ข้ามไปเนื้อหา

เบลชัสซาร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เบลชัสซาร์
มกุฎราชกุมารแห่งบาบิโลน
พงศาวดารนาโบนีดุส ข้อความบาบิโลนโบราณที่บันทึกเรื่องราวการครองราชย์ของพระราชบิดาของเบลชัสซาร์และบันทึกช่วงเวลาที่เบลชัสซาร์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในบาบิโลน
สวรรคต12 ตุลาคม 539 ปีก่อน ค.ศ. (?)
บาบิโลน (?)
แอกแคดBēl-šar-uṣur
ราชวงศ์ราชวงศ์แคลเดีย
(สายพระราชมารดา) (?)
พระราชบิดานาโบนีดุส
พระราชมารดานิโตคริส (?)
(พระราชธิดาในพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ที่ 2) (?)

เบลชัสซาร์ (อังกฤษ: Belshazzar; อักษรรูปลิ่มบาบิโลน:   Bēl-šar-uṣur,[1][2] หมายถึง "เบล พิทักษ์กษัตริย์";[3] ฮีบรู: בֵּלְשַׁאצַּר Bēlšaʾṣṣar) เป็นพระราชโอรสและมกุฎราชกุมารของนาโบนีดุส (ค. 556 – 539 ปีก่อน ค.ศ.) กษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งจักรพรรดิบาบิโลเนียใหม่ พระองค์อาจเป็นพระราชนัดดาในพระเจ้าเนบูคัดเนซซาร์ที่ 2 (ค. 605 – 562 ปีก่อน ค.ศ.) ผ่านพระราชมารดา แม้ว่าสิ่งนี้มีความไม่แน่นอน และการอ้างว่าเป็นเครือญาติกับเนบูคัดเนสซาร์อาจมีต้นตอมาจากการโฆษณาชวนเชื่อของเชื้อพระวงศ์

เบลชัสซาร์มีบทบาทสำคัญในการรัฐประหารโค่นล้มพระเจ้าลาบาชี-มาร์ดุก (ค. 556 ปีก่อน ค.ศ.) และนำนาโบนีดุสขึ้นมามีอำนาจใน 556 ปีก่อน ค.ศ. เนื่องจากเบลชัสซาร์เป็นผู้ได้รับผลประโยชน์หลักจากการรัฐประหาร ด้วยการยึดและสืบทอดมรดกที่ดินและความมั่งคั่งของลาบาชี-มาร์ดุก จึงเป็นไปได้ว่าพระองค์เป็นหัวหน้าผู้วางแผน เบลชัสซาร์ทำให้ตัวพระองค์เป็นรัชทายาทในการขึ้นครองราชบัลลังก์ผ่านการประกาศให้พระบิดาของตนเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ เนื่องจากนาโบนีดุสมีพระชนมพรรษาค่อนข้างมากในเวลานั้น เบลชัสซาร์จึงคาดว่าจะได้ขึ้นครองราชย์ภายในไม่กี่ปี

นาโบนีดุสหายไปจากบาบิโลนใน "การเนรเทศ" ตนเองที่ตัยมาอ์ในอาระเบียเมื่อ 553 ถึง 543 หรือ 542 ปีก่อน ค.ศ. โดยไม่ทราบเหตุผล ด้วยระยะเวลาที่พระราชบิดาหายตัวไปเป็นเวลาทศวรรษ เบลชัสซาร์จึงดำรงตำแหน่งอุปราชที่บาบิโลน เบลชัสซาร์ได้รับมอบหมายให้ดูแลสิทธิพิเศษต่าง ๆ ของราชวงศ์ เช่น การมอบสิทธิพิเศษ การบัญชาการกองทัพบางส่วน และรับเครื่องบูชาและคำสาบาน แม้ว่าพระองค์ยังคงได้รับตำแหน่งเป็นมกุฎราชกุมาร (mār šarri, แปลว่า "โอรสกษัตริย์") ก็ตาม โดยไม่ถือตำแหน่งกษัตริย์ (šarru) เบลชัสซาร์ยังขาดสิทธิพิเศษหลายประการในการเป็นกษัตริย์ ส่วนที่สำคัญที่สุดคือพระองค์ไม่ได้รับอนุญาตให้ดำรงตำแหน่งประธานและปฏิบัติหน้าที่ในเทศกาลปีใหม่บาบิโลนที่เป็นสิทธิพิเศษของกษัตริย์ ชะตากรรมของเบลชัสซาร์ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าพระองค์ถูกสังหารในช่วงการรุกรานบาบิโลเนียของเปอร์เซียโดยพระเจ้าไซรัสมหาราชเมื่อ 539 ปีก่อน ค.ศ. คาดว่าเกิดขึ้นในช่วงการล่มสลายของบาบิโลนเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 539 ปีก่อน ค.ศ.

