พัสเซา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เมืองพาสเซา)

พัสเซาเป็นเมืองมหาวิทยาลัยเมืองหนึ่งที่เป็นเขตอิสระ ในพื้นที่บริหารปกครองของเขตบาเยิร์นตอนล่าง อยู่บริเวณตะเข็บชายแดนติดกับประเทศออสเตรียและเป็นพื้นที่ที่บรรจบกันของแม่น้ำดานูบ แม่น้ำอินน์ และแม่น้ำอิลซ์ จึงถูกขนานนามว่า เมืองแห่งแม่น้ำสามสาย มีประชากรอาศัยอยู่ราว 51,000 คน ซึ่งถือเป็นเมืองที่ใหญ่เป็นอันดับสองของเขตปกครอง

ภูมิศาสตร์[แก้]

เมืองพัสเซาตั้งอยู่บนที่บรรจบกันของแม่น้ำสามสายคือ แม่น้ำดานูบ แม่น้ำอินน์และแม่น้ำอิลซ์ ทั้งสองสายแรกไหลผ่านบริเวณป่าบาวาเรียช่วงที่มีการแทรกดันตัวของผิวเปลือกโลกเมื่อครั้งปลายยุคหินใหม่ ทำให้เกิดการก่อตัวของผลึกแร่หินขึ้นและนี่เองที่สายน้ำไหลตัดกันและคงสภาพที่เปลือกโลกเหลื่อมตัวขึ้นทับซ้อนกัน ลักษณะดังกล่าวเป็นระลอกการปลดปล่อยพลังงานระดับสูงออกมา
เมืองพัสเซามีอิทธิพลอย่างมากต่อการศึกษาเกี่ยวกับศิลาวิทยา พบได้ทั่วไปคือพวกหินแปร เช่น หินไนส์ และ Diatexiten ซึ่งกระจายอยู่ในสถานที่หลายแห่งเป็นหินพลูโตนิกตั้งแต่ยุคพาลีโอโซอิก เมื่อประมาณ 542-251 ล้านปีที่แล้ว หินเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นหินแกรนิตหลากหลายชนิด ในขณะที่หินไดออไรต์จะพบเป็นระยะๆเท่านั้น สองพื้นที่หลักที่มีลักษณะพิเศษของผิวเปลือกโลกที่ว่านี้คือ ที่เขตบาวาเรียและพัสเซาเชื่อมต่อไปยังตอนทิศเหนือของเขตเมือง ทางตอนใต้ของพัสเซามีชายแดนติดกับแอ่งน้ำที่เต็มไปดวยหินทรายบริเวณเชิงเขาแอลป์ พวกเศษอิฐเศษหินเหล่านี้เต็มไปด้วยตะกอนหินทรายทั้งจากน้ำจืดและน้ำทะเล มีความลาดชันเรื่อยลงมายังแม่น้ำดานูบและต่อไปยังแม่น้ำอินน์ที่อยู่ถัดลงมาตอนใต้ ลักษณะของพื้นที่นี้จะเป็นคลื่นเล็กน้อยเนื่องจากการไหลของดินและการกัดกร่อนของแม่น้ำเมื่อครั้งยุคน้ำแข็งที่ผ่านมา ตะกอนเฉื่อยเหล่านี้ทับถมกันเรื่อยมาจากการระบายน้ำของเทือกเขาแอลป์ นอกจากนี้ยังมีการพบตะกอนดินสีเหลืองอยู่เป็นระยะ

ภูมิอากาศ[แก้]

เมืองพัสเซาตั้งอยู่ตำแหน่งที่ 48 องศาเหนือในซีกโลกเหนือ ส่งผลให้เมืองส่วนใหญ่อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมพายุที่พัดมาจากทางทิศทางตะวันตก จะเห็นได้จากแผนภูมิแสดงสภาพภูมิอากาศว่าภูมิอากาศที่อบอุ่นจะพัดเข้ามายังพัสเซาได้ การที่ในพัสเซามีสภาพที่ปะทะกันของภาคพื้นทวีปทำให้ลักษณะความต่างมีเพิ่มมากขึ้น เห็นได้จากในฤดูหนาวบางครั้งจะหนาวเย็นมากและมีหิมะปกคลุมไปทั่ว ในขณะที่ช่วงฤดูร้อนอากาศก็จะร้อนและแห้ง อีกทั้งพายุฝนฟ้าคะนองจะเพิ่มขึ้นด้วย

โดยเฉลี่ยในฤดูร้อนจะมีระยะเวลา 36 วัน อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 25 องศาเซลเซียส แตกต่างจากฤดูหนาวที่ยาวนานถึง 115 วันซึ่งมีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส เดือนที่มีปริมาตรน้ำฝนต่ำสุดคือตุลาคมและพฤศจิกายน ในทุกปีจะมีลักษณะที่เรียกว่า ฤดูร้อนแบบอินเดีย เกิดขึ้น อุณหภูมิในช่วงเวลาดังกล่าวประมาณ 21 องศาเซลเซียสขึ้นไปและเข้าสู่ภูมิอากาศที่อบอุ่นในปลายฤดู เนื่องจากมีห้วยหุบที่เป็นแอ่งลึกและการไหลมาบรรจบกันของแม่น้ำดานูบและแม่น้ำอินน์ทำให้บ่อยครั้งที่มีหมอกมากไปและหมอกที่ลอยตัวสูงจากพิ้นดิน

เขตต่างๆของเมือง[แก้]

เมืองพัสเซาถูกแบ่งออกเป็นส่วนต่างๆ 8 ส่วนด้วยกัน ซึ่งสะท้อนถึงความสำคัญของเขตแดน หรือชุนชนสมัยก่อน ส่วนของเมืองยังถูกแบ่งย่อยต่อไปอีกในส่วนของสถานที่


