน เรือนจำนี้ยังคงว่างเปล่า และมีการค้นพบสุสานหมู่ในสมัยซัดดัมที่นี่

ผู้ต้องขังคนสำคัญ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. http://news.bbc.co.uk/2/hi/middle_east/3863235.stm
  2. https://www.democracynow.org/2016/4/7/ex_abu_ghraib_interrogator_israelis_trained
  3. Eaton, Joshua (25 August 2017). "U.S. Military Now Says ISIS Leader Was Held in Notorious Abu Ghraib Prison". The Intercept_. สืบค้นเมื่อ 27 February 2018.
  4. Leader (18 March 1990). "Farzad Bazoft". The Observer. London. สืบค้นเมื่อ 3 September 2011.
  5. Tucker, Michael (2007-02-20). "My Prisoner, My Brother". Vanity Fair. สืบค้นเมื่อ 2008-06-11.
  6. Risling, Greg (May 7, 2008). "Iraqi alleges Abu Ghraib torture, sues US contractors". The Seattle Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-06-04. สืบค้นเมื่อ 2010-02-11.
  7. Hettena, Seth (17 February 2005). "Reports detail Abu Ghraib prison death; was it torture?". Associated Press. สืบค้นเมื่อ 23 June 2009.
  8. "Source: al Qaeda leader urged affiliate to 'do something'". CNN. 5 August 2013. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-22. สืบค้นเมื่อ 21 October 2014.
  9. "2 U.S. Wives Quitting Iraq". 11 May 1995 – โดยทาง NYTimes.com.
  10. "Detainees Abused?". CNN. สืบค้นเมื่อ 6 June 2014.
  11. "Gulf War ex-POW: Abuse claims horrifying". CNN. 3 May 2004. สืบค้นเมื่อ 27 February 2018.
  12. Bunden, Mark (10 November 2017). "I don't bear my Iraqi captors ill will, says Gulf War RAF hero". Evening Standard. London. สืบค้นเมื่อ 27 February 2018.
  13. Nichol, John (2 May 2004). "I was left bloody and bruised. Now we've become the torturers". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 27 February 2018.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]