ข้ามไปเนื้อหา

เรือควีนเอลิซาเบธ 2

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ควีนเอลิซาเบธ 2 ในฐานะโรงแรมลอยน้ำในดูไบ ในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2020
ประวัติ
ชื่อควีนเอลิซาเบธ 2
เจ้าของ
ผู้ให้บริการ
ท่าเรือจดทะเบียน
เส้นทางเดินเรือแอตแลนติกเหนือและเรือสำราญระหว่างให้บริการกับคูนาร์ด
Ordered1964
อู่เรือจอห์นบราวน์แอนด์คอมปานี (อู่ต่อเรืออัปเปอร์ไคลด์), ไคลด์แบงก์, สกอตแลนด์
มูลค่าสร้าง29,091,000 ปอนด์สเตอร์ลิง
Yard number736
ปล่อยเรือ5 กรกฎาคม 1965
เดินเรือแรก20 กันยายน 1967 โดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 2
สร้างเสร็จ26 พฤศจิกายน 1968 (ผ่านการทดสอบทางทะเลแล้ว)
Maiden voyage2 พฤษภาคม 1969
บริการ1969–2008
หยุดให้บริการ27 พฤศจิกายน 2008
รหัสระบุ
สถานะโรงแรมลอยน้ำและพิพิธภัณฑ์ที่ท่าเรือเราะชีด ดูไบ
ลักษณะเฉพาะ
ขนาด (ตัน):
  • (1968): 65,863 ตันกรอส, 37,218 ตันเนต[2]
  • (1994): 70,327 ตันกรอส, 37,182 ตันเนต
ขนาด (ระวางขับน้ำ): 49,738[3]
ความยาว: 963 ฟุต (293.5 เมตร)
ความกว้าง: 105 ฟุต (32.0 เมตร)
ความสูง: 171 ฟุต (52.1 เมตร)
กินน้ำลึก: 32 ฟุต (9.8 เมตร)
ดาดฟ้า: 10
ระบบพลังงาน:
  • 3 × หม้อไอน้ำ Foster Wheeler ESD II (ดั้งเดิม)
  • 9 × MAN B&W 9L58/64 (ปรับปรุงในปี 1987)
ระบบขับเคลื่อน:
  • 2 × กังหันไอน้ำบราวน์-เพเมทราดา (ดั้งเดิม)
  • 2 × มอเตอร์ขับเคลื่อน GEC (2 × 44 เมกะวัตต์) (ปรับปรุงในปี 1987)
  • 2 × ใบจักรแบบปรับมุมได้ 5 พวง (หลังเปลี่ยนเครื่องยนต์)
  • ความเร็ว:
  • สูงสุด 34 นอต (63 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 39 ไมล์ต่อชั่วโมง)
  • บริการ 28.5 นอต (52.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 32.8 ไมล์ต่อชั่วโมง)
  • ถอยหลัง 20 นอต (37 กิโลเมตรต่อชั่วโมง; 23 ไมล์ต่อชั่วโมง)
  • ความจุ:
  • ผู้โดยสาร 1,777 คน
  • ผู้โดยสาร 1,892 คน (ทุกเตียง)
  • ลูกเรือ: 1,040

    ควีนเอลิซาเบธ 2 (อังกฤษ: Queen Elizabeth 2 หรือ QE2) เป็นเรือโดยสารสัญชาติบริติชปลดระวางและถูกดัดแปลงเป็นโรงแรมลอยน้ำ เดิมสร้างขึ้นให้กับบริษัทคูนาร์ดไลน์ และให้บริการโดยคูนาร์ดทั้งในฐานะเรือโดยสารข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกและเรือสำราญตั้งแต่ ค.ศ. 1969 ถึง 2008 จากนั้นได้ถูกจอดเก็บไว้กระทั่งมีการดัดแปลง และนับตั้งแต่วันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 2018 ก็ได้ทำหน้าที่เป็นโรงแรมลอยน้ำในดูไบ[4]

