เบอร์นี แซนเดอร์ส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เบอร์นี แซนเดอร์ส
เบอร์นี แซนเดอร์ส ในปี 2007
สมาชิกวุฒิสภาจากรัฐเวอร์มอนต์
อยู่ในวาระ
เริ่มดำรงตำแหน่ง
3 มกราคม 2007
ก่อนหน้า จิม เจฟฟอร์ดส์
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
ตัวแทนจากรัฐเวอร์มอนต์โดยไม่แบ่งเขต
ดำรงตำแหน่ง
3 มกราคม 1991 – 3 มกราคม 2007
ก่อนหน้า ปีเตอร์ พลิมป์ตัน สมิธ
ถัดไป ปีเตอร์ เวลช์
นายกเทศมนตรีเบอร์ลิงตัน
ดำรงตำแหน่ง
6 เมษายน 1981 – 4 เมษายน 1989
ก่อนหน้า กอร์ดอน แพเคตต์
ถัดไป ปีเตอร์ คลาเวลล์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1941-09-08) 8 กันยายน ค.ศ. 1941 (81 ปี)
บรุกลิน รัฐนิวยอร์ก
 สหรัฐ
พรรค พรรคลิเบอร์ตียูเนียน (ก่อนปี 1979)
อิสระ (1979–2015)
พรรคเดโมแครต (2015–ปัจจุบัน)
คู่สมรส เดโบราห์ ชิลิง (1964–1966)
เจน โอเมียรา (1988–ปัจจุบัน)
ที่อยู่ เบอร์ลิงตัน รัฐเวอร์มอนต์
ศิษย์เก่า วิทยาลัยบรุกลิน (1959–1960)
มหาวิทยาลัยชิคาโก (1959–1964)
ศาสนา ยูดาห์
ลายมือชื่อ Bernie Sanders signature.svg

เบอร์นาร์ด "เบอร์นี" แซนเดอร์ส (อังกฤษ: Bernard "Bernie" Sanders, เกิด 8 ธันวาคม 1941) เป็นนักการเมืองชาวอเมริกันผู้ได้เป็นสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐด้วยอาวุโสจากรัฐเวอร์มอนต์ตั้งแต่ปี 2007 แซนเดอรส์เป็นสมาชิกสภาอิสระที่ดำรงตำแหน่งยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์รัฐสภาสหรัฐ นับแต่เขาได้รับเลือกตั้งเป็นผู้แทนราษฎรในปี 1991 เขาเข้าร่วมประชุมลับกับพรรคเดโมแครต ซึ่งได้มอบหมายภาระงานคณะกรรมาธิการของรัฐสภาแก่เขา และบางครั้งให้พรรคเดโมแครตได้รับฝ่ายข้างมาก แซนเดอร์สเป็นสมาชิกคนสำคัญของพรรคข้างน้อยในคณะกรรมาธิการงบประมาณของวุฒิสภาในเดือนมกราคม 2015 เขาเคยเป็นประธานคณะกรรมาธิการกิจการทหารผ่านศึกของวุฒิสภาเป็นเวลาสองปี การรณรงค์ของแซนเดอร์สสำหรับการเสนอชื่อชิงประธานาธิบดีสหรัฐในปี 2016 ของพรรคแข่งกับฮิลลารี คลินตันได้ระดมเงินจากผู้สมทบปัจเจกรายย่อยมากกว่าผู้อื่นในประวัติศาสตร์อเมริกา และทำให้เขาเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ เขาอธิบายตนว่าเป็นนักสังคมนิยมประชาธิปไตย แซนเดอร์สนิยมแรงงานและเน้นการย้อนความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจ นักวิชาการจำนวนมากถือมุมมองของเขาว่าเข้าได้กับแนวประชาธิปไตยสังคมและลัทธิก้าวหน้าอเมริกันสมัยข้อตกลงใหม่มากกว่าสังคมนิยมประชาธิปไตย