เบลชัสซาร์เป็นตัวละครหลักในเรื่องราวงานเลี้ยงของเบลชัสซาร์จากหนังสือดาเนียล[4] ซึ่งนักวิชาการถือว่าเป็นผลงานนวนิยายประวัติศาสตร์[5][6][7] เบลชัสซาร์ของดาเนียลไม่ได้ชั่วร้าย (เช่น พระองค์พระราชทานรางวัลแก่ดาเนียลจากการตีความ "คำเขียนบนผนังวัง") แต่ธรรมเนียมยิวยุคหลังแสดงเบลชัสซาร์เป็นทรราชผู้กดขี่ชาวยิว[8]

ชีวประวัติ

[แก้]

ภูมิหลัง

[แก้]
จารึกแสดงนาโบนีดุส พระราชบิดาของเบลชัสซาร์

เบลชัสซาร์เป็นพระราชโอรสในนาโบนีดุส[9] ข้าราชบริพารสูงอายุผู้กลายเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายของจักรวรรดิบาบิโลเนียใหม่ มีทฤษฎีเกี่ยวกับต้นกำเนิดของนาโบนีดุส และในทางกลับกันว่าพระองค์อ้างสิทธิราชบัลลังก์อย่างไร เนื่องจากไม่มีแหล่งข้อมูลร่วมสมัยใดระบุไว้ชัดเจน เป็นไปได้ว่านาโบนีดุสสมรสกับพระราชธิดาองค์หนึ่งของเนบูคัดเนสซาร์ที่ 2 การเชื่อมโยงนี้ไม่เพียงแค่อธิบายถึงการก้าวขึ้นสู่บัลลังก์ของนาโบนีดุส (เนื่องจากเป็นสมาชิกเชื้อพระวงศ์) เท่านั้น แต่ยังอธิบายถึงธรรมเนียมทางประวัติศาสตร์ในเวลาต่อมาที่ระบุถึงเบลชัสซาร์ว่าเป็นลูกหลานของเนบูคัดเนซซาร์อีกด้วย ในหนังสือดาเนียลจากคัมภีร์ฮีบรู เบลชัสซาร์ได้รับการเรียกขานเป็นพระราชนัดดาในเนบูคัดเนสซาร์[10] แนวทางอีกแบบที่เป็นไปได้คือธรรมเนียมในยุคหลังที่บอกว่าเบลชัสซาร์เป็นลูกหลานของเนบูคัดเนสซาร์นั้นได้มาจากการโฆษณาชวนเชื่อของราชวงศ์ และไม่มีความเกี่ยวข้องกันกับราชวงศ์แคลเดียที่เคยปกครองพื้นที่นี้[1]

เฮโรโดตุส นักประวัติศาสตร์ชาวกรีกโบราณ ระบุถึง "ราชินีผู้ยิ่งใหญ่องค์สุดท้าย" ของจักรวรรดิบาบิโลนเป็นนิโตคริส แม้ว่าพระนามนั้น (หรือพระนามอื่น) ไม่ได้รับการยืนยันจากข้อมูลบาบิโลนร่วมสมัย คำอธิบายเกี่ยวกับนิโตคริสของเฮโรโดตุสมีข้อมูลในตำนานมากมาย ทำให้ยากต่อการระบุว่าเขาใช้ชื่อนี้เพื่ออ้างถึงพระมเหสีหรือพระราชมารดาของนาโบนีดุส แต่ใน ค.ศ. 1982 William H. Shea เสนอว่าเบื้องต้นอาจระบุนิโตคริสเป็นพระนามพระมเหสีของนาโบนีดุสและเป็นพระนามพระราชมารดาของเบลชัสซาร์[11]

ข้อมูลที่สำคัญมากที่สุดสำหรับช่วงเวลาของเบลชัสซาร์คือพงศาวดารนาโบนีดุส ทรงกระบอกไซรัส และทรงกระบอกของนาโบนีดุส—ซึ่งแม้จะมีชื่อนี้ แต่เป็นผลงานที่ได้รับการมอบหมายจากพระเจ้าไซรัสมหาราช ผู้พิชิตชาวเปอร์เซีย[12] เนื่องจากเอกสารบาบิโลนโบราณเหล่านี้ทั้งหมดเขียนขึ้นหลังบาบิโลนถูกจักรวรรดิอะคีเมนิดเข้ายิดครอง ทำให้ข้อมูลเหล่านี้มีอคติไปทางเชิดชูไซรัส และประณามนาโบนีดุสและเบลชัสซาร์[13]

การสมคบคิดและการขึ้นครองราชย์ของนาโบนีดุส

[แก้]

สิ่งสืบทอด

[แก้]