ประวัติศาสตร์[แก้]

การตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนแบบพวกเคลต์ ครั้งแรกอยู่ในช่วงวัฒนธรรมลาแตน (La Tène) บนเนินเขาของเขตเมืองเก่า มีท่าเรืออยู่ริมแม่น้ำดานูบ ปัจจุบันความสูงของมันเทียบได้กับศาลากลางจังหวัดหลังเก่า ทางเข้าไปสู่ป้อมปราการของชนเผ่าโบอี (Boii) ซึ่งเป็นชนเผ่าเคลต์โบราณที่มีชื่อเสียงที่สุด ชุมชนหลักในพื้นที่การปกครองของโรมันโบราณนี้ถูกยึดครองในช่วงแรกเมื่อ ๑๐๐ ปีหลังคริสตกาลโดยชาวโรมัน และส่วนของจังหวัด Raetia ตำแหน่งที่ตั้งในปัจจุบันของโดมก็มีปราสาทแบบโรมันของพวกปัตตาเวียนเกิดขึ้น และเป็นส่วนหนึ่งของขอบเขตกำแพงป้อมปราการ ชื่อปัตตาวิส (Batavis) มีที่มาจากทหารรับจ้างเผ่าเยอรมันนิคเชื้อสายปัตตาเวอร์ที่ได้กระจัดกระจายอยู่ จาก ปัตตาวิส ก็กลายเป็นชื่อ พัสเซา ในปัจจุบัน ในช่วงปลายจักรวรรดิไคเซอร์ได้มีปราสาท Boiotro หรือ Kastell Boiotro เกิดขึ้นริมชายฝั่งริมแม่น้ำอินน์ในเขต Noricum ของโรมัน กระทั่งการถอนตัวออกไปของพวกโรมัน พัสเซาในช่วงปี ค.ศ. 1600 ในปีค.ศ. 476 ชาวโรมันได้ละทิ้งภูมิภาคนี้ไป จากนั้นชนเผ่า Bajuwaren เชื้อสายเยอรมันนิคก็ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานกว่าครึ่งของเกาะบนคาบสมุทร ในปีค.ศ. 739 พัสเซากลายเป็นที่ประทับของพระสังฆราช ในเวลานี้เองมีการก่อตั้งมหาวิหารนีเดอร์นบวร์ก (Kloster Niedernburg) ขึ้น บางส่วนได้เชื่อมต่อเข้าด้วยกันกับผืนดินในบริเวณพื้นที่ลุ่มแม่น้ำอิลซ์

ในศตวรรษที่ 11 พระนางกิเซล่า ขนิษฐาของจักรพรรดิเฮนรี่ที่สองและยังเป็นราชินีม่ายของพระเจ้าสเตเฟ่น ที่ 1 กษัตริย์แห่งฮังการี ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าของคณะนักบวชหญิง เมื่อปีค.ศ. 999 ได้มีการถ่ายโอนอำนาจปกครองจากพระสังฆราช แห่งพัสเซา ระหว่างปีค.ศ. 1078 – 1099 พระสังฆราชแห่งพัสเซาได้สูญเสียสิทธิชั่วคราวในการปกครองเมืองที่สร้างขึ้นใหม่ในเขตปกครองของพัสเซาและจากกษัตริย์ไฮน์ริช ที่ 4 และท่านเค้าท์อูลริค แต่ภายหลังจากที่ทั้งสองได้เสียชีวิต สิทธิในการปกครองดังกล่าวก็กลับไปสู่พระสังฆราชตามเดิม

เขตเมืองเก่าริมแม่น้ำอินน์ ในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 12 งานช่างโลหะของพัสเซาจัดว่ามีความสำคัญมาก ปีค.ศ. 1217 พัสเซาได้กลายเป็นสังฆมณฑล ในปีค.ศ. 1161 สมเด็จพระจักรพรรดิฟรีดริช บาร์บารอซซา ได้พระราชทานมหาวิหารนีเดอร์นบวร์กให้เป็นที่ประทับขององค์พระสังฆราช พัสเซาได้รับสถานะเป็นเมืองในปีค.ศ. 1225 มีการก่อกบฏหลายครั้งของประชาชนต่อการปกครองของมุขนายกผู้ครองนคร การก่อกบฏครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นในปีค.ศ.1367-1368 แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ในด้านอื่นๆสังฆมณฑลได้เจริญไปสู่ความมั่งคั่งอย่างมากซึ่งมักกระตุ้นความโลภของดินแดนใกล้เคียงอยู่เนืองๆทั้งที่บาเยิร์นและออสเตรีย

เมื่อปีค.ศ.1622-1633 ได้มีการก่อตั้งวิทยาลัยปรัชญาและศาสนาขึ้น ปีค.ศ.1676 มีงานอภิเษกระหว่างกษัตริย์ลีโอโพล ที่ 1 กับ เอเลโอโนเร่ แห่งฟาล์ซ-นอยบวร์ก หลายต่อหลายครั้งที่พัสเซาต้องเผชิญกับอุทกภัยและอัคคีภัย ปีค.ศ.1662 เกิดไฟไหม้จนเมืองทั้งเมืองเต็มไปด้วยเศษอิฐหินและขี้เถ้า หลังจากนั้นมีการสร้างเมืองขึ้นใหม่อีกครั้งโดยฝีมือสถาปนิกชาวอิตาเลียนสองคนคือ Carlone และ Lurago ทำให้เมืองในปัจจุบันมีกลิ่นอายของศิลปะบาร็อค