เรือดำน้ำชั้นเวอร์จิเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ยูเอสเอส เวอร์จิเนีย แล่นในเดือนกรกฏาคม ค.ศ. 2004
โปรไฟล์เอสเอสเอ็นชั้นเวอร์จิเนีย
ภาพรวมชั้น
ผู้สร้าง:
ผู้ใช้งาน: Naval flag of สหรัฐ กองทัพเรือสหรัฐ
ก่อนหน้าโดย: ชั้นซีวูล์ฟ
ราคา:

2.8 พันล้านดอลลาร์ต่อหน่วย[1]

3.4 พันล้านดอลลาร์ต่อหน่วย ระบบอาวุธเวอร์จิเนียเพย์โหลดมอดูล[1]
สร้างเมื่อ: ค.ศ. 2000–ปัจจุบัน
ในประจำการ: ค.ศ. 2004–ปัจจุบัน
วางแผน: 66 ลำ[1]
อยู่ในระหว่างสั่งซื้อ: 8 ลำ
กำลังสร้าง: 11 ลำ
เสร็จแล้ว: 19 ลำ
ยกเลิก: 0 ลำ
ใช้การอยู่: 19 ลำ
ลักษณะเฉพาะ
ประเภท: เรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์
ขนาด (ระวางขับน้ำ): ดำน้ำ: 7,900 เมตริกตัน (8,700 ช็อตตัน)
ความยาว: 377 ฟุต (115 ม.)
ความกว้าง: 34 ฟุต (10 ม.)
ระบบขับเคลื่อน: ปฏิกรณ์เอส9จี 40,000 แรงม้าเพลา (30 เมกะวัตต์)
ความเร็ว: 25 นอต (46 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 29 ไมล์ต่อชั่วโมง) หรือมากกว่า[2]
พิสัยเชื้อเพลิง: ไม่จำกัด
พิสัยปฏิบัติการ: จำกัดเฉพาะตามข้อกำหนดด้านอาหารและการบำรุงรักษา
ทดสอบความลึก: กว่า 800 ฟุต (240 ม.)
อัตราเต็มที่: 135 นาย (ทหารชั้นสัญญาบัตร 15 นาย; เกณฑ์ทหาร 120 นาย)
ยุทโธปกรณ์:

ชั้นเวอร์จิเนีย (อังกฤษ: Virginia class) หรือที่เรียกว่า ชั้นเอสเอสเอ็น-774 (อังกฤษ: SSN-774 class) เป็นชั้นของเรือดำน้ำโจมตีเร็วขีปนาวุธร่อนพลังงานนิวเคลียร์ในราชการทหารปัจจุบันของกองทัพเรือสหรัฐ ออกแบบโดยอิเล็กทริกโบต (EB) ของเจเนอรัลไดนามิกส์ และฮันติงตันอินกอลส์อินดัสทรีส์ เรือดำน้ำชั้นเวอร์จิเนียเป็นแพลตฟอร์มการสงครามใต้ทะเลล่าสุดของกองทัพเรืออเมริกัน ซึ่งรวมเอาสิ่งล่าสุดในพฤติการณ์ลับ, การรวบรวมข่าวกรอง และเทคโนโลยีระบบอาวุธ[5][6]

เรือดำน้ำชั้นเวอร์จิเนียได้รับการออกแบบมาสำหรับภารกิจในมหาสมุทรเปิดและบริเวณฝั่งในวงกว้าง รวมถึงการปฏิบัติการต่อต้านเรือดำน้ำ และการรวบรวมข่าวกรอง พวกมันมีกำหนดการแทนที่เรือดำน้ำชั้นลอสแอนเจลิสรุ่นเก่า ซึ่งหลายลำถูกปลดประจำการแล้ว เรือดำน้ำชั้นเวอร์จิเนียจะได้รับผ่าน ค.ศ. 2043 และคาดว่าจะยังอยู่ในราชการจนถึง ค.ศ. 2060 เป็นอย่างน้อย โดยเรือดำน้ำรุ่นต่อมาคาดว่าจะอยู่ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 2070[7][8]

ประวัติ[แก้]

ภาพจำลองเรือดำนํ้าโจมตีชั้นเวอร์จิเนีย

เรือดำน้ำชั้นนี้ได้รับการพัฒนาภายใต้ชื่อรหัสเซนจูเรียน ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นนิวเอสเอสเอ็น (NSSN)[9][10] ซึ่ง "การศึกษาเซนจูเรียน" เริ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1991[11] เรือดำน้ำชั้นเวอร์จิเนียเป็นเรือรบของกองทัพเรือสหรัฐลำแรกที่มีการพัฒนาร่วมกันโดยใช้เทคโนโลยีการแสดงภาพ 3 มิติ เช่น คาเทีย ซึ่งประกอบด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยงานด้านวิศวกรรม (CAE), การออกแบบ (CAD), การผลิต (CAM) และการจัดการวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ (PLM) ทั้งนี้ ปัญหาการออกแบบสำหรับบริษัทอิเล็กทริกโบต – และปัญหาการบำรุงรักษาสำหรับกองทัพเรือ – ยังคงเกิดขึ้น[12][13][14]

