เท็นเดอร์กริลล์ ชิกเก้น แซนด์วิช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
TenderGrill chicken sandwich
The North American version of the
TenderGrill sandwich, as of November 2013.
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 1 sandwich (425 g)
พลังงาน510 กิโลแคลอรี (2,100 กิโลจูล)
49 g
น้ำตาล15 g
ใยอาหาร0 g
19 g
อิ่มตัว3.5 g
ทรานส์0.5 g
37 g
แร่ธาตุ
โซเดียม
(79%)
1180 มก.
องค์ประกอบอื่น
Energy from fat124 kcal (520 kJ)
Cholesterol75 mg

May vary outside US market.
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: www.BK.com (PDF)

ตั้งแต่ปี 1990 ร้านอาหารจานด่วนสัญชาติต่างชาติ เบอร์เกอร์คิง (Burger King) และร้านแฟรนชายส์ ภายใต้สัญชาติออสเตรเลียในนาม “Hungry Jack’s” ได้ก่อตั้งขึ้น โดยในยุคเริ่มต้นของกลุ่มผลิตภัณฑ์เริ่มจากการมีแซนวิชไก่ย่างสารพัดรูปแบบ เริ่มด้วย บีเค บรอย์เลอร์ (BK Broiler) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์แรก และเป็นผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในตลาดอาหารจานด่วนในขณะนั้น แต่หลังจากนั้น 2 ปียอดขายได้ตกลง ทำให้มีการปรับปรุงและคิดค้นสูตรใหม่ๆ พร้อมกับการเปลี่ยนชื่อเป็น ชิกเก้น วอปเปอร์ (Chicken Whopper) เพื่อให้สอดคล้องกับอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ใหม่คือ วอปเปอร์ แซนด์วิช (Whopper Sandwich) และหลังจากนั้นได้มีการเปลี่ยนเจ้าของอีกครั้งในปี 2004 ทำให้มีการปรับปรุงและคิดค้นสูตรใหม่ๆ เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์นั่นก็คือ บีเค บักเก็ท (BK Baguette) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่เพื่อเน้นสุขภาพ จากคิดค้นสูตรใหม่นี้ ไม่ได้เป็นที่ชื่นชอบของลูกค้าเท่าใดนัก จึงได้มีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ทดแทนผลิตภัณฑ์เดิม นั่นก็คือ เท็นเดอร์กริลล์ ชิกเก้น แซนด์วิช (TenderGrill Chicken Sandwich) ในปี 2005 โดย เท็นเดอร์กริลล์ แซนด์วิช ได้ออกมาเป็นชุด ด้วยการเพิ่มผลิตภัณฑ์ในรายการอาหารที่มีความหลากหลาย ไซด์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ด้วยราคาที่ยุติธรรม และยังมีผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเนื้อวัว ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ใหญ่อายุ 24-36 ปี นอกจากนี้ Burger King ยังเป็นร้านอาหารจ่านด่วนเจ้าแรกที่นำแซนด์วิชไก่ย่างเข้าสู่มาร์เก็ทเพลสต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งชุมชนที่ผู้คนมาพบปะกัน โดยแซงหน้าคู่แข่งอย่าง เว็นดี้ (Wendy) ไป 6 เดือน และ แมคโดนัลด์ (McDonald) ไป 4 ปี

บริษัทฯ มีการขายแซนด์วิชแบบต่างๆ ออกสู่ตลาดต่างประเทศ โดยการใช้อกไก่ขาวในบางภูมิภาค และใช้อกไก่ดำบ้างในบางภูมิภาค เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องให้ลูกค้าสนใจในผลิตภัณฑ์ และ เบอร์เกอร์ คิงส์ ได้ใช้โอกาสนี้ในการออกแซนด์วิชไก่ย่างสูตรใหม่ซึ่งมีส่วนผสมที่แตกต่างจากสูตรปกติ โดยได้มีการจำกัดระยะเวลาการขาย และเพื่อเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์หลักที่ใช้ในการโฆษณาที่สำคัญของบริษัทก็คือแซนด์วิชไก่ย่าง นอกจากนี้เบอร์เกอร์ คิงส์ ได้มีการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าผลิตภัณฑ์การค้าระดับโลกต่างๆ เพื่อคุ้มครองสิทธิ์ทางปัญญาและสูตรต่างๆที่ได้คิดค้นมา

ประวัติ[แก้]

บีเค บรอย์เลอร์[แก้]

