เป็ดแมนดาริน
เป็ดแมนดาริน | |
---|---|
![]() | |
เป็ดแมนดารินเพศผู้และเพศเมียที่มาร์ตินเมียร์ สหราชอาณาจักร | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ![]() | |
อาณาจักร: | สัตว์ |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง |
ชั้น: | สัตว์ปีก |
อันดับ: | อันดับห่าน |
วงศ์: | วงศ์นกเป็ดน้ำ |
สกุล: | Aix (Linnaeus, 1758) |
สปีชีส์: | Aix galericulata |
ชื่อทวินาม | |
Aix galericulata (Linnaeus, 1758) | |
ขอบเขตของเป็ดแมนดาริน
ผสมพันธุ์
ที่อยู่อาศัยดั้งเดิม
อพยพ
ชวงฤดูหนาว
ที่อยู่อาศัยใหม่
| |
ชื่อพ้อง | |
Anas galericulata Linnaeus, 1758 |
เป็ดแมนดาริน (อังกฤษ: Mandarin duck; จีน: 鸳鸯; พินอิน: Yuānyāng; ญี่ปุ่น: オシドリ; เกาหลี: 원앙; ชื่อวิทยาศาสตร์: Aix galericulata) เป็นนกชนิดหนึ่ง จำพวกเป็ด อยู่ในวงศ์นกเป็ดน้ำ (Anatidae)
เป็ดแมนดาริน มีสีสวยมาก โดยเฉพาะในตัวผู้ จนได้ชื่อว่าเป็นนกชนิดหนึ่งที่มีความสวยงามที่สุดในโลก เป็นนกที่จัดอยู่ในประเภทขนาดกลาง มีความยาวลำตัวเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 48 เซนติเมตร ในฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้จะมีสีฉูดฉาดหลายสี ซึ่งแต่ละสีตัดกันเห็นเด่นชัดสวยงามมาก โดยหน้าผากและหัวเป็นสีทองแดง, สีม่วง และเขียวเหลือบเป็นมันเงา และมีขนปีกสีส้มขนาดใหญ่ดูคล้ายเป็นแผงข้างละเส้นงามสะดุดตา และจะสวยงามในฤดูผสมพันธุ์เท่านั้น ขณะที่ตัวเมียจะมีขนาดตัวย่อมลงมาและสีสันไม่ฉูดฉาดเท่า
มีพฤติกรรมอาศัยอยู่ตามหนองบึง และลำห้วยที่มีต้นไม้ขึ้นปกคลุม เพื่ออาศัยเป็นที่หลบซ่อนตัว และจะชอบเกาะอยู่ตามกิ่งไม้ โดยอาศัยอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ ตามแหล่งน้ำ โดยกินพืชน้ำชนิดต่าง ๆ รวมถึงสัตว์น้ำขนาดเล็กต่าง ๆ เป็นอาหาร
พอสิ้นฤดูหนาวเมื่อพ้นฤดูผสมพันธุ์แล้ว ตัวผู้จะผลัดขนจนดูคล้ายตัวเมีย ซึ่งจะมีลายขีดสีขาวบริเวณท้องและลายขีดสีดำที่โคนปาก เป็ดแมนดาริน วางไข่ครั้งละ 9-12 ฟอง ไข่มีสีเนื้อเป็นมัน ระยะเวลาฟักไข่นาน 28-30 วัน โดยที่ตัวเมียจะเป็นผู้ฟัก
กระจายพันธุ์อยู่ในภาคตะวันออกของประเทศจีนแถบลุ่มแม่น้ำอุสซูรี ไปจนถึงภูมิภาคเอเชียตะวันออก ได้แก่ ไต้หวัน, ญี่ปุ่น และเกาหลี รวมถึงบางส่วนในทวีปยุโรปด้วย
เป็ดแมนดาริน เป็นนกที่จับคู่เพียงตัวเดียวตลอดชีวิต ดังนั้นจึงเป็นสัญลักษณ์ของความรักแท้ จนปรากฏเป็นนิทานพื้นบ้านเรื่องต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก และยังเป็นสัตว์แห่งความเป็นสิริมงคลตามความเชื่อของชาวจีนอีกด้วย[2] [3]
โดยปกติแล้ว เป็ดแมนดาริน ไม่ใช่นกประจำถิ่นของประเทศไทย ในประเทศไทยจะพบก็เพียงเป็นนกอพยพหนีหนาว แต่ก็พบได้น้อยมาก ในแถบภาคเหนือและภาคกลางบางพื้นที่ ด้วยความสวยงาม เป็ดแมนดาริน จึงมักถูกจับเป็นสัตว์เลี้ยง ซึ่งในกฎหมายไทย เป็ดแมนดารินเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535[4]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ BirdLife International (2018). "Aix galericulata". IUCN Red List of Threatened Species. 2018: e.T22680107A131911544. doi:10.2305/IUCN.UK.2018-2.RLTS.T22680107A131911544.en. สืบค้นเมื่อ 19 November 2021.
- ↑ ตำนานรักของเป็ดแมนดาริน
- ↑ ความหมายของมงคล 44 ชนิด (ความเชื่อของชาวจีน)[ลิงก์เสีย]
- ↑ [https://web.archive.org/web/20120718205430/http://www.zoothailand.org/index.php/th/-animal-encyclopedia/2009-11-08-22-25-49/item/294-%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%99 เก็บถาวร 2012-07-18 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน เป็ดแมนดาริน จากองค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์]
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
![]() |
วิกิมีเดียคอมมอนส์ มีสื่อที่เกี่ยวข้องกับ: Aix galericulata (หมวดหมู่) |
![]() |
วิกิสปีชีส์มีข้อมูลภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ Aix galericulata |
- บทความที่มีลิงก์เสียตั้งแต่ตุลาคม 2021
- สิ่งมีชีวิตที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการสูญพันธุ์
- สัตว์ป่าคุ้มครอง
- วงศ์ย่อยนกเป็ดน้ำ
- นกที่พบในประเทศไทย
- สัตว์ที่พบในประเทศไทย
- สัตว์ที่พบในประเทศจีน
- สัตว์ที่พบในทวีปเอเชีย
- สัตว์ที่พบในทวีปยุโรป
- นกที่เป็นสัตว์เลี้ยง
- นกที่พบในประเทศไอซ์แลนด์
- นกในประเทศปากีสถาน
- สัตว์พลัดหลงในประเทศไทย