    ควีนเอลิซาเบธ 2 ถูกออกแบบมาเพื่อให้บริการข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกจากท่าเรือต้นทางที่เซาแทมป์ตัน ประเทศอังกฤษ ไปยังนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา[5] ทำหน้าที่เป็นเรือธงของบริษัทตั้งแต่ ค.ศ. 1969 ถึง 2004 ก่อนที่อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี 2 จะมาทำหน้าที่แทน เรือลำนี้ได้รับการออกแบบโดยสำนักงานของคูนาร์ดในลิเวอร์พูลและเซาแทมป์ตัน และถูกสร้างขึ้นในไคลด์แบงก์ ประเทศสกอตแลนด์ เรือลำนี้เคยถูกมองว่าเป็นเรือเดินสมุทรลำสุดท้ายกระทั่งคูนาร์ดไลน์ได้ประกาศ "โครงการเจเนซิส" (Project Genesis) ใน ค.ศ. 1995 หลังมิกกี แอริสัน ประธานบริษัทคาร์นิวัล และคาร์นิวัล ยูเค (Carnival UK) เข้าซื้อกิจการของคูนาร์ด โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชีวิตใหม่แก่ตำนานเรือเดินสมุทร และใน ค.ศ. 1998 คูนาร์ดก็ได้เปิดเผยชื่อเรือลำใหม่ นั่นคือ อาร์เอ็มเอส ควีนแมรี 2 (RMS Queen Mary 2)

    ควีนเอลิซาเบธ 2 ได้รับการปรับปรุงใหม่โดยติดตั้งเครื่องยนต์ดีเซลสมัยใหม่ใน ค.ศ. 1986–87 เรือลำนี้ทำการเดินทางรอบโลกเป็นประจำเกือบ 40 ปี และต่อมาได้ให้บริการส่วนใหญ่ในฐานะเรือสำราญ โดยออกเดินทางจากเซาแทมป์ตัน ประเทศอังกฤษ ควีนเอลิซาเบธ 2 ไม่มีเรือคู่วิ่งและไม่เคยให้บริการเรือด่วนข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกรายสัปดาห์ตลอดทั้งปีไปยังนิวยอร์ก กระนั้น เรือลำนี้ก็ยังคงสืบทอดประเพณีของคูนาร์ดในการเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกตามตารางเวลาตลอดอายุใช้งาน

    ควีนอลิซาเบธ 2 เกษียณจากการให้บริการกับคูนาร์ดในวันที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 2008 และถูกซื้อโดยหน่วยงานทุนเอกชนของดูไบเวิลด์ ซึ่งมีแผนดัดแปลงเรือลำนี้ให้เป็นโรงแรมลอยน้ำขนาด 500 ห้องจอดเทียบท่าอยู่ที่ปาล์มอัลญุมัยเราะฮ์ ดูไบ[6][7] อย่างไรก็ตาม วิกฤตการณ์การเงิน ค.ศ. 2007 ทำให้เรือลำดังกล่าวต้องถูกจอดไว้ที่อู่แห้งดูไบ และต่อมาที่ท่าเรือเราะชีด[8] เมื่อเริ่มต้นชีวิตใหม่ในฐานะโรงแรมลอยน้ำที่ท่าเรือเราะชีด ในช่วงเวลาดังกล่าว เรือได้เดินทาง 1,400 เที่ยวเป็นระยะทางกว่า 6 ล้านไมล์ทะเล ขณะเดียวกันก็ขนส่งผู้โดยสารรวมกว่า 2.5 ล้านคนในการเดินทางรอบโลก 25 เที่ยว[9] ต่อมามีการประกาศแผนการดัดแปลงเรือใน ค.ศ. 2012[10] และอีกครั้งโดยกลุ่มโอเชียนิกใน ค.ศ. 2013 แต่ทั้งสองแผนก็ล้มเลิกไป[11] ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2015 นิตยสาร Cruise Arabia & Africa ได้อ้างคำพูดของสุลต่าน อาฮ์เมท บิน สุลาเยม ประธานบริษัทดีพีเวิลด์ (DP World) ที่กล่าวว่าควีนเอลิซาเบธ 2 จะไม่ถูกนำไปแยกชิ้นส่วน[12] และในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2017 บริษัทก่อสร้างแห่งหนึ่งในดูไบได้ประกาศว่าได้รับการว่าจ้างให้ปรับปรุงเรือลำนี้[13] ควีนเอลิซาเบธ 2 ที่ผ่านการบูรณะเปิดให้เข้าชมเป็นครั้งแรกในวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 2018[14] แต่เป็นการเปิดบางส่วน

