เมริทอาเตน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมริทอาเตน
พระอัครมเหสี, พระราชธิดาแห่งฟาโรห์
พระราชธิดาในฟาโรห์อเคนาเทนกับพระนางเนเฟอร์ติติ ซึ่งในภาพอาจจะเป็นพระนางเมริทอาเตน ขอณะทรงพระเยาว์ ต่อมามีตำแหน่งเป็นพระมเหสีและได้ขึ้นครองราชย์เป็นฟาโรห์สตรี โดยมีพระนามว่าฟาโรห์อังค์เคเปรูเร เนเฟอร์เนเฟรูอาเตน จัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์ลูฟวร์, ปารีส
ประสูติธีบส์?
คู่อภิเษกสเมงห์คาเร
พระราชบุตรเมริทอาเตน ตาเชริท
พระนามในอักษรเฮียโรกลิฟฟิก
it
n
ra
N36
t
B1
ราชวงศ์ราชวงศ์ที่ 18
พระราชบิดาอเคนาเทน
พระราชมารดาเนเฟอร์ติติ
ศาสนาศาสนาอียิปต์โบราณและลัทธิอาเทน

เมริทอาเตน, หรืออาจจะสะกดว่า เมริตาเตน หรือ เมริเอตาเตน (มีพระชนม์อยู่ในช่วงศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสตกาล), เป็นเจ้าหญิงชาวอียิปต์โบราณจากราชวงศ์ที่สิบแปดแห่งอียิปต์โบราณ พระนามของพระองค์มีความหมายว่า สตรี ผู้เป็นที่รักแห่งอาเตน พระองค์มีตำแหน่งเป็นพระมเหสีในฟาโรห์สเมงห์คาเร ผู้ซึงเป็นพระอนุชาหรือพระราชโอรสของฟาโรห์อเคนาเทน พระองค์เป็นไปได้ว่าเป็นฟาโรห์หญิง โดยใช้พระนามว่า อังค์เคเปอร์รูเร เนเฟอร์เนเฟรูอาเตน[1]

พระราชวงศ์[แก้]

พระองค์เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในฟาโรห์อเคนาเตนกับพระนางเนเฟอร์ติติ (พระมเหสีเอก) พระขนิษฐาของพระองค์คือ พระนางเมเกตอาเตน, อังค์เอสเอนปาอาเตน, เนเฟอร์เนเฟรูอาเตน ตาเชริท, เนเฟอร์เนเฟรูเร และ เซนเพนเร[2] ภายหลังพระองค์ได้อภิเษกสมรสกับฟาโรห์สเมงห์คาเร

จากบันทึกได้กล่าวถึงเจ้าหญิงพระองค์หนึ่งพระนามว่า เมริทอาเตน ตาเชริท ซึ่งอาจจะเป็นพระราชธิดาของพระองค์กับฟาโรห์สเมงห์คาเร และบันทึกจากเมืองอัซมูเนอิน (เฮอร์โมโปลิส) กล่าวว่าเจ้าหญิงเมริทอาเตน-ตาเชริท เป็นพระธิดาในพระองค์ โดยเหตุการนี้ในช่วงการครองราชย์ของฟาโรห์อเคนาเตน และเป็นไปได้ว่าฟาโรห์อเคนาเตนเป็นพระบิดาของเจ้าหญิงเมริทอาเตน-ตาเชริท ถ้าเป็นเช่นนั้นแสดงให้เห็นว่าฟาโรห์อเคนาเตนได้สถาปนาพระราชธิดาของพระองค์เองขั้นเป็นพระมเหสีอีกพระองค์ นอกจากนี้ยังมีเจ้าหญิงอังค์เอสเอนปาอาเตน ตาเชริท ซึ่งถูกสันนิษฐานว่าเป็นพระธิดาของพระองค์ แต่มีความเป็นไปได้มากกว่าที่จะเป็นพระธิดาของพระนางอังค์เอสเอนปาอาเตน

พระประวัติ[แก้]

วัยพระเยาว์ในเมืองธีบส์[แก้]

