เรชัต อาเมตอฟ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรชัต อาเมตอฟ
เกิด24 มกราคม พ.ศ. 2518
ซิมแฟรอปอล สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตยูเครน สหภาพโซเวียต
สาบสูญ3 มีนาคม พ.ศ. 2557 (อายุ 39 ปี)
จัตุรัสเลนิน ซิมแฟรอปอล สาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมีย ยูเครน
สถานะพบว่าเสียชีวิต
15 มีนาคม พ.ศ. 2557 (39 ปี)
พบร่างแซมเลียนึชแน เขตบีลอฮีสก์ สาธารณรัฐปกครองตนเองไครเมีย ยูเครน
สุสานสุสานมุสลิมอับดัล ซิมแฟรอปอล
สัญชาติตาตาร์ไครเมีย
คู่สมรสซารีนา อาเมต (อาเมโตวา)
บุตร3 คน

เรชัต เมดาโตลู อาเมตอฟ (ตาตาร์ไครเมีย: Reşat Medat oğlu Ametov; รัสเซีย: Решат Медатович Аметов; ยูเครน: Решат Мідатович Аметов; 24 มกราคม พ.ศ. 2518 – 15 มีนาคม พ.ศ. 2557) เป็นนักเคลื่อนไหวชาวตาตาร์ไครเมียที่ได้รับรางวัลวีรบุรุษแห่งยูเครนหลังเสียชีวิต[1][2][3] เขาเป็นพลเรือนยูเครนคนแรกที่เสียชีวิตจากสงครามรัสเซีย–ยูเครน[4][5]

การลักพาตัวและการเสียชีวิต[แก้]

ในวันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2557 เรชัตเริ่มการประท้วงอย่างโดดเดี่ยวและสันติเพื่อต่อต้านการยึดครองไครเมียโดยกองทัพรัสเซีย ระหว่างที่เขายืนประท้วงหน้าอาคารที่ทำการรัฐบาลไครเมียในเมืองซิมแฟรอปอลอยู่นั้น เขาถูกชายไม่ระบุตัวตนสามคนในเครื่องแบบสมาชิก "หน่วยป้องกันตนเองไครเมีย" (ซึ่งเป็นกองกำลังที่สนับสนุนรัสเซีย) ลักพาตัวขึ้นรถไป[1]

ต่อมาเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2557 ตำรวจพบศพเรชัตในป่าแห่งหนึ่งใกล้หมู่บ้านแซมเลียนึชแนในเขตบีลอฮีสก์ ห่างจากเมืองซิมแฟรอปอลไปทางทิศตะวันออกประมาณ 60 กิโลเมตร ศพมีร่องรอยการถูกทรมาน ศีรษะและปากถูกมัดด้วยเทปกาว ดวงตาถูกควักออก[6] ขาถูกล่าม และมีกุญแจมือตกอยู่ข้างศพ เรฟัต อาเมตอฟ พี่ชายของเรชัต ระบุว่าสาเหตุการเสียชีวิตของน้องชายมาจากบาดแผลที่ถูกมีดหรือวัตถุปลายแหลมแทงเข้าที่ดวงตา[7] ทุกวันนี้คดีฆาตกรรมเรชัตยังไม่ได้รับการคลี่คลาย[2][8]

ร่างของเรชัตได้รับการฝังเมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2557 ที่สุสานมุสลิมอับดัลแห่งซิมแฟรอปอล เขากับซารีนาผู้เป็นภรรยามีลูกด้วยกันสามคน[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 Najibullah, Farangis (18 March 2014). "Crimean Tatar Community Mourns Death Of Tortured Local Activist". rferl.org. Radio Free Europe; Radio Liberty. สืบค้นเมื่อ 18 September 2014.
  2. 2.0 2.1 Shishkin, Philip (18 March 2014). "Killing of Crimean Tatar Activist Raises Fears in Community". The Wall Street Journal. สืบค้นเมื่อ 18 September 2014.
  3. Scott, Simon (22 March 2014). "A Tatar's Death Chills Those Who Suffered Under Russia Before". npr.org. National Public Radio. สืบค้นเมื่อ 18 September 2014.
  4. Пивоваров, Сергій (18 May 2017). "Порошенко присвоїв звання Героя України закатованому в Криму Решату Аметову" (ภาษายูเครน). hromadske.ua. hromadske. สืบค้นเมื่อ 31 May 2017.
  5. Бутусов, Юрій (3 March 2017). "Три года назад погиб первый украинец, убитый агрессорами РФ, вторгшимися в Украину" (ภาษารัสเซีย). Цензор.НЕТ. Цензор.НЕТ. สืบค้นเมื่อ 21 March 2017.
  6. Давыдова, Оксана; Аннитова, Инна (3 March 2016). "Решат Аметов – символ борьбы 2014 года в Крыму" (ภาษารัสเซีย). ru.krymr.com. Крым.Реалии. สืบค้นเมื่อ 3 March 2016.
  7. Editorial, 15min.org (8 April 2014). "Reshat Ametov's cause of death became known" (ภาษารัสเซีย). 15min.org. 15min.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 19 September 2014. สืบค้นเมื่อ 18 September 2014.
  8. Coynash, Halya (20 August 2014). "Putin's Soviet 'therapy' for Crimea". aljazeera.com. Al Jazeera. สืบค้นเมื่อ 18 September 2014.
  9. Çauş, Mustafa (15 July 2014). "Zarina Ametova: All that I want is my husband's killers to be found" (ภาษาตุรกีไครเมีย). ktat.krymr.com. Qırım.Aqiqat. สืบค้นเมื่อ 18 September 2014.