ฮีโร่ เพชฌฆาต ล่าข้ามโลก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เพชฌฆาต ล่าข้ามโลก)
ฮีโร่ เพชฌฆาต ล่าข้ามโลก
กำกับออกไซด์ แปง
แดนนี่ แปง
เขียนบทพี่น้องแปง
เจสัน ริชแทน
อำนวยการสร้างนอร์แมน โกไลท์ลี
แกรห์ม คิง
วิลเลียม ชีราค
เจสัน ชูแมน
นักแสดงนำนิโคลัส เคจ
หยาง ไฉ่หนี
ชาคริต แย้มนาม
ดอม เหตระกูล
นิรัตติศัย กัลย์จาฤก
กำกับภาพเดชา ศรีมันตะ
ตัดต่อMichael Jackson
Curran Pang Jing-Hei
ดนตรีประกอบไบรอัน ไทเลอร์
ผู้จัดจำหน่ายInitial Entertainment
Lionsgate (สหรัฐอเมริกา)
มงคลเมเจอร์ (ประเทศไทย)
วันฉาย5 กันยายน พ.ศ. 2551 (สหรัฐอเมริกา) [1]
4 กันยายน พ.ศ. 2551 (ประเทศไทย)
ประเทศ สหรัฐ
ภาษาอังกฤษ
ไทย
ทุนสร้าง45 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทำเงิน42,487,390 ดอลลาร์สหรัฐ
ก่อนหน้านี้บางกอกแดนเจอรัส เพชฌฆาตเงียบ อันตราย (ต้นฉบับ)
ข้อมูลจาก All Movie Guide
ข้อมูลจาก IMDb

ฮีโร่ เพชฌฆาต ล่าข้ามโลก (อังกฤษ: Bangkok Dangerous) เป็นภาพยนตร์แอคชั่นซึ่งนำแสดงโดย นิโคลัส เคจ, ชาคริต แย้มนาม, เป้ย ปานวาด และนักแสดงชาวฮ่องกง หยาง ไฉ่นี ออกฉายในปี พ.ศ. 2551 กำกับโดยออกไซด์ แปง และแดนนี่ แปง

ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างโดยบริษัท Saturn Films ของนิโคลัส เคจ โดยได้ซื้อสิทธิ์การสร้างภาพยนตร์เรื่อง บางกอกแดนเจอรัส (ฮีโร่ เพชฌฆาตเงียบ อันตราย) ผลงานกำกับชิ้นแรกของพี่น้องแปงในปี พ.ศ. 2542 กลับมาสร้างใหม่ โดยให้สองพี่น้องแปงเป็นผู้กำกับเช่นเดิม

ตัวละครหลัก[แก้]

เนื้อเรื่อง[แก้]

โจ (นิโคลัส เคจ) เป็นมือปืนรับจ้างชาวอเมริกันฝีมือระดับพระกาฬ ทำงานโดยยึดกฎ 4 ข้อ และตรงต่อเวลาเสมอ โดยไม่พลาดแม้แต่วินาทีเดียว โจเดินทางมาถึงกรุงเทพเพื่อสังหารบุคคล 4 คนตามคำสั่งของ สุรัตน์ (นิรัติศัย กัลย์จาฤก) และ อรัญ (ดอม เหตระกูล) มือขวาของสุรัตน์ เมื่อมาถึงโจได้พบกับ ก้อง (ชาคริต แย้มนาม) เด็กหนุ่มผู้หากินข้างถนนด้วยการหลอกนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โจได้ว่าจ้างก้องให้เป็นคนเดินสารระหว่างตนกับสุรัตน์ โดยมี อ้อม (ปานวาด เหมมณี) แดนเซอร์สาวเป็นนกต่อ

แต่ต่อมา โจ ได้พบกับ ฝน (หยาง ไฉ่หนี) เภสัชกรสาวผู้เป็นใบ้ ผู้ที่ทำให้จิตใจเขาอ่อนโยนลง โจได้ทำลายกฎของตนเองลงโดยการสอนก้องและรับเป็นลูกศิษย์ เมื่อโจสังหารคนไทยไป 3 คนแล้ว พบว่าคนสุดท้ายที่อยู่ในบัญชีให้สังหารตามคำสั่งของสุรัตน์นั้น เป็นนักการเมืองที่ดีตามคำบอกเล่าของก้อง โจจึงตัดสินใจในที่สุดว่าไม่สังหารเขา ทำให้สุรัตน์และอรัญต้องตามเก็บโจและก้องแทน

เบื้องหลังและคำวิจารณ์[แก้]

นิโคลัส เคจ ได้เดินทางมาถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องนี้ในกลางปี พ.ศ. 2549 และได้เกิดเหตุรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน ขึ้นพอดี ทำให้เจ้าตัวถึงเกิดตื่นตระหนกและสั่งให้หยุดกองถ่ายทันที แต่เมื่อทราบว่าไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงเกิดขึ้น จึงถ่ายทำต่อไปได้[2]

เมื่อเข้าฉาย ได้รับเสียงวิจารณ์ว่า จบห้วนและสั้น โดยผู้ชมไม่เข้าใจในตอนจบว่า เหตุใด ตัวเอกของเรื่อง คือ โจ ต้องฆ่าตัวตายและในฉากสุดท้าย ที่ ก้อง ไปยืนอยู่ที่ท่าน้ำสื่อความหมายถึงอะไร[3] อีกทั้งในเว็บไซต์ IMDb ก็ได้ให้ระดับของภาพยนตร์เรื่องนี้เพียง 5.4 ดาวจากเต็มที่ 10 ดาวเท่านั้น[4]

อ้างอิง[แก้]

  1. Release dates for Bangkok Dangerous, Internet Movie Database; retrieved 2007-11-01
  2. นิโคลัส เคจ เผยนาทีวิกฤตหยุดกองถ่ายเหตุจากปฏิวัติ
  3. "วิจารณ์ภาพยนตร์เรื่อง "Bangkok Dangerous - ฮีโร่ เพชฌฆาต ล่าข้ามโลก"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-09-05. สืบค้นเมื่อ 2009-10-14.
  4. [1]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]