เฟร์ริต
เฟร์ริต | |
---|---|
![]() |
|
สถานะการอนุรักษ์ | |
สัตว์เลี้ยงหรือปศุสัตว์
|
|
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Mammalia |
อันดับ: | Carnivora |
วงศ์: | Mustelidae |
สกุล: | Mustela |
สปีชีส์: | M. putorius |
ชนิดย่อย/noitalics: | M. p. furo |
Trinomial name | |
Mustela putorius furo Linnaeus, 1758 |
|
ชื่อพ้อง | |
|
เฟอเรท (อังกฤษ: ferret; ชื่อวิทยาศาสตร์: Mustela putorius furo) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง จำพวกวีเซล นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยง
เฟอเรทเป็นชนิดย่อยของโพลแคตยุโรป (M. putorius) ที่เป็นวีเซลหรือเพียงพอนที่พบได้ในทวีปยุโรป จากการตรวจสอบทางดีเอ็นเอพบว่าเฟอเรทนั้นถูกมนุษย์เลี้ยงกันมาถึง 2,500 ปีแล้ว โดยในประวัติศาสตร์ จะมีเฟอเรทปรากฏตามที่ต่าง ๆ อาทิ ปรากฏในภาพวาดของลีโอนาร์โด ดา วินชี หรือเป็นสัตว์เลี้ยงของสมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ 1 แห่งจักรวรรดิอังกฤษ และยังเป็นสัตว์ที่ใช้ในการวางสายเคเบิลในการถ่ายทอดพระราชพิธีอภิเษกสมรสของเจ้าฟ้าชายชาลส์ กับเลดี้ไดอานา ในปี ค.ศ. 1981 ด้วย[1]
เฟอเรทมีความยาวประมาณ 20 นิ้ว (51 เซนติเมตร) และความยาวหาง 5 นิ้ว (13 เซนติเมตร) น้ำหนักประมาณ 1.5–4 ปอนด์ (0.7–2 กิโลกรัม) อายุขัยโดยเฉลี่ย 7-10 ปี ตัวผู้นั้นจะมีความยาวมากกว่าตัวเมีย[2]
อาหารที่เฟอเรทกินนั้นคือเนื้อสัตว์เท่านั้น ไม่ใช่ผลไม้ หากเฟอเรทกินผลไม้อาจจะทำให้เฟอเรทเสียชีวิตจากการที่อาหารไม่ย่อย หรือกระทั่งเป็นเบาหวานได้
ในสหรัฐอเมริกา เฟอเรทถูกนำเข้ามาในฐานะของสัตว์ที่ฝึกไว้สำหรับล่ากระต่าย ซึ่งเป็นพฤติกรรมตามธรรมชาติของเฟอเรทหรือวีเซลอยู่แล้ว ที่ล่าสัตว์ขนาดเล็กตามโพรงดิน เช่น หนู, กระต่าย เป็นอาหาร โดยการมุดเข้าไปลากออกมาถึงในโพรง[1]
เฟอร์เร็ตนับเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีจำนวนชิ้นกระดูกสันหลังมากที่สุดในโลก โดยมีกระดูกที่ต้นคอถึง 7 ชิ้น และสะโพก 6 ชิ้น นั่นจึงทำให้เฟอร์เร็ตสามารถที่จะมุดหรือลอดไปตามโพรงหรือรูเรี้ยวต่าง ๆ ได้อย่างยืดหยุ่น คล่องแคล่ว [1]
เฟอเรทเป็นสัตว์ที่สามารถเลี้ยงไว้ในบ้านได้เป็นอย่างดี แต่มีข้อเสียคือ กลิ่นตัวที่เหม็น โดยเฉพาะเมื่อตกใจจะปล่อยกลิ่นออกมาตามสัญชาตญาณธรรมชาติ หลังจากผสมผ่านไป 2 สัปดาห์ ท้องตัวเมียจะใหญ่ขึ้น เห็นราวนมชัดขึ้น มีระยะเวลาตั้งท้องนาน 42วัน มีลูกปีละ 1-2 ครั้ง โดยสามารถคลอดลูกได้ถึง 2-12ตัวต่อครั้ง ใช้เวลาเลี้ยงลูกให้นมลูกนานราว 6สัปดาห์ จากนั้นลูกเฟอร์เร็ตจะเริ่มกินอาหาร กินเนื้อได้เอง ซึ่งในประเทศไทย ปัจจุบันสามารถเพาะขยายพันธุ์เฟอเรทได้แล้ว แทนการนำเข้ามาจากต่างประเทศ
ภาพ[แก้]
-
ภาพวาด สตรีกับเออร์มิน (Lady with an Ermine) ของลีโอนาร์โด ดา วินชี
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.0 1.1 1.2 Pets 101 : Pet Guide, สารคดีทางอนิมอลพลาเน็ต ทางทรูวิชั่นส์: พฤหัสบดีที่ 3 มกราคม 2556
- ↑ Bradley Hills Animal Hospital, Bethesda, Maryland, USA, on lifespan of Ferrets. Bradleyhills.com. Retrieved on 2012-02-28.
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: Mustela putorius furo |
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
ข้อมูลเกี่ยวข้องกับ Mustela putorius furo จากวิกิสปีชีส์
|