เนินความโน้มถ่วง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
น้ำไหลขึ้นเนินที่แมกเนติกฮิลล์ในเมืองมองก์ตัน ประเทศแคนาดา
เนินความโน้มถ่วง, มองก์ตัน, ประเทศแคนาดา

เนินความโน้มถ่วง (อังกฤษ: gravity hill) หรือ เนินแม่เหล็ก (magnetic hill) หรือ เนินพิศวง (mystery hill) เป็นพื้นที่ที่สภาพแวดล้อมก่อให้เกิดภาพลวงตา ส่งผลให้ตีนเนินดูเหมือนมีความชันเสมือนเป็นยอดเนิน ดังนั้นเมื่อจอดรถโดยไม่เข้าเกียร์จะทำให้รถไหลขึ้นเนินเหมือนต้านความโน้มถ่วง[1] มีเนินความโน้มถ่วงที่เป็นที่รู้จักหลายร้อยแห่งทั่วโลก

ความชันของเนินความโน้มถ่วงนั้นเป็นภาพลวงตา[2] แม้จะมีการอ้างบ่อยครั้งว่าเนินเหล่านี้เกิดจากพลังแม่เหล็กหรืออำนาจเหนือธรรมชาติ แต่ปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ก่อให้เกิดภาพลวงตาคือเส้นขอบฟ้าถูกบดบังเกือบหรือทั้งหมด นอกจากนี้วัตถุที่ผู้สังเกตใช้ตัดสินความตั้งฉากกับพื้นอย่างต้นไม้อาจเอน ส่งผลให้การรับรู้ความชันผิดพลาด[3]

ภาพลวงตาของเนินความโน้มถ่วงคล้ายกับห้องเอมส์ที่เมื่อมองจากด้านหน้าจะเห็นเป็นสี่เหลี่ยมมุมฉาก แต่ในความเป็นจริงห้องมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมคางหมูที่บิดเบี้ยว ส่งผลให้ผู้สังเกตเห็นวัตถุมีขนาดเปลี่ยนไปมาเมื่อย้ายจากมุมหนึ่งมายังอีกมุมหนึ่งของห้อง[4]

ปรากฏการณ์ตรงข้ามกับเนินความโน้มถ่วงคือ false flat ซึ่งเป็นทางขึ้นเนินที่เหมือนทางเรียบในการแข่งขันจักรยาน[5]

อ้างอิง[แก้]

  1. University of California Riverside article on phenomenon
  2. Bressan, Paola; Garlaschelli, Luigi; Barracano, Monica (2003). "Antigravity Hills are Visual Illusions". Psychological Science (ภาษาอังกฤษ). 14 (5): 441–449. doi:10.1111/1467-9280.02451. PMID 12930474. S2CID 10405595. Free full text
  3. "The Mysterious Gravity Hill:Physicists Show "Antigravity" Mystery Spots Are Optical Illusions". ScienceDaily.com. Science Daily. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-17.{{cite web}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  4. "This optical illusion will make you doubt your eyes". ZME Science. February 6, 2017. สืบค้นเมื่อ October 8, 2021.
  5. Schweikher, Erich; Diamond, Paul, บ.ก. (2007), Cycling's Greatest Misadventures, Casagrande Press LLC, p. 114, ISBN 978-0-9769516-2-9, สืบค้นเมื่อ July 20, 2013