เบ็ตตินา ฮอย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เบ็ตตินา ฮอย
เบ็ตตินา ฮอย และม้า "ดีไซเนอร์ 10" ที่เทรเซอร์เชสท์ของรายการครอสครันทรีในการแข่งขันซีไอซี*** ที่โฮตันอินเตอร์เนชันแนลฮอร์สไทรอัลส์ 2013
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1962-11-07) 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1962 (61 ปี)
กีฬา
กีฬาขี่ม้า
รายการเหรียญรางวัล

เบ็ตตินา ฮอย (เยอรมัน: Bettina Hoy; ชื่อเดิม: เบ็ตตินา โอเฟอร์เรช; 7 พฤศจิกายน ค.ศ. 1962 – ) เป็นนักกีฬาขี่ม้าระดับโอลิมปิก ผู้เข้าแข่งขันให้แก่เยอรมนีในประเภทอีเวนติง เบ็ตตินาเข้าแข่งขันในโอลิมปิกฤดูร้อน 1984 และโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 นอกจากนี้ เธอยังเคยมอบม้าระดับสี่ดาวของเธอที่มีชื่อว่า "ริงวูด คอกคาทู" ให้แก่พรหมธร กิ่งวรรณ ซึ่งเป็นนักขี่ม้าชาวไทยได้ใช้เข้าแข่งขันในหลายรายการ[1]

โอลิมปิกฤดูร้อน[แก้]

ในโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ซึ่งจัดขึ้น ณ กรุงเอเธนส์ เบ็ตตินาได้เข้าแข่งขันในรายการอีเวนติงสามวัน ทั้งในประเภทบุคคลและประเภททีมของเยอรมัน

ภายหลังจากสนามเดรสสาจและครอสคันทรี นิโกลา โตแซงต์ได้เป็นผู้นำในสนามของวันที่สาม ส่วนเบ็ตตินาอยู่ในอันดับที่สอง โดยทีมฝรั่งเศสขึ้นนำเป็นที่หนึ่ง และทีมเยอรมันอยู่ในอันดับสองเช่นเดียวกัน ในรอบแรก รอบที่สาม และรอบสุดท้ายของรายการแสดงการกระโดด เบ็ตตินา (ผู้แข่งรายการกระโดดเป็นรายสุดท้ายของทีมเยอรมัน ในฐานะนักขี่ม้าเยอรมันที่ดีที่สุด) ไม่ได้มีการสะดุดรั้วใดๆ อย่างไรก็ตาม เบ็ตตินาได้ข้ามเส้นเริ่มต้นสองครั้งและได้รับการลงโทษด้วยเวลา 14 หน่วย ภายหลังจากการข้ามเส้นเริ่มต้นของเบ็ตตินาเป็นครั้งแรกนาฬิกาก็ได้เริ่มต้นใหม่ และเบ็ตตินาได้คิดว่าเธอมีทางเลือกในการวนรอบอีกครั้งก่อนเริ่มการแสดงการกระโดดของเธอ

ทีมเยอรมันได้ทำการประท้วงเรื่องการปรับโทษเวลาโดยอุธรณ์ต่อคณะกรรมการแห่งสหพันธ์กีฬาขี่ม้านานาชาติ (เอฟอีไอ) ว่าเบ็ตตินาไม่ทราบเวลาจริง ดังที่นาฬิกาไม่ได้แสดงเวลาที่ถูกต้องแก่เธอ และที่เธอได้ขี่ยากขึ้นกว่าเดิมก็เพื่อหลีกเลี่ยงการลงโทษด้านเวลา การตัดสินที่เพิ่มบทลงโทษทางเวลาเป็นอันกลับคำ โดยในประเภททีมจะมีการมอบเหรียญทองให้แก่เยอรมันและในประเภทบุคคลจะมีการมอบเหรียญทองให้แก่เบ็ตตินา

