กุนเขมร
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
บทความนี้อาจขยายความได้โดยการแปลบทความที่ตรงกันในภาษาอังกฤษ คลิกที่ [ขยาย] เพื่อศึกษาแนวทางการแปล
|
ยังเป็นที่รู้จักในชื่อ | คุนขแมร, มวยเขมร, คบัคคุน ปราดาล ขแมร[1] |
---|---|
มุ่งเน้น | การกอดต่อสู้, การปะทะ |
Hardness | ทั้งตัว |
ประเทศต้นกำเนิด | กัมพูชา |
กีฬาโอลิมปิก | ไม่บรรจุ |
กุนเขมร บ้างสะกดเป็น กุนขแมร์ (อังกฤษ: Kun Khmer) หรือ คุนขแมร (เขมร: គុនខ្មែរ, [kun kʰmae], กุนคมาย) หรือเรียกในอีกชื่อว่า ปรฏาลเสรี (เขมร: ប្រដាល់សេរី, [prɑɗal seːrəj], เปราะดาลเสเร็ย) เป็นศิลปะการป้องกันตัวของกัมพูชา[2] มีลักษณะคล้ายกับมวยไทยในไทย และและเหว่ในพม่า ซึ่งได้รับเเรงบันดาลใจมาจากมวยไทย (Muay Thai)
ประวัติ
กล่าวกันว่าศิลปะการต่อสู้ที่ไม่ใช้อาวุธมีอยู่ในกัมพูชาตั้งแต่ศตวรรษที่ 12 เพื่อเป็นวิธีการตอบโต้ภัยคุกคามจากประเทศเพื่อนบ้านและมีประวัติยาวนาน[ใคร?]
เมื่อกัมพูชาเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส ชาวอาณานิคมจากฝรั่งเศสได้กำหนดกฎเกณฑ์ต่าง ๆ เช่น ระบบสังเวียนมวยเหลี่ยม การใช้นวมชกมวย และการห้ามใช้ท่าโหดร้าย ทำให้เกิดรูปแบบที่ทันสมัยของกุนเขมร
ในทศวรรษ 1970 เมื่อสมัยเขมรแดงนำโดยพล พต กุนเขมรได้ถูกสั่งห้าม และนักกีฬาถูกบังคับให้ไปทำงาน หรือประหารชีวิตเพื่อสร้างสังคมคอมมิวนิสต์ อย่างไรก็ตามกุนเขมรได้รับการฟื้นฟูโดยลอกแบบมาจากมวยไทยหลังจากการล่มสลายของระบอบการปกครองของ พล พต และยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้
ความพยายามทำให้รูปแบบมวยรวมเข้ากัน
ประเทศใกล้เคียงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีศิลปะการต่อสู้แบบมวยคล้ายกัน
ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
รูปแบบและกติกา
รูปแบบกติกาปัจจุบันที่ กุน เขมร ใช้ในการปัจจุบันจึงใช้กติกาที่ลอกแบบมาจากกติกาของมวยไทย เช่น การแข่งแบ่งเป็น 5 ยก ยกละ 3 นาที การต่อสู้จะทำกันบนเวทีที่เป็นสี่เหลี่ยมจตุรัสขนาด 6.1 เมตร ก่อนเริ่มการแข่งจะมีการรำที่คล้ายกับการไหว้ครูรำมวยของไทย ระหว่างการแข่งจะบรรเลงดนตรีมี ปี่และกลองเช่นเดียวกันกับมวยไทย และผู้แข่งขันจะต้องสวมนวมและกางเกงมวย
เช่นเดียวกับมวยไทย สามารถจบการแข่งขันทันทีด้วยการชนะน็อกโดยเทคนิค หรือในมวยไทยจะเรียกว่า แม่ไม้มวยไทย
การโจมตีใส่ในขณะที่คู่ต่อสู้ไม่ได้ยืน คว้าเชือก โจมตีจุดอ่อนหรือกระดูกสันหลัง หรือใช้ฟันกัด ถือว่าผิดกฎ
คลังภาพ
-
ภาพการต่อสู้ที่นครวัด
-
นักกีฬากุนเขมร
ภาพรวม
มีการถ่ายทอดสดการแข่งขันและเป็นศิลปะการป้องกันตัวที่ได้รับความนิยมในกัมพูชา เช่นเดียวกับมวยไทยในประเทศไทย
ดูเพิ่ม
อ้างอิง
- ↑ Vongs, Moul. "Khmer Boxing." Leisure Cambodia, Dec. 2001, www.leisurecambodia.com/news/detail.php?id=199. Accessed 7 July 2020.
- ↑ Goyder, James (April 26, 2014). "The A-Fighters: Reviving Cambodian Culture Through Khmer Martial Arts". Fightland. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-11-24. สืบค้นเมื่อ 4 August 2015.