    การพัฒนา

    [แก้]
    ตัวเรือ QE2 ที่หมายเลข 736 บนทางลาดลงน้ำ (ค.ศ. 1967)

    ใน ค.ศ. 1957 การเดินทางทางทะเลข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกเริ่มถูกแทนที่ด้วยการเดินทางโดยเครื่องบินเพราะความรวดเร็วและต้นทุนสัมพันธ์ที่ต่ำ โดยจำนวนผู้โดยสารแบ่งออกเป็น 50:50[15] ด้วยเครื่องบินไอพ่นที่สามารถบินข้ามมหาสมุทรได้อย่างต่อเนื่องเข้ามาแทนที่เครื่องบินใบพัด และการเปิดตัวเครื่องบินโบอิง 707 และดักลาส ดีซี-8 ใน ค.ศ. 1958 ทำให้กระแสนี้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว[16] เวลาเดียวกัน ควีนแมรีและควีนเอลิซาเบธที่เก่าแก่ก็มีค่าดำเนินงานสูงขึ้นเรื่อย ๆ และทั้งภายในกับภายนอกก็ล้วนเป็นสิ่งที่เหลืออยู่จากสมัยก่อนสงคราม

    แม้รายได้จากผู้โดยสารจะลดลง แต่คูนาร์ดก็ไม่ต้องการทิ้งบทบาทดั้งเดิมของตนในฐานะผู้ให้บริการผู้โดยสารบนแอตแลนติกเหนือและบริษัทโรยัลเมลแคเรียร์ (Royal Mail Carrier) จึงตัดสินใจที่จะแทนที่เรือควีนที่ล้าสมัยด้วยเรือโดยสารรุ่นใหม่[17]

    เมื่อครั้งยังเป็นโครงการ Q3 เรือลำนี้ถูกคาดหมายว่าจะมีขนาด 75,000 ตันกรอส บรรทุกผู้โดยสารได้ 2,270 คน และค่าใช้จ่ายราว 30 ล้านปอนด์[16][18]

    งานได้ดำเนินไปถึงขั้นการเตรียมข้อเสนอจากอู่ต่อเรือหกแห่งและการยื่นขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากรัฐบาลสำหรับการสร้างเมื่อความกังวลในหมู่ผู้บริหารและกรรมการบางคน ประกอบกับการต่อต้านของผู้ถือหุ้น นำไปสู่การประเมินผลประโยชน์ของโครงการอีกครั้ง และท้ายที่สุดก็ถูกยกเลิกในวันที่ 19 ตุลาคม ค.ศ. 1961[16][19]

    คูนาร์ดตัดสินใจเดินหน้าแผนการจัดหาเรือลำใหม่ต่อไปแต่ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินงานและการออกแบบให้มีความยืดหยุ่นมากขึ้น เมื่อตระหนักถึงความเสื่อมถอยของการค้าข้ามแอตแลนติก จึงมีการวาดภาพว่าเรือ "ควีน" ลำใหม่นี้จะเป็นเรือเอนกประสงค์ 3 ชั้นโดยสาร ได้แก่ ชั้นหนึ่ง ชั้นโดยสาร และชั้นท่องเที่ยว เพื่อให้บริการเป็นเวลา 8 เดือนต่อปีบนเส้นทางข้ามแอตแลนติก จากนั้นจะใช้เป็นเรือสำราญในสภาพอากาศอบอุ่นและในช่วงฤดูหนาว[16][20]