อย่างไรก็ตาม ทีมอังกฤษ, ฝรั่งเศส และอเมริกา ในภายหลังได้อุธรณ์ต่อศาลอนุญาโตตุลาการกีฬา (ซีเอเอส) โดยพิสูจน์ว่าเอฟอีไอเป็นฝ่ายผิดที่ได้ยกเลิกการลงโทษทางเวลาของเบ็ตตินาในรอบสุดท้าย คำตัดสินของซีเอเอสคือคณะกรรมการเอฟอีไอได้คุยโวอำนาจของตนในการยกเลิกการลงโทษทางเวลา ซีเอเอสได้กล่าวอีกด้วยว่าการตัดสินนั้นไม่ได้อิงต่อกฎใดๆที่มีอยู่ของเอฟอีไอ โดยเป็นเพียงเหตุผลอย่างเป็นทางการเฉพาะอาณาเขต นั่นได้ส่งผลให้เบ็ตตินาและทีมเยอรมันพลาดการได้รับรางวัลเหรียญทอง ซึ่งทีมเยอรมันได้ลงมาอยู่ในอันดับที่ 4 ส่วนเบ็ตตินาได้ลงมาอยู่ในอันดับที่ 9 โดยมีเลสลี ลอว์ ซึ่งเป็นนักขี่ม้าชาวอังกฤษได้รับรางวัลเหรียญทองในประเภทบุคคล, คิมเบอร์ลี เซเวอร์สัน ชาวอเมริกาได้รับเหรียญเงิน และพิพพา ฟันเนล ชาวอังกฤษได้รับเหรียญทองแดง ส่วนนิโกลา โตแซงต์ ได้อยู่ในอันดับที่ 8 สำหรับในประเภททีม ฝรั่งเศสได้เหรียญทอง, อังกฤษได้เหรียญเงิน และอเมริกาได้เหรียญทองแดง[2]

สำหรับกีฬาขี่ม้าในโอลิมฤดูร้อน 2008 ที่จัดขึ้นในเขตปกครองพิเศษฮ่องกง เธอไม่สามารถเข้าร่วมแข่งขันได้เนื่องด้วยม้า "ริงวูด คอกคาทู" ของเธอมีอาการบาดเจ็บก่อนการแข่งเพียงไม่นาน[3]

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

เบ็ตตินาและสามีของเธอ แอนดรูว์ ฮอย ผู้ซึ่งเข้าแข่งขันให้แก่ออสเตรเลีย ต่างใช้เวลา 12 ปีอยู่ในกลอสเตอร์เชอร์ ที่กัชคอมพาร์ค ที่ดินแห่งเจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี สองคู่รักที่แต่งงานเคยเข้าแข่งขันกันเอง โดยอยู่คนละทีมในการชิงเหรียญรางวัลโอลิมปิกเดียวกัน ในเดือนมกราคม ค.ศ. 2009 คู่รักสกุลฮอยได้ย้ายไปยังดอยท์เชสโอลิมเพียคอมมีทีเฟือร์ไรเทไร ในวาเรนดอร์ฟ ประเทศเยอรมนี[4] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2010 แอนดรูว์ ฮอย ได้ย้ายไปยังฟาร์เลย์เอสเตทในสหราชอาณาจักร ซึ่งปัจจุบันเขาอาศัยอยู่ในวิลท์เชอร์ และในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2011 เบ็ตตินาได้ประกาศต่อสาธารณชนถึงการแยกทางของพวกเขา[5][6]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Retired event horse Ringwood Cockatoo returns to the UK - Horse & Hound
  2. "Hoy and Germany lose equestrian gold". ABC Sport. 2004-08-22. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-07. สืบค้นเมื่อ 2008-07-24.
  3. Bettina Hoy startet nicht in Hongkong[ลิงก์เสีย] (เยอรมัน)
  4. FN-aktuell, offizieller Pressedienst der Deutschen Reiterlichen Vereinigung, Ausgabe 2/2009, Seite 17 (เยอรมัน)
  5. "Nach der Trennung des Traumpaares: Hoys Neustart" (ภาษาเยอรมัน). de.eurosport.yahoo.com. 29 November 2011.
  6. Bettina und Andrew Hoy getrennt[ลิงก์เสีย], Reiter Revue International, 30. November 2011 (เยอรมัน)

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]