เธราโนส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เธราโนส
ชื่อเดิมReal-Time Cures
ประเภทบริษัทเอกชน
อุตสาหกรรมดูแลสุขภาพ
ก่อตั้งค.ศ. 2003
ผู้ก่อตั้งเอลิซาเบธ โฮล์ม
เลิกกิจการ4 กันยายน ค.ศ. 2018
สาเหตุถูกยุบและชำระหนี้; ผู้ก่อตั้งถูกตั้งข้อหาการฉ้อโกงทางโทรเลขและการสมรู้ร่วมคิด
สำนักงานใหญ่,
สหรัฐ
บุคลากรหลัก
ผลิตภัณฑ์การตรวจเลือด
บริการการทดสอบทางการแพทย์
เว็บไซต์theranos.com ที่ เวย์แบ็กแมชชีน (เก็บถาวร สิงหาคม 28, 2018)
เชิงอรรถ / อ้างอิง
[1]

เธราโนส (อังกฤษ: Theranos, /ˈθɛrəns/) เป็นบริษัทเอกชนสัญชาติอเมริกัน[2] ซึ่งอ้างว่าได้พัฒนาการตรวจเลือดที่ใช้ปริมาณเลือดเพียงเล็กน้อยมาก อย่างไรก็ตาม มีการพิสูจน์แล้วว่าข้ออ้างเหล่านี้เป็นเท็จ[3][4][5]

บริษัทนี้ก่อตั้งใน ค.ศ. 2003 โดยเอลิซาเบธ โฮล์ม[6] เธราโนสเคยได้เงินจากธุรกิจเงินร่วมลงทุนและนักลงทุนเอกชนมากกว่า 700 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[7] ทำให้บริษัทมีการประเมินผลในจุดสูงสุดเมื่อ ค.ศ. 2013 - 2014 อยู่ที่ 10 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ[8][9]

หลังจากนั้นเริ่มมีจุดพลิกผันใน ค.ศ. 2015 เมื่อศาสตราจารย์การวิจัยยา จอห์น อีโออานีดีสและEleftherios Diamandis กับนักข่าวสืบสวนจอห์น แคร์รีรูจากเดอะวอลล์สตรีทเจอร์นัล เรื่มตั้งคำถามถึงความเที่ยงตรงของเทคโนโลยีบริษัท ทำให้ต้องเจอความท้าทายทางกฎหมายและการค้าจากหน่วยงานทางการแพทย์, นักลงทุน, สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์สหรัฐ (SEC), ศูนย์บริการเมดิแคร์และเมดิเคด (CMS), อัยการสูงสุด, อดีตคู่ค้า ผู้ป่วย และอื่น ๆ[10] ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2016 มีการประมาณการว่ามูลค่าสินทรัพย์สุทธิส่วนตัวของโฮล์มลดลงจาก 4.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจนถึงไม่มีอะไรเหลือเลย[11] ทำให้บริษัทต้องปิดตัวลงในวันที่ 4 กันยายน ค.ศ. 2018[12]

ในวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ. 2018 ทาง SEC ตั้งความผิดฐานฉ้อโกงให้กับเธราโนส, โฮล์ม และอดีตประธานบริษัท ราเมศ บัลวานี[13] ในวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ. 2018 อัยการสหรัฐประจำอำเภอทางเหนือของรัฐแคลิฟอร์เนียประกาศฟ้องโฮล์มในข้อหาการฉ้อโกงทางโทรเลขและสมรู้ร่วมคิด บัลวานีก็โดนข้อหาเดียวกัน[14] โดยจัเริ่มไต่สวนในเดือสิงหาคม ค.ศ. 2020[15] แต่ต้องเลื่อนเนื่องจากการระบาดทั่วของโควิด-19และโฮล์มตั้งท้อง การไต่สวนของโฮล์มเริ่มขึ้นในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 2021[16] ในขณะที่การไต่สวนของบัลวานีถูกเลื่อนไปถึงวันที่ 11 มกราคม ค.ศ. 2022[17]

อ้างอิง[แก้]

  1. Mukherjee, Sy (April 10, 2018). "Report: Theranos Just Laid Off the Vast Majority of Its Employees". Fortune. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 8, 2021. สืบค้นเมื่อ June 19, 2019.
  2. "Amended Statement by Foreign Corporation" (PDF). California Secretary State Business Search. April 21, 2004. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 8, 2021. สืบค้นเมื่อ June 19, 2019. C2651481
  3. Bilton, Nick (September 6, 2016). "Exclusive: How Elizabeth Holmes's House of Cards Came Tumbling Down". Vanity Fair. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 3, 2017. สืบค้นเมื่อ June 19, 2019.
  4. Carreyrou, John (2018). Bad Blood: Secrets and Lies in a Silicon Valley Startup. Knopf Doubleday Publishing Group. ISBN 9781524731663.
  5. Levine, Matt (March 14, 2018). "The Blood Unicorn Theranos Was Just a Fairy Tale". Bloomberg View. สืบค้นเมื่อ June 19, 2019.
  6. Rago, Joseph (September 8, 2013). "Elizabeth Holmes: The Breakthrough of Instant Diagnosis". The Wall Street Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 8, 2021. สืบค้นเมื่อ June 19, 2019.
  7. Salzman, Avi. "Theranos: From Unicorn Hype to 'Massive Fraud'". Barron's. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 8, 2021. สืบค้นเมื่อ June 19, 2019.
  8. Parloff, Roger (June 12, 2014). "This CEO is out for blood". Fortune. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ October 7, 2019. สืบค้นเมื่อ June 19, 2019.
  9. Johnson, Carolyn Y. (October 15, 2015). "The wildly hyped $9 billion blood test company that no one really understands". The Washington Post. ISSN 0190-8286. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 8, 2021. สืบค้นเมื่อ June 19, 2019.
  10. Ableson, Reed; Pollack, Andrew (April 18, 2016). "Theranos Under Federal Criminal Investigation, Adding to Its Woes". The New York Times. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 8, 2021. สืบค้นเมื่อ June 19, 2019.
  11. Herper, Matthew (June 1, 2016). "From $4.5 Billion To Nothing: Forbes Revises Estimated Net Worth of Theranos Founder Elizabeth Holmes". Forbes. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 16, 2019. สืบค้นเมื่อ June 1, 2016.
  12. Carreyrou, John. "Blood-Testing Firm Theranos to Dissolve". The Wall Street Journal. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ April 14, 2020. สืบค้นเมื่อ September 5, 2018.
  13. della Cava, Marco (March 14, 2018). "She was 'the next Steve Jobs.' Now, Theranos founder Elizabeth Holmes is charged with fraud". USA Today. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 15, 2018. สืบค้นเมื่อ March 14, 2018.
  14. O'Brien, Sarah Ashley. "Elizabeth Holmes indicted on wire fraud charges, steps down from Theranos". CNN. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 8, 2021. สืบค้นเมื่อ June 19, 2019.
  15. "Theranos founder Elizabeth Holmes to stand trial in 2020". TechCrunch (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 8, 2021. สืบค้นเมื่อ 2019-06-30.
  16. Khorram, Yasmin. "Elizabeth Holmes trial pushed to August following surprise pregnancy announcement". cnbc.com. CNBC. สืบค้นเมื่อ 4 June 2021.
  17. Beale, Stephen (February 22, 2021). "Theranos CEO Elizabeth Holmes Trial Delayed Again, This Time Due to COVID-19 Restrictions, as Lawyers Battle Over Destroyed Clinical Laboratory Test Evidence". Dark Daily. สืบค้นเมื่อ March 9, 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]