    เมื่อเทียบกับเรือรุ่นก่อนที่มีห้องเครื่องสองห้องและใบจักรสี่เพลา เรือ Q4 ที่ได้รับการออกแบบใหม่จะมีขนาดเล็กกว่ามาก โดยมีห้องหม้อไอน้ำหนึ่งห้อง ห้องเครื่องหนึ่งห้อง และใบจักรสองเพลา ซึ่งเมื่อรวมกับการนำระบบอัตโนมัติมาใช้จะทำให้จำนวนเจ้าหน้าที่ฝ่ายวิศวกรรมลดลง[21] เรือลำใหม่นี้ผลิตกำลังเครื่องยนต์ได้ 110,000 shp และมีความเร็วให้บริการเท่ากับเรือรุ่นก่อนที่ 28.5 นอต (52.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง) ขณะเดียวกันก็บริโภคเชื้อเพลิงเพียงครึ่งเดียว คาดว่าการลดลงเหลือ 520 ตันต่อวัน [22] จะช่วยให้คูนาร์ดประหยัดเงินได้ 1 ล้านปอนด์ต่อปี[21] เรือสามารถแล่นผ่านคลองปานามาและคลองสุเอซได้ โดยมีระยะกินน้ำลึก 7 ฟุต (2.1 เมตร) ที่ 32 ฟุต (9.8 เมตร) ช่วยให้เรือเข้าเทียบท่าเรือที่มีขนาดเล็กและจำนวนมากกว่าเรือรุ่นก่อน โดยเฉพาะในน่านน้ำเขตร้อน[17]

    การออกแบบ

    [แก้]

    การสร้าง

    [แก้]

    ประจำการ

    [แก้]

    โรงแรมและสถานที่ท่องเที่ยว

    [แก้]

    ดูเพิ่ม

    [แก้]

    อ้างอิง

    [แก้]
    1. Rouquayrol, Gautier (9 May 2022). "Accor adds legendary Queen Elizabeth 2 to its portfolio in Dubai" (Press release). Paris: Accor – Newsroom.
    2. Frame, Chris (2024), QE2 Facts
    3. Maritime Information Exchange, search for Queen Elizabeth 2
    4. Frame, Chris (10 April 2018). "QE2 reopens as a Hotel in Dubai on 18 April after 9 ½ years of retirement". Tumblr. สืบค้นเมื่อ 15 September 2022.
    5. Frame, Chris (2 May 2019). "QE2 50th Anniversary". Tumblr. สืบค้นเมื่อ 15 September 2022.
    6. Fitch, Asa (19 January 2013). "QE II Ocean Liner Heads to Asia to Become Floating Hotel". Zawya.
    7. "QE2 To Leave Cunard Fleet And Be Sold To Dubai World To Begin A New Life at the Palm". Cunard.com. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 July 2007. สืบค้นเมื่อ 20 June 2007.
    8. Morris, Hugh (13 January 2016). "'Forlorn' QE2 is not coming home from Dubai, campaigners concede". Telegraph Media Group. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 January 2022. สืบค้นเมื่อ 18 January 2016.
    9. "Queen Elizabeth 2 (QE2) turns 50 in Dubai, its longevity is testimony to resilience and reinvention". gulfnews.com (ภาษาอังกฤษ). 2019-05-01. สืบค้นเมื่อ 2024-09-26.
    10. "Cruise liner Queen Elizabeth 2 to be converted into hotel". HT Media Limited. 3 July 2012. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 September 2015. สืบค้นเมื่อ 29 August 2015.
    11. "New home for Queen Elizabeth 2". CNN International. 18 January 2013. สืบค้นเมื่อ 18 January 2016.
    12. "There is a new plan for former Cunard liner QE2 – she will not be scrapped insists DP World Chairman" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 10 November 2015. สืบค้นเมื่อ 2018-02-06.
    13. "Queen Elizabeth 2 – Refurbishment Works" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). Shafa Al Nahda. สืบค้นเมื่อ 2018-02-06.
    14. "Queen Mary 2 Guests to be First to Board the QE2 Hotel in Dubai".
    15. Glen. Page 296.
    16. 16.0 16.1 16.2 16.3 Payne. Page 31.
    17. 17.0 17.1 "QE2 Facts". Chris' Cunard Page. 2010. สืบค้นเมื่อ 13 May 2010.
    18. "A new Cunard Liner". University of Glasgow. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 February 2018. สืบค้นเมื่อ 5 September 2022.
    19. Cross.
    20. "Queen Elizabeth 2: History". Members.tripod.com. สืบค้นเมื่อ 5 September 2022.
    21. 21.0 21.1 Payne. Page 32.
    22. Glen. Page 303.