พระองค์เป็นไปได้มากว่าจะประสูติที่เมืองธีบส์ หลังจากพระบิดาของพระองค์อภิเษกสมรสกับพระนางเนเฟอร์ติติได้ไม่นาน หรืออาจจะก่อนที่พระบิดาขึ้นครองราชย์ พระองค์ปรากฏในบันททึกในช่วงปีที่ 5 ของการครองราชย์ของพระบิดา ซึ่งพระองค์อาจจะประทับอยู่ที่เมืองธีบส์ในพระราชวังที่ซับซ้อนในวิหารที่คาร์นัก แต่ยังไม่ทราบว่าการใช้งานอาคารที่คาร์นักเป็นอย่างไร ซึ่งสังเกตภาพจิตรรรมฝาผนังคาดว่าอาจจะเป็นที่ประทับได้[3] ภาพสลักนูนต่ำชองพระองค์จะอยู่ข้างพระมารดาของพระองค์ (พระนางเนเฟอร์ติติ) บนภาพนูนต่ำนูนสูงสีสันแกะสลักในห้องฮัท-เบ็นเบ็น ฮัท - เบ็นเบ็นเป็นโครงสร้างที่เกี่ยวข้องกับเนเฟอร์ติติซึ่งเป็นนักบวชชั้นสูง พระองค์ปรากฏอยู่ด้านหลังพระมารดาของพระองค์ที่กำลังสั่นกระดิ่ง และพระขนิษฐาของพระองค์พระนางเมเกตอาเตนและอังค์เอสเอนปาอาเตนก็ปรากฏพระองค์ขึ้นในบางฉาก แต่ไม่บ่อยเหมือนพระองค์

เจ้าหญิงแห่งอาร์มานา[แก้]

เจ้าหญิงแห่งอาร์มานาจากพิพิธภัณฑ์ในเบอร์ลิน
ภาพสลักจากพิพิธภัณฑ์ในกรุงลอนดอน

ในปีที่ 5 ของการครองราชย์ของฟาโรห์อเคนาเตน พระองค์ปรากฏบนภาพสลักที่กำแพงเมืองหลวงใหม่ที่พระบิดาสร้างโดยย้ายทั้งคณะเชื้อพระวงศ์และข้าราชบริพารของพระองค์[4] ในช่วงรัชสมัยของพระบิดา พระองค์มักจะปรากฏอยู่บ่อยที่สุ ดและกล่าวถึงพระราชธิดาทั้งหกพระองค์ ภาพสลักของพระองค์ปรากฏอยู่บนภาพสลักภายในวิหาร สุสาน และหอสวดส่วนพระองค์ ไม่เพียงแค่นั้นพระองค์ยังคงปรากฏให้เห็นในหมู่ภาพแสดงชีวิตครอบครัวของฟาโรห์ ซึ่งเป็นแบบฉบับของจิตรกรรมช่วงยุคอาร์มานา แต่ในบรรดาภาพวาดพิธีอย่างเป็นทางการเช่นกัน

โดยสองสองสถาปัตยกรรมในเมืองอาร์มานาที่เกี่ยวข้องกับพระองค์ก็คือ พระราชวังทางทิศเหนือ และ มารู-อาเตน ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองอาร์มานาที่โครงสร้างประกอบด้วยสระว่ายน้ำหรือทะเลสาบและศาลาตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ปลูกต้นไม้ เกาะเทียมประกอบด้วยสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะเป็นเสาซึ่งมีผิวทางที่ทาสีเพื่อแสดงฉากจากธรรมชาติ[5]

ตำแหน่งพระมเหสี[แก้]

ภาพสลักฟาโรห์สเมงห์คาเรกับพระนางเมริทอาเตนที่สุสานเมริเรที่ 2
คาร์ทูธของฟาโรห์อเคนาเทน, เนเฟอร์เนเฟรูอาเตน และเมริทอาเตน จากหลุมฝังพระศพของฟาโรห์ทุตอังค์อามุน