ในปี 1990 แซนด์วิชไก่ย่างกะทะร้อน (ไก่ย่างประเภทหนึ่งที่การย่างใช้ความร้อนจากด้านบน) เบอร์เกอร์ คิงส์ เริ่มแนะนำให้เป็นที่รู้จักกันในชื่อของ บีเค บรอย์เลอร์[1][2] แซนด์วิชนี้ประกอบไปด้วย ผักกาดหอม มะเขือเทศ ราดด้วยซอสผักชีฝรั่ง เสริฟพร้อม แผ่นข้าวโอ๊ตบดม้วน[3] ซึ่งผลิตภัณฑ์ประเภทไก่ที่ออกมาใหม่นี้ ได้ออกมาเวลาพอดีกับรอบของการเปลี่ยนแปลงสำหรับผลิตภัณฑ์ประเภทไก่ ในอุตสาหกรรมร้านอาหารพอดี โดยที่ 90 เปอร์เซนต์ของผลิตภัณฑ์ประเภทไก่ที่คิดค้นนี้ ได้ถูกขายให้กับร้านอาหารที่เน้นขายอาหารประเภททอด และไม่นานภายใต้การแนะนำ ทำให้แซนด์วิชนี้ขายดีเกินหนึ่งล้านชิ้นต่อวัน ขายดีกว่าไก่ทอดเคนตั๊กกี้ ฟรายด์ ชิกเก้น[4] ซึ่งที่เป็นที่นิยมในขณะนั้น นอกเหนือไปกว่านั้นแซนด์วิชเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่แนวโน้มอุตสาหกรรมเน้นไปในทางการปรับเปลี่ยนรายการอาหารเป็นอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น ด้วยการปรับปรุงสูตรในการทำอาหารใหม่ๆ หรือการทำเป็นสลัด[5] ซึ่งแซนวิช 1 ชิ้นประกอบไปด้วยพลังงาน 379 แคลลอรี่ และไขมัน 18 กรัม ซึ่ง 10 เปอร์เซนต์ ซึ่งจากทั้งหมดมาจากซอส[6]

บีเค บรอย์เลอร์ หนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่มีการเปิดตัวที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในอุตสาหกรรมร้านอาหารขณะนั้น ทำให้บริษัทส่งเสริมให้มีการแนะนำผลิตภัณฑ์เพิ่มเติมโดยให้สัมพันธ์กับการประสบความสำเร็จของ บีเค บรอย์เลอร์[7] ยิ่งไปกว่านั้นความสำเร็จของผลิตภัณฑ์ได้รับการยกย่องจากนักวิเคราะห์หลักทรัพย์จาก เชียร์ซัน เลห์แมน ฮัทตั้น ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่ช่วยให้เบอร์เกอร์คิงตระหนักถึงอัตรากำไรที่เพิ่มขึ้น 47% ในช่วงเวลาเดียวกันในปี 1989[8] โดยในปี 1992 การขาย บีเค บรอย์เลอร์ ได้ชะลอตัวลงถึงครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับในช่วงของการแนะนำผลิตภัณฑ์ในตอนต้น[9]


ในปี 1998 ทางบริษัทฯ ได้มีการปรับปรุงและคิดค้นสูตร บีเค บรอย์เลอร์ ขึ้นใหม่ โดยปรับไซส์ให้ใหญ่ขึ้น เป็นแซนด์วิชสำหรับคุณผู้ชาย เสริฟพร้อมขนมปังขนาดใหญ่ และนอกเหนือจากการเพิ่มขนาดของแป้ง ในขณะเดียวกันก็มีการปรับในส่วนของส่วนผสมพวกมายองเนส ผักกาดหอม และมะเขือเทศไปด้วยในตัว เบื้องหลังความคิดของการปรับขนาดของผลิตภัณฑ์ในครั้งนี้ เพื่อให้ลูกค้ารู้สึกดีถึงความคุ้มค่า จากการกล่าวของโฆษกของบริษัท “เมื่อลูกค้าเห็นว่าไซด์มีขนาดใหญ่ขึ้น มันดูคุ้มค่าสำหรับเงินที่เขาจ่ายไป และถ้าเขากินไม่หมด ก็ไม่เป็นไร” การเปลี่ยนแปลงของบริษัทฯ ในครั้งนี้เป็นการปรับให้กลับมาสู่สามัญ ด้วยการจัดรายการอาหารใหม่ เน้นที่ผลิตภัณฑ์หลัก และลดความซับซ้อนของผลิตภัณฑ์[10]

ชิกเก้น วอปเปอร์ (Chicken Whopper)[แก้]

An example of the Chicken Whopper Jr. (left) and the Chicken Whopper.

