เพนกวินลาย
เพนกวินลาย ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ไมโอซีนตอนปลาย/ไพลโอซีนตอนต้น - ปัจจุบัน | |
---|---|
เพนกวินฮัมโบลด์ หรือเพนกวินเปรูเวียน (Spheniscus humboldti) กระจายพันธุ์ในทวีปอเมริกาใต้แถบประเทศชิลี และเปรู | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ไฟลัมย่อย: | Vertebrata |
ชั้น: | Aves |
อันดับ: | Sphenisciformes |
วงศ์: | Spheniscidae |
สกุล: | Spheniscus Brisson, 1760[1] |
ชนิดต้นแบบ | |
Spheniscus demersus (Linnaeus, 1758) | |
ชนิด | |
|
เพนกวินลาย (อังกฤษ: Banded penguin) เป็นเพนกวินสกุลหนึ่ง ใช้ชื่อสกุลว่า Spheniscus (แปลว่า "รูปลิ่ม")
เพนกวินในสกุลนี้เป็นเพนกวินขนาดกลาง มีรูปร่างและลักษณะคล้ายคลึงกัน คือ มีลายพาดสีดำตรงหน้าอกบนพื้นลำสีขาว และมีจุดกลมดำเล็ก ๆ บนหน้าท้อง ซึ่งจุดนี้จะมีลักษณะแตกต่างกันออกไปเป็นอัตลักษณ์เฉพาะตัวเหมือนลายนิ้วมือของมนุษย์ ซึ่งจุดนี้อาจเป็นสีชมพู หรือขาวก็ได้ เป็นเพนกวินที่อาศัยอยู่ในเขตอบอุ่นของซีกโลกทางใต้ เช่น อเมริกาใต้, แอฟริกาใต้ หรือหมู่เกาะกาลาปากอส มีพฤติกรรมวางไข่บนพื้นดิน และเจริญเติบโตขึ้นในโพรงดิน
ในบางครั้ง เพนกวินสกุลนี้ยังมีชื่อเรียกอื่น เช่น "เพนกวินแจ็ค-แอส" เนื่องจากมีเสียงร้องเหมือนลา
ปัจจุบัน หลงเหลืออยู่ทั้งหมด 4 ชนิด ได้แก่
- Spheniscus magellanicus (เพนกวินแมคเจเลนิก)
- Spheniscus humboldti (เพนกวินฮัมโบลด์)
- Spheniscus mendiculus (เพนกวินกาลาปากอส)
- Spheniscus demersus (เพนกวินแอฟริกัน หรือเพนกวินตีนดำ)[1]
† ที่สูญพันธุ์ไปแล้วตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์
- Spheniscus muizoni (สูญพันธุ์ไปในยุคกลางหรือยุคไมโอซีนตอนหลัง พบในเปรู)
- Spheniscus chilensis (สูญพันธุ์ไปในยุคไมโอซีนตอนหลัง หรือต้นยุคไพลโอซีน พบในชายฝั่งแอนดีส)
- Spheniscus megaramphus (สูญพันธุ์ไปในยุคไมโอซีนตอนหลัง หรือต้นยุคไพลโอซีน พบในชายฝั่งแอนดีส)
- Spheniscus urbinai (สูญพันธุ์ไปในยุคไมโอซีนตอนหลัง หรือต้นยุคไพลโอซีน พบในชายฝั่งแอนดีส)
และในอดีตเคยมีชนิด Spheniscus predemersus รวมอยู่ด้วย แต่ปัจจุบันถูกจัดให้เป็นเพียงชนิดเดียวในสกุล Inguza[2]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 จาก itis.gov
- ↑ Ellis, Richard (2004). No Turning Back: The Life and Death of Animal Species. New York: Harper Perennial. p. 69. ISBN 0-06-055804-0.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Spheniscus ที่วิกิสปีชีส์