พระองค์ปรากฏบนภาพสลักนูนต่ำบนฝาผนังหลุมฝังศพของเมริเรที่ 2 ในอาร์มานา โดยปรากฏร่วมกับฟาโรห์อังค์เคเปรูเร สเมงห์คาเร-ดเจเซอร์เคเปรู ซึ่งเป็นภาพที่ปรากฏให้เห็นถึงคู่บ่าวสาวที่ได้รับเกียรติและมอบของขวัญให้กับเมริเรในปีที่ 12[6] แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์อเคนาเทน ฟาโรห์สเมงห์คาเรอาจจะมีหน้าที่เป็นผู้ปกครองร่วมกับฟาโรห์อเคนาเทน โดยขณะที่พระองค์ดำรงตำแหน่งเป็นพระมเหสีในฟาโรห์สเมงห์คาเร และพระนางเนเฟอร์ติติก็ดำรงตำแหน่งพระมเหสีในฟาโรห์อเคนาเทนด้วย พระนางเนเฟอร์ติติยังคงอยู่ในตำแหน่งพระมเหสีจนถึงปีที่ 16 ดังนั้นฟาโรห์สเมงห์คาเร จึงต้องเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในเวลานั้นหรือไม่ก็ปกครองหลังจากปีที่ 16 แห่งการครองราชย์ของฟาโรห์อเคนาเทน[7]

พระองค์ถูกกล่าวถึงบนดอกเดซี่สีทองที่ตกแต่งเสื้อผ้าที่พบในหลุมฝังศพของฟาโรห์ทุตอังค์อามุน และพระองค์ยังถูกกล่าวถึงในกล่องไม้ที่ตั้งใจจะบรรจุเสื้อผ้าลินิน กล่องระบุถึงสองฟาโรห์คือ เนเฟอร์เคเปรูเร-วาเอนเร (อเคนาเทน) และ อังค์เคเปรูเร-เม-วาเอนเร, เนเฟอร์เนเฟรูอาเตน-เม-วาเอนเร และพระมเหสีเมริทอาเตน[8]

การสิ้นพระชนม์และหลุมฝังพระศพ[แก้]

ในบันทึกกล่าวถึงว่า พระนางเมริทอาเตนตั้งใจจะถูกฝังที่เมืองอาเคต-อาเตน (เมืองอาร์มานาในปัจจุบัน)

สุสานหลวงในอาร์มานาถูกใช้เพื่อการฝังพระศพของพระนางเมเกตอาเตน, พระนางติเย และฟาโรห์อเคนาเทน ถูกปิดหลังจากการสวรรคตและการฝังพระศพของฟาโรห์อเคนาเทน หลังจากนั้นอาจจะมีการวางแผนการฝังพระศพของพระนางเมริทอาเตนสำหรับหลุมฝังพระศพอีกแห่งหนึ่งในเมืองอาร์มานา[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. J. Tyldesley, Chronicle of the Queens of Egypt, 2006, Thames & Hudson, pg 136–137
  2. Aidan Dodson & Dyan Hilton: The Complete Royal Families of Ancient Egypt. Thames & Hudson, 2004, ISBN 0-500-05128-3, p.142-157
  3. Dodson, Aidan, Amarna Sunrise: Egypt from Golden Age to Age of Heresy, The American University in Cairo Press, 2014
  4. Aldred, Cyril, Akhenaten: King of Egypt ,Thames and Hudson, 1991 (paperback), ISBN 0-500-27621-8
  5. Kemp, Barry, The City of Akhenaten and Nefertiti: Amarna and its People, Thames and Hudson, 2012
  6. Dodson, Aidan, Amarna Sunset: Nefertiti, Tutankhamun, Ay, Horemheb, and the Egyptian Counter-reformation, The American University in Cairo Press, 2009
  7. Seyfried, Friederike (Editor), In the Light of Amarna: 100 Years of the Nefertiti Discovery, Michael Imhof Verlag, 2013
  8. Ertman, Earl L. and Hoffmeier, James K. A new fragmentary relief of King Ankhkheperure from Tell el-Borg (Sinai)?, JEA Vol 94, 2008
  9. Murnane, William J. (1995). Texts from the Amarna Period in Egypt. Atlanta, Georgia: Scholars Press. p. 78. ISBN 1-55540-965-2.