เมซีเย 13

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เมซีเย 13
กระจุกดาวทรงกลม เมซีเย 13 ในกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส
ข้อมูลสังเกตการณ์ (ต้นยุคอ้างอิง J2000)
ระดับV[1][2]
กลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส
ไรต์แอสเซนชัน16h 41m 41.24s[3]
เดคลิเนชัน+36° 27′ 35.5″[3]
ระยะห่าง22.2 kly (6.8 kpc)[4] ()
โชติมาตรปรากฏ (V)5.8[5]
ขนาดปรากฏ (V)20 ลิปดา
คุณสมบัติทางกายภาพ
มวลkg (6×105[6] M)
รัศมี84 ly[7]
อายุโดยประมาณ11.65 Gyr[8]
ลักษณะเด่นหนึ่งในกระจุกดาวในฟ้าซีกเหนือที่เป็นที่รู้จักดีที่สุด
ชื่ออื่นNGC 6205[5]
ดูเพิ่ม: กระจุกดาวทรงกลม, รายชื่อกระจุกดาวทรงกลม

เมซีเย 13 (รู้จักกันดีในชื่อ กระจุกดาวเฮอร์คิวลีส หรือ เอ็ม 13 หรือ เอ็นจีซี 6205) เป็นกระจุกดาวทรงกลมที่มีดาวฤกษ์หลายแสนดวง ตั้งอยู่ในกลุ่มดาวเฮอร์คิวลีส

การค้นพบและการสังเกต[แก้]

ถูกค้นพบโดย เอ็ดมันด์ แฮลลีย์ ในปี พ.ศ. 2257[2] ต่อมา ชาร์ล เมซีเย บันทึกวัตถุนี้ในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2307[9][10] ถ้าอยู่ไกลเมืองมีท้องฟ้ามืดสนิท สามารถมองเห็น เอ็ม 13 ได้ด้วยตาเปล่า[2] โดยเห็นเป็นแสงทรงกลมที่สว่างจ้าในกล้องสองตาหรือกล้องโทรทรรศน์[2][11] ต้องการกล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ (ไม่น้อยกว่า 4 นิ้ว) เพื่อได้เห็นดาวฤกษ์ภายในวัตถุนี้[12] เอ็ม 13 มีขนาดความส่องสว่างปรากฏ 5.8 แล้วมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 23 ลิปดา แกแลกซี เอ็นจีซี 6207 (NGC 6207)[13] และแกแลกซี ไอซี 4617 (IC 4617) ตั้งอยู่ใกล้กับ เอ็ม 13

ลักษณะ[แก้]

เอ็ม 13 มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 145 ปีแสง และมีดาวสมาชิกหลายแสนดวง[14] ดาวสมาชิกที่สว่างที่สุดคือดาวแปรแสง V11 (รู้จักกันดีในชื่อ V1554 Herculis)[15] เป็นดาวยักษ์แดงและมีขนาดโชติมาตรปรากฏ 11.95 เอ็ม 13 ตั้งอยู่ห่างจากโลกประมาณ 22,200 ถึง 25,000 ปีแสง[9] และเอ็ม 13 เป็นกระจุกดาวทรงกลมหนึ่งในกว่าร้อยกลุ่มที่โคจรรอบใจกลางทางช้างเผือก[16][17] นักดาราศาสตร์มองเห็นดาวฤกษ์ภายในวัตถุนี้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2322[9] เมื่อเทียบกับดาวฤกษ์ในละแวกใกล้เคียงของดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์ของ เอ็ม 13 นั้นมีความหนาแน่นมากกว่าร้อยเท่า[9] ดาวฤกษ์เหล่านี้อยู่ใกล้กันมากจนบางครั้งก็ชนกันและก่อกำเนิดดาวดวงใหม่[9] ดาวฤกษ์อายุน้อยที่ก่อตัวขึ้นใหม่นี้เรียกว่าดาวแปลกพวกสีน้ำเงิน ซึ่งเป็นเรื่องน่าสนใจเป็นพิเศษสำหรับนักดาราศาสตร์[9]

ดาวแปรแสง V63 และ V64 เป็นดาวฤกษ์สมาชิกที่ถูกค้นพบจากประเทศสเปน ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2564 และมีนาคม พ.ศ. 2565 ตามลำดับ

ข้อความอาเรซีโบ[แก้]

วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517 นักดาราศาสตร์ส่งข้อความคลื่นวิทยุชื่อข้อความอาเรซีโบ (Arecibo message) จากกล้องโทรทรรศน์วิทยุอาเรซีโบไปที่ เอ็ม 13 เพื่อเป็นการทดลองในการติดต่อกับอารยธรรมนอกโลกที่อาจเกิดขึ้นในกระจุกดาว ข้อความอาเรซีโบมีข้อมูลที่เข้ารหัสเกี่ยวกับเผ่าพันธุ์มนุษย์, ดีเอ็นเอ, เลขอะตอม, ตำแหน่งของโลก และข้อมูลอื่น ๆ เอ็ม 13 ได้รับเลือกเนื่องจากเป็นกระจุกดาวขนาดใหญ่และค่อนข้างใกล้[18] กระจุกดาวจะเคลื่อนผ่านอวกาศในช่วงเวลาที่สัญญาณเดินทางไป ทำให้มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันว่ากระจุกดาวจะอยู่ในตำแหน่งที่จะรับข้อความตามเวลาที่ไปถึงได้หรือไม่[19][20]

อ้างอิง[แก้]

  1. Shapley, Harlow; Sawyer, Helen B. (สิงหาคม 1927), "A Classification of Globular Clusters", Harvard College Observatory Bulletin, 849 (849): 11–14, Bibcode:1927BHarO.849...11S.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Thompson, Robert; Thompson, Barbara (2007). Illustrated Guide to Astronomical Wonders: From Novice to Master Observer. DIY science. O'Reilly Media, Inc. p. 258. ISBN 978-0596526856.
  3. 3.0 3.1 Goldsbury, Ryan; และคณะ (ธันวาคม 2010), "The ACS Survey of Galactic Globular Clusters. X. New Determinations of Centers for 65 Clusters", The Astronomical Journal, 140 (6): 1830–1837, arXiv:1008.2755, Bibcode:2010AJ....140.1830G, doi:10.1088/0004-6256/140/6/1830, S2CID 119183070.
  4. Paust, Nathaniel E. Q.; และคณะ (กุมภาพันธ์ 2010), "The ACS Survey of Galactic Globular Clusters. VIII. Effects of Environment on Globular Cluster Global Mass Functions", The Astronomical Journal, 139 (2): 476–491, Bibcode:2010AJ....139..476P, doi:10.1088/0004-6256/139/2/476, hdl:2152/34371, S2CID 120965440.
  5. 5.0 5.1 "M 13". SIMBAD. Centre de données astronomiques de Strasbourg. สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2006.
  6. Leonard, Peter J. T.; Richer, Harvey B.; Fahlman, Gregory G. (1992), "The mass and stellar content of the globular cluster M13", Astronomical Journal, 104: 2104, Bibcode:1992AJ....104.2104L, doi:10.1086/116386.
  7. distance × sin(diameter_angle / 2) = 84 ly radius
  8. Forbes, Duncan A.; Bridges, Terry (พฤษภาคม 2010), "Accreted versus in situ Milky Way globular clusters", Monthly Notices of the Royal Astronomical Society, 404 (3): 1203–1214, arXiv:1001.4289, Bibcode:2010MNRAS.404.1203F, doi:10.1111/j.1365-2966.2010.16373.x, S2CID 51825384.
  9. 9.0 9.1 9.2 9.3 9.4 9.5 Garner, Rob (6 ตุลาคม 2017). "Messier 13 (The Hercules Cluster)". NASA (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2018.
  10. "Messier 13 (M13) - The Great Hercules Cluster - Universe Today". Universe Today (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 9 พฤษภาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2018.
  11. "M 13". Messier Objects Mobile -- Charts, Maps & Photos (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 16 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2018.
  12. "How to See the Great Hercules Cluster of Stars". Space.com. สืบค้นเมื่อ 23 เมษายน 2018.
  13. "NGC 6207". Skyhound. สืบค้นเมื่อ 26 มีนาคม 2023.
  14. O'Meara, Stephen James; Levy, David H. (1998), Deep-Sky Companions: The Messier Objects, Cambridge University Press, p. 69, ISBN 978-0521553322.
  15. Samus, N.N.; Pastukhova, E.N.; Durlevich, O.V.; Kazarovets, E.V.; Kireeva, N.N. (2020), "The 83rd Name-List of Variable Stars. Variables in Globular Clusters and Novae", Peremennye Zvezdy (Variable Stars) 40, No. 8, 40 (8): 8, Bibcode:2020PZ.....40....8S, doi:10.24411/2221-0474-2020-10009
  16. "Control Telescope :: Stars & Nebulae". สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2021.
  17. "Star Cluster". สืบค้นเมื่อ 22 พฤศจิกายน 2021.
  18. Larry Klaes (30 พฤศจิกายน 2005). "Making Contact". Ithaca Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 มกราคม 2009. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2007.
  19. "It's the 25th anniversary of Earth's first attempt to phone E.T." 12 พฤศจิกายน 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 สิงหาคม 2008. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2018.
  20. "Science 2.0". In regard to the email from. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 กันยายน 2015. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

พิกัด: Sky map 16h 41m 41.44s, +36° 27′ 36.9″