การพรรณนาในหนังสือดาเนียล

[แก้]
ภาพวาดรายงานพระคัมภีร์เกี่ยวกับเบลชัสซาร์ทอดพระเนตรเห็น "คำเขียนบนผนังวัง" โดยแร็มบรันต์

ในหนังสือดาเนียล เบลชัสซาร์ (ฮีบรู: בֵּלְשַׁאצַּר, Bēlšaʾṣṣar)[1] มีบทบาทสำคัญในเรื่องราวงานเลี้ยงของเบลชัสซาร์ เรื่องราวที่เปลี่ยนจากเรื่องความอัปยศของเนบูคัดเนสซาร์ที่แสดงให้เห็นว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้ากษัตริย์ไม่ขออภัยโทษ[14] ในงานเลี้ยง ชาวบาบิโลนกินและดิ่มจากภาชนะที่มาจากพระวิหารของพระเจ้า และ"กษัตริย์"เบลชัสซาร์ทอดพระเนตรเห็นมือเขียนคำว่า เมเน เมเน เทเคล ฟารสิน บนผนังวัง[15] ดาเนียลตีความรูปเขียนเป็นคำตัดสินจากพระยาห์เวห์ พระเจ้าของชาวอิสราเอล ทำนายถึงการล่มสลายของบาบิโลน[16] ดาเนียลกล่าวแก่เบลชัสซาร์ว่า เนื่องจากพระองค์ไม่ถวายเกียรติแด่พระเจ้า อาณาจักรของพระองค์จะถูกยกให้แก่ชาวมีเดียและเปอร์เซีย[15] เบลชัสซาร์ถูกปลงพระชนม์ในคืนนั้น และดาริอัสชาวมีเดียเข้ายึดครองอาณาจักร[17]

ภาพวาดเบลชัสซาร์ทอดพระเนตรเห็น "คำเขียนบนผนังวัง" โดย Adolf Hult (1919)

บรรดานักวิชาการมีความความเห็นพ้องกันอย่างกว้างขวางว่าหนังสือดาเนียลถูกรวบรวมขึ้นหลังกบฏมัคคาบีในทศวรรษ 160 ก่อน ค.ศ. เพียงไม่นาน[7] เรื่องราวงานเลี้ยงเบลชัสซาร์เป็นนวนิยายประวัติศาสตร์ และรายละเอียดหลายแห่งไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์[5][6] เบลชัสซาร์ได้รับการพรรณาเป็นพระมหากษัตริย์แห่งบาบิโลน และ"พระราชโอรส"ในเนบูคัดเนสซาร์ แม้ว่าที่จริงพระองค์เป็นพระราชโอรสในนาโบนีดุส ผู้สืบทอดองค์หนึ่งของเนบูคัดเนสซาร์ และไม่มีวันได้เป็นกษัตริย์โดยชอบธรรมโดยพระองค์เอง และไม่เคยทรงนำการเฉลิมฉลองทางศาสนาตามที่กษัตริย์จำเป็นต้องทำ[6] ในเรื่องราวนี้ ผู้พิชิตที่ได้รับบาบิโลนคือดาริอัสชาวมีเดีย แต่ในประวัติศาสตร์กลับไม่ปรากฏบุคคลดังกล่าว และผู้รุกรานที่แท้จริงคือชาวเปอร์เซีย[6] นี่เป็น "เรื่องเล่าการต่อสู้ในราชสำนัก" แบบทั่วไปที่ความถูกต้องทางประวัติศาสตร์ไม่ใช่องค์ประกอบที่สำคัญ[18]

การพรรณนาในธรรมเนียมยิวยุคหลัง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 Chavalas 2000, p. 164.
  2. Glassner 2004, p. 232.
  3. Shea 1988, p. 75.
  4. Collins 1984, p. 41.
  5. 5.0 5.1 Laughlin 1990, p. 95.
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 Seow 2003, pp. 4–6.
  7. 7.0 7.1 Collins 2002, p. 2.
  8. Seow 2003, p. 7.
  9. Briant 2002, p. 32.
  10. Wiseman 1991, p. 244.
  11. Shea 1982, pp. 137–138.
  12. Waters 2014, p. 43.
  13. Beaulieu 1989, p. 172.
  14. Collins 1984, p. 70.
  15. 15.0 15.1 Seow 2003, pp. 75.
  16. Collins 1984, p. 67.
  17. Albertz 2003, pp. 18–19.
  18. Collins 1984, p. 41,67.

บรรณานุกรม

[แก้]

 บทความนี้นำข้อความมาจากสิ่งพิมพ์ที่ปัจจุบันเป็นสาธารณสมบัติSinger, Isidore; และคณะ, บ.ก. (1901–1906). "Belshazzar". The Jewish Encyclopedia. New York: Funk & Wagnalls.