เราะชีด-อัล-ดิน-ฮามาดานี
เราะชีด-อัล-ดิน-ฮามาดานี رشیدالدین طبیب | |
---|---|
เกิด | ค.ศ. 1247 |
เสียชีวิต | ค.ศ. 1318 |
สัญชาติ | เปอร์เชีย |
อาชีพ | แพทย์ |
ผลงานเด่น | “Jami al-Tawarikh” (บทรวมพงศาวดาร) |
แบบแผนการกล่าวถึง | นักเขียน นักประวัติศาสตร์ |
ตำแหน่ง | แพทย์ |
แพทย์ - นักเขียน |
เราะชีด-อัล-ดิน-ฮามาดานี หรือ เราะชีด-อัล-ดิน (เปอร์เซีย: رشیدالدین طبیب หรือ رشیدالدین فضلالله همدانی อังกฤษ: Rashid-al-Din Hamadani หรือ Rashid al-Din Tabib หรือ Rashid ad-Din Fadhlullah Hamadani) (ค.ศ. 1247 – ค.ศ. 1318) เป็นแพทย์ชาวเปอร์เชีย[1] ที่มีเชื้อสายยิว เราะชีด-อัล-ดินเป็นนักเขียนผู้รู้รอบด้าน และนักประวัติศาสตร์ผู้เขียนตำราประวัติศาสตร์อิสลามเล่มสำคัญชื่อ “Jami al-Tawarikh” (บทรวมพงศาวดาร) เป็นภาษาเปอร์เซีย ซึ่งถือว่าเป็นงานชิ้นสำคัญของงานเขียนประวัติศาสตร์นิพนธ์ (historiography) และเป็นกุญแจสำคัญของเอกสารที่เกี่ยวกับจักรวรรดิข่านอิล (Ilkhanate) ของคริสต์ศตวรรษที่ 13 ถึง 14 ในปี ค.ศ. 1980 หนังสือวิจิตรเล่มนี้ที่เขียนเป็นภาษาอาหรับขายในการประมูลที่ซัทเธอร์บีส์แก่นัสเซอร์ เดวิด คาลิลิ เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 850,000 ปอนด์ซึ่งเป็นราคาสูงสุดของหนังสือต้นฉบับภาษาอาหรับที่เคยขายกันมา[2]
ความมีความรู้เหมือนสารานุกรมของอารายธรรมต่างๆ ตั้งแต่มองโกเลีย ไปจนถึงเมืองจีน เสต็ปป์สของยูเรเชียกลางไปจนถึงเปอร์เชีย ดินแดนอาหรับ และยุโรป ทำให้เราะชีด-อัล-ดินมีความข้อมูลโดยตรงเกี่ยวกับปลายสมัยมองโกล คำบรรยายในบทเขียนมีเนื้อหาที่ให้ความรู้เกี่ยวกับจักรวรรดิมองโกลที่เน้นในด้านการค้า และบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนความรู้ทางวัฒนธรรมและศาสนา ที่เป็นบ่อเกิดของการเผยแพร่ความรู้ความคิดต่างๆ จากตะวันออกมาสู่ตะวันตกและในทางกลับกัน
นักประวัติศาสตร์มอร์ริส รอสซาบีสรรเสริญเราะชีด-อัล-ดินว่าเป็น “บุคคลสำคัญที่สุดในเปอร์เชียระหว่างสมัยการปกครองของมองโกล”[3]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ http://www.britannica.com/eb/article-9062730 "Rashid ad-Din"]. Encyclopædia Britannica. 2007. Encyclopædia Britannica Online. Accessed 11 April 2007.
- ↑ Saudi Aramco World: A History of the World
- ↑ Genghis Khan: World Conqueror? Introduction by Morris Rossabi [1]
ดูเพิ่ม[แก้]
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |