เมย์ โตโรก ฟอน เซนโดร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมย์ โตโรก ฟอน เซนโดร
May Török von Szendrö
เคาน์เตสเมย์ในเครื่องทรงฮิญาบ
เกิดมารีอันนา เมย์
15 มิถุนายนค.ศ. 1877
เมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิต5 สิงหาคม ค.ศ. 1968 (91 ปี)
เมืองกราซ ประเทศออสเตรีย
อาชีพนักเปียโน, นักเขียน, นักแปล, จิตรกร
คู่สมรสอาร์เธอร์, เฟรเฮรร์ ฟอน คลิงสปอร์ (หย่า)
คีดิฟอับบาสที่ 2 แห่งอียิปต์ (1910-1913)
บุพการีเคานท์โยเซฟที่ 3 โตโรก ฟอน เซนโดร
เคานท์เตสโซฟี เวตเตอร์ ฟอน เดอร์ ลิลี
ลายมือชื่อ

เมย์ โตโรก ฟอน เซนโดร (อังกฤษ: May Torok von Szendro, อาหรับ: جاويدان هانم, Djavidan Hanem, เกิด 15 มิถุนายน ค.ศ. 1877เมืองฟิลาเดลเฟีย รัฐเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา5 สิงหาคม ค.ศ. 1968เมืองกราซ ประเทศออสเตรีย) นักเปียโน, นักเขียน, นักแปล และจิตรกรสตรีชาวฮังการี ที่มีชื่อเสียงจากการเป็นพระภรรยาคนที่สองของคีดิฟอับบาสที่ 2 แห่งอียิปต์[1]

ประวัติ[แก้]

เมย์ โตโรก ฟอน เซนโดร เป็นธิดาของเคานต์เตสโซฟี เวตเตอร์ ฟอน เดอร์ ลิลี และเป็นบุตรบุญธรรมของธีโอดอร์ ปัสกาส์ นักประดิษฐ์ชาวฮังการี[ต้องการอ้างอิง] เธอถูกส่งไปปราสาทวัสเซินที่เมืองกราซ ประเทศออสเตรีย ตั้งแต่เธอยังเด็ก เมื่อมีอายุได้ 12 ปี เธอได้เขียนไดอารีและเล่นเปียโน ต่อมาพี่ชายของเธอ เคานต์โยเซฟ โตโรก ฟอน เซนโดร ได้ศึกษาต่อที่เทเรสเซียนัมอะคาเดมี (Theresianum) ที่กรุงเวียนนา[2] และเป็นพระสหายของอับบาส เบย์ เจ้าชายแห่งอียิปต์ (ในขณะนั้น) เมย์ได้พบกับอับบาสครั้งแรกและครั้งที่สองที่เทเรสเซียนัมอะคาเดมี[2] ต่อมาภายหลังอับบาสได้กลับไปยังอียิปต์เพื่อครองราชย์ และพวกเขาก็ได้พบกันอีกครั้งเป็นครั้งที่สามในปี ค.ศ. 1900 ที่โรงแรมแกรนด์ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ทั้งคู่ก็เริ่มรักกันและอับบาสจึงพาเธอกลับมายังอียิปต์ด้วย[2]

อภิเษกสมรส[แก้]

ความสัมพันธ์ของทั้งสองเริ่มพัฒนาเป็นความรัก ทั้งคู่ได้สมรสอย่างลับๆกัน ที่พระราชวังมอนตาซาห์ เมืองอเล็กซานเดรีย โดยมีชีกสองคนในพิธี ก่อนที่จะอภิเษกสมรสอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1910 โดยมีแกรนด์มุฟติ (Grand Mufti) เป็นประธานในพิธี เธอจึงเข้ารับศาสนาอิสลาม[2] และได้รับพระนาม เจ้าหญิงจาวิดัน ฮานิม (جاويدان هانم Djavidan Hanem) ภรรยาในคีดิฟแห่งอียิปต์ หลังจากพระสวามีได้หย่ากับอิกบาล ฮานิม อดีตนางทาสที่รับใช้พระมารดาของคีดิฟ

คีดิฟอิสมาอิล ปาชา เป็นกษัตริย์อียิปต์องค์สุดท้ายที่ใช้ระบบฮาเร็ม รวมไปถึง บุยุก, ออตังกี และคุคุก ฮาเร็ม (พระภรรยาเอก, ภรรยารอง และภรรยาคนที่สาม) และตำแหน่งอะกา (ยูนุค) ก็ถูกยกเลิกเช่นกัน และเริ่มระบบเอกอัครมเหสีเพียงพระองค์เดียวตามแบบยุโรป[2]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Famille Souveraine". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-20. สืบค้นเมื่อ 2010-10-23.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 "FROM MAG-ARABS TO AL-MAGARY". Samir Raafat. April 13, 1996. สืบค้นเมื่อ 2010-10-23.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]