แซนเดอร์สเกิดและเติบโตในย่านบรุกลินของนครนิวยอร์ก และสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยชิคาโกในปี 1964 ระหว่างเป็นนักศึกษาเขาเป็นผู้จัดระเบียบการประท้วงขบวนการสิทธิพลเมืองแอฟริกัน-อเมริกันผู้แข็งขันให้สภาความเสมอภาคทางเชื้อชาติ (Congress of Racial Equality) และคณะกรรมการประสานงานอหิงสาของนักศึกษา (Student Nonviolent Coordinating Committee) หลังตั้งถิ่นฐานในรัฐเวอร์มอนต์ในปี 1968 แซนเดอร์สรณรงค์เป็นผู้ว่าการและสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐพรรคที่สามในต้นถึงกลางคริสต์ทศวรรรษ 1970 แต่ไม่สำเร็จ เขาได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีเบอร์ลิงตัน นครที่มีประชากรมากที่สุดของรัฐเวอร์มอนต์ ในปี 1981 โดยสมัครเป็นนักการเมืองอิสระ ด้วยคะแนนเสียงเฉียดฉิว 10 เสียง ต่อมาเขาได้รับเลือกตั้งใหม่เป็นนายกเทศมนตรีอีกสามสมัย ในปี 1990 เขาได้รับเลือกตั้งให้เป็นผู้แทนของเขตรัฐสภาทั้งหมดของรัฐเวอร์มอนต์ในสภาผู้แทนราษฎร ที่ซึ่งเขาร่วมก่อตั้งการประชุมลับลัทธิก้าวหน้ารัฐสภา (Congressional Progressive Caucus) ในปี 1991 เขารับราชการเป็นสมาชิกวุฒิสภา 16 ปีก่อนได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภาสหรัฐในปี 2006 ในปี 2012 เขาได้รับเลือกตั้งอีกด้วยคะแนนเสียงของประชาชน 71% ผลสำรวจความเห็นบ่งว่าเขาเป็นสมาชิกวุฒิสภาลำดับต้น ๆ ที่ได้รับความนิยมสูงสุดกับเขตเลือกตั้งของเขา โดยอยู่อันดับสามในปี 2014 และอันดับหนึ่งทั้งในปี 2015 และ 2016 ในการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปปี 2016 แซนเดอร์สได้รับคะแนนเสียงของประชาชนรัฐเวอร์มอนต์เกือบ 6% เป็นผู้สมัครแบบหย่อนชื่อ (write-in candidate) แม้ว่าถอนตัวจากการแข่งและสนับสนุนคลินตันไปแล้วเมื่อหลายเดือนก่อน

แซนเดอร์สมีชื่อเสียงระดับชาติหลังอภิปรายประวิงเวลาในปี 2010 ต่อรัฐบัญญัติการลดภาษีชนชั้นกลางปี 2010 ซึ่งขยายการลดภาษีบุชซึ่งเอื้อชาวอเมริกันผู้ร่ำรวย เขาสร้างชื่อเสียงเป็นเสียงนักลัทธิก้าวหน้าในประเด็นอย่างการปฏิรูปการจัดหาเงินทุนการรณรงค์ สวัสดิการบริษัท ภาวะโลกร้อน ความไม่เสมอภาคด้านรายได้ สิทธิแอลจีบีที การลาเลี้ยงบุตร (parental leave) และการประกันสุขภาพถ้วนหน้า แซนเดอร์สวิจารณ์นโยบายต่างประเทศสหรัฐมาอย่างยาวนานและเป็นผู้คัดค้านคนแรก ๆ และเปิดเผยซึ่งสงครามอิรัก สงครามอ่าวเปอร์เซีย และการสนับสนุนคอนทราสในประเทศนิการากัว เขายังเปิดเผยเรื่องเสรีภาพและสิทธิพลเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลือกปฏิบัติต่อเชื้อชาติในระบบยุติธรรมอาญา ตลอดจนสนับสนุนสิทธิภาวะเฉพาะส่วนตัวต่อนโยบายสอดส่องดูแลสาธารณะอย่างรัฐบัญญัติความรักปิตุภูมิสหรัฐและโครงการสอดส่องดูแลของเอ็นเอสเอ

แซนเดอร์สประกาศการรณรงค์เพื่อเสนอชื่อให้เลือกประธานาธิบดีพรรคเดโมแครตเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2016 แซนเดอร์สชนะการเลือกตั้งไพรมารีและการประชุมลับ 23 ครั้งและผู้แทนให้คำมั่นประมาณ 43% เทียบกับ 55% ของคลินตัน การรณรงค์ของเขาขึ้นชื่อเรื่องความกระตือรือร้นของผู้สนับสนุนเขา ตลอดจนการปฏิเสธการบริจาคครั้งใหญ่จากบริษัท อุตสาหกรรมการเงินและคณะกรรมการทำงานการเมืองที่เกี่ยงข้องใด ๆ วันที่ 12 กรกฎาคม 2016 แซนเดอร์สสนับสนุนคลินตันต่อคู่แข่งการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปจากพรรครีพับลิกัน ดอนัลด์ ทรัมป์ ขณะที่กระตุ้นให้ผู้สนับสนุนเขาสานต่อการรณรงค์ "การปฏิวัติการเมือง" ของเขาที่เริ่มต้นแล้ว เขาตั้งองค์การ 501(c) ชื่อ การปฏิวัติของเรา เพื่อระดมและสนับสนุนผู้สมัครสำหรับตำแหน่งระดับท้องถิ่น รัฐและชาติ

ประวัติ[แก้]

ประวัติทางการเมือง[แก้]

อ้างอิง[แก้]