เรดบูล จีเอ็มบีเอช
![]() | |
![]() สำนักงานใหญ่ของบริษัทเรดบูล จีเอ็มบีเอช ที่ Fuschl am See | |
ประเภท | เอกชน |
---|---|
อุตสาหกรรม | บริษัทที่ประกอบธุรกิจหลายประเภทรวมกัน |
ก่อตั้ง | 1984 |
ผู้ก่อตั้ง | |
สำนักงานใหญ่ | ประเทศออสเตรีย |
ผลิตภัณฑ์ | |
ตราสินค้า | เรดบูล |
บริการ | |
รายได้ | ![]() |
รายได้จากการดำเนินงาน | ![]() |
รายได้สุทธิ | ![]() |
เจ้าของ |
|
พนักงาน | 15779 (2022)[1] |
เว็บไซต์ | www |
เรดบูล จีเอ็มบีเอช (อังกฤษ: Red Bull GmbH) เป็นบริษัทเอกชนข้ามชาติสัญชาติออสเตรียที่ผลิตเครื่องดื่มชูกำลังยี่ห้อเรดบูล[3] นอกจากนี้ยังเป็นที่รู้จักในเรื่องกิจกรรมกีฬาและทีมกีฬาที่หลากหลายอีกด้วย สำนักงานใหญ่ของเรดบูลจีเอ็มบีเอชตั้งอยู่ที่ Fuschl am See, ซัลทซ์บวร์ค[4]
ประวัติ
[แก้]ดีทริช มาเทสชิทซ์ นักธุรกิจชาวออสเตรีย และเฉลียว อยู่วิทยา นักธุรกิจชาวไทยก่อตั้งเรดบูล จีเอ็มบีเอชขึ้นในปี ค.ศ. 1984 ในขณะที่ทำงานให้กับ Blendax (ซึ่งต่อมาถูกซื้อกิจการโดยพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล) ในปี ค.ศ. 1982 ดีทริชเดินทางมาประเทศไทยและได้พบกับเฉลียวเจ้าของบริษัท TC Pharmaceuticals เขาพบว่ากระทิงแดง เครื่องดื่มชูกำลังที่บริษัทของเฉลียวคิดค้นขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1970 ช่วยบรรเทาอาการเจ็ตแล็กของเขาได้[5] หลังจากเห็นศักยภาพทางการตลาดของเครื่องดื่มนี้แล้ว เขาจึงร่วมมือกับเฉลียวเพื่อนำเครื่องดื่มชนิดนี้เข้าสู่ตลาดยุโรป ภายใต้ข้อตกลงของพวกเขา หุ้นส่วนทั้งสองได้ลงทุนคนละ 500,000 ดอลลาร์ในการก่อตั้งเรดบูล จีเอ็มบีเอช โดยทั้งสองจะได้ถือหุ้นร้อยละ 49 ในบริษัท ส่วนหุ้นร้อยละ 2 ที่เหลือจะตกเป็นของเฉลิม บุตรชายคนโตของเฉลียว พวกเขายังตกลงกันว่าดีทริชจะเป็นผู้บริหารบริษัทด้วย[6]
ระหว่างปี ค.ศ. 1984 ถึง ค.ศ. 1987 บริษัทเรดบูล จีเอ็มบีเอชได้ปรับปรุงสูตรเครื่องดื่มกระทิงแดงเพื่อให้เข้ากับรสนิยมของชาวยุโรปมากขึ้นด้วยการเติมคาร์บอนไดออกไซด์ลงในเครื่องดื่มและลดความหวานลง ในปี ค.ศ. 1987 บริษัทได้เปิดตัวเครื่องดื่มชูกำลังรุ่นปรับปรุงใหม่ในประเทศออสเตรียภายใต้ชื่อเรดบูล พบว่าประสบความสำเร็จอย่างมากจากการทำตลาดกับกลุ่มคนทำงานรุ่นใหม่ ตราสินค้าดังกล่าวขยายตัวไปทั่วยุโรปในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 และขยายสู่ตลาดสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1997 โดยครองส่วนแบ่งตลาดได้ 75% ภายในเวลาเพียงปีเดียว[6] ความมั่งคั่งของผู้ก่อตั้งเรดบูลเติบโตขึ้นพร้อมกับความสำเร็จของบริษัท และในเดือนมีนาคม ค.ศ. 2012 ทั้งเฉลียวและดีทริชต่างก็มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิโดยประมาณมากกว่า 5.3 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อคน[7][8] บริษัทได้ขยายการจำหน่ายไปกว่า 171 ประเทศ และจำหน่ายเรดบูลได้มากกว่า 11,500 ล้านกระป๋องในปี ค.ศ. 2022 ทำให้เป็นเครื่องดื่มชูกำลังที่มีผู้บริโภคมากที่สุดในโลก[9]
ในปี ค.ศ. 2018 เรดบูลได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์โซดาออร์แกนิกภายใต้ชื่อ Organics by Red Bull ซึ่งไม่มีคาเฟอีน[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "Red Bull Energy Drink – Official Website". Red Bull (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-05-28.
- ↑ Chalerm Yoovidhya & family. Forbes. Retrieved 5 January 2020.
- ↑ "Red Bull GmbH, Fuschl am See, Salzburg". FirmenABC.at. สืบค้นเมื่อ 2020-07-08.
- ↑ "Red Bull Energy Drink – Official Website". www.redbull.com.
- ↑ "Selling energy". The Economist. 9 May 2002.
- ↑ 6.0 6.1 Kerry A. Dolan (28 March 2005). "The Soda With Buzz". Forbes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 March 2005. สืบค้นเมื่อ 20 June 2015.
- ↑ "Dietrich Mateschitz, Forbes, March 2012". Forbes. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2011.
- ↑ "Yoovidhya Family, Forbes, March 2012". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 September 2012.
- ↑ "Red Bull Energy Drink – Official Website". www.redbull.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-01-10.
- ↑ Meyer, Zlati. "Red Bull launches its own line of organic sodas, most of it (gasp!) not caffeinated". USA TODAY.