ใน ค.ศ. 2007 ใช้เวลาประมาณ 35 ล้านชั่วโมงแรงงานในการออกแบบเวอร์จิเนีย[15] การสร้างเรือดำน้ำชั้นเวอร์จิเนียเพียงลำเดียวต้องใช้เวลาแรงงานประมาณเก้าล้านชั่วโมง[14][16][17] และซัพพลายเออร์กว่า 4,000 ราย[18] ซึ่งเรือดำน้ำแต่ละลำมีกำหนดกรีธาพล 14–15 ครั้ง ตลอดอายุการใช้งาน 33 ปี[19]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "Navy Virginia (SSN-774) Class Attack Submarine Procurement: Background and Issues for Congress" (PDF). Congressional Research Service. 29 June 2018. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 9 July 2018. สืบค้นเมื่อ 16 July 2018.
  2. "NSSN Virginia Class Attack Submarine". naval-technology. 15 June 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 April 2015. สืบค้นเมื่อ 26 April 2015.[แหล่งอ้างอิงอาจไม่น่าเชื่อถือ]
  3. "An Analysis of the Navy's Fiscal Year 2013 Shipbuilding Plan" (PDF). Congressional Budget Office. July 2012. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2015. สืบค้นเมื่อ 26 April 2015.
  4. O'Rouke, Ronald (17 May 2017). "Navy Virginia (SSN-774) Class Attack Submarine Procurement: Background and Issues for Congress" (PDF). Congressional Research Service. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 15 May 2017. สืบค้นเมื่อ 6 July 2017 – โดยทาง Federation of American Scientists.
  5. "History of Ships Named For The State of North Carolina - Battleships NC". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 January 2018. สืบค้นเมื่อ 8 January 2018.
  6. "Submarine surge: Why the Navy plans 32 new attack subs by 2034". Warrior Maven (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2019-03-28. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 March 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-03-28.
  7. Osborn, Kris (12 February 2014). "Navy Considers Future After Virginia-class Subs". Defensetech.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 January 2015. สืบค้นเมื่อ 26 April 2015.
  8. Thompson, Loren (6 May 2014). "Five Reasons Virginia-Class Subs Are the Face of Future Warfare". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 March 2015. สืบค้นเมื่อ 26 April 2015.
  9. "General Dynamics Electric Boat - History". gdeb.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 October 2017. สืบค้นเมื่อ 21 October 2017.
  10. "SSN-774 Virginia class". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 September 2013. สืบค้นเมื่อ 23 November 2012.
  11. "Navy Report on New Attack Submarine (Senate - July 21, 1992)". Federation of American Scientists. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 May 2015. สืบค้นเมื่อ 26 April 2015.
  12. Schank, John F.; Ip, Cesse; Lacroix, Frank W.; Murphy, Robert E.; Arena, Mark V.; Kamarck, Kristy N.; Lee, Gordon T. (2011). "RAND Corporation-Virginia Case Study". Learning from Experience: 61–92. ISBN 9780833058966. JSTOR 10.7249/j.ctt3fh0zm.13.
  13. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ USW W99
  14. 14.0 14.1 "Submarine Industrial Base Council". Submarinesuppliers.org. 22 December 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 January 2012. สืบค้นเมื่อ 6 February 2013.
  15. Schank, John F.; Arena, Mark V.; DeLuca, Paul; Riposo, Jessie; Curry, Kimberly; Weeks, Todd; Chiesa, James (2007). Sustaining U.S. Nuclear Submarine Design Capabilities (PDF). National Defense Research Institute. ISBN 978-0-8330-4160-9. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 8 December 2014. สืบค้นเมื่อ 26 April 2015.
  16. "Naval Submarine League". Navalsubleague.com. 27 September 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 June 2014. สืบค้นเมื่อ 26 April 2015.
  17. [1] เก็บถาวร 13 พฤศจิกายน 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  18. Roberts, Jim (Winter 2011). "Double Vision: Planning to Increase Virginia-Class Production". Undersea Warfare. US Navy (43). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 23 September 2015. สืบค้นเมื่อ 26 April 2015.
  19. Butler, John D., RAdm (ret) (June 2011). "The Sweet Smell of Acquisition Success". Proceedings. U.S. Naval Institute. 137 (6/1, 300). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 18 July 2015. สืบค้นเมื่อ 26 April 2015.

อ่านเพิ่ม[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]