ในปี 2002 เป็นวาระที่วอปเปอร์ แซนด์วิช ครบรอบ 45 ปี บีเคได้แนะนำแซนด์วิชออกใหม่ เรียกกันว่า ชิกเก้นท์ แซนด์วิช และอีกหนึ่งแซนด์วิชที่มีขนาดเล็กกว่าเรียกว่า ชิกเก้นท์ วอปเปอร์ เจอาร์ แซนด์วิช (Chicken Whopper Jr. Sandwich) ที่ประกอบด้วยซีซ่าร์สลัดและเนื้อไก่ไร้มันแบบไม่มีกระดูก[11][12][13] ซึ่ง ชิกเก้นท์ วอปเปอร์ นี้เป็นช่วงแนะนำของบริษัท ก่อนที่จะขยายไปยัง แซนด์วิช วอปเปอร์ เนื้อวัว ซึ่งกลายเป็นต้นตำรับสำหรับในช่วงแนะนำในปี 1950[14] สำหรับแซนด์วิชขนาดใหญ่จะประกอบไปด้วยเนื้ออกไก่ไร้มันน้ำหนัก 4.7 ออนซ์ (130 กรัม) และสำหรับ ชิกเก้นท์ วอปเปอร์ เจอาร์ แซนด์วิช ประกอบไปด้วยเนื้ออกไก่ไร้มันน้ำหนัก 3.1 ออนซ์ (88 กรัม) มายองเนส ผักกาดหอม และมะเขื่อเทศบนแผ่นงา[15] ซึ่งมายองเนสสูตรไขมันต่ำได้นำมาใช้กับช่วงแนะนำนี้ด้วย[16] พร้อมกันนี้แซนด์วิชใหม่ บีเค เว็จจี้ (BK Veggie) และ ชิกเก้นท์ วอปเปอร์ เจอาร์ แซนด์วิช (Chicken Whopper Jr. Sandwich) ของบริษัทได้รับการยกย่องจากศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อประโยชน์สาธารณะ ให้เป็นหนึ่งในสินค้าที่ดีที่สุดมีชื่อเสียงและมีคุณค่าทางโภชนาการมากที่สุดในตลาดอาหารจานด่วน ซึ่งตรงกันข้ามกับ CSPI ประณามส่วนที่เมนูที่เหลือของเบอร์เกอร์คิง ว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างมาก[17]

ดูเพิ่ม[แก้]

Similar sandwiches by other sellers:

Notes[แก้]

Trademark source information

1. TenderGrill trademarks

1. TenderGrill, IAP trade mark #1359299, IP Australia[ลิงก์เสีย]
2. TenderGrill, CIPO registration #TMA676443, Canadian Intellectual Property Office
3. TenderGrill, IPOGB trade mark #UK00002571572, Intellectual Property Office of Great Britain
4. TenderGrill, IPONZ IP case #, Intellectual Property Office of New Zealand
5. TenderGrill, USPTO serial #76583688, United States Patent and Trademark Office
2. Other trademarks

1. BK Broiler, USPTO serial #74155473, United States Patent and Trademark Office
Notes:
1. British trademarks with the "EU" prefix are European Community wide trademarks.
2. American, European, and New Zealand trademark offices do not allow direct linking of trademark information.

อ้างอิง[แก้]

  1. Carlino, Bill (30 March 1990). "Franchisees on BK Kid's Club: what took so long?". Nation's Restaurant News (subscription required). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-02-22. สืบค้นเมื่อ 6 June 2009.
  2. Bernstein, Charles (15 May 1995). "Fitzjohn Navigates Careful BK International Growth". Restaurants & Institutions Magazine. Reed Business Information. {{cite news}}: |access-date= ต้องการ |url= (help)
  3. Burros, Marian (11 April 1990). "Fast Food Chains Try to Slim Down". New York Times. สืบค้นเมื่อ 23 September 2011.
  4. Ramirez, Anthony (20 March 1990). "Getting Burned By the Frying Pan". New York Times. สืบค้นเมื่อ 23 September 2011.
  5. Burros, Marian (13 March 1991). "Weighing In on the Nutrition Scale". New York Times. สืบค้นเมื่อ 23 September 2011.
  6. Ramirez, Anthony (19 March 1991). "Fast Food Lightens Up But Sales Are Often Thin". New York Times. สืบค้นเมื่อ 23 September 2011.
  7. "Grand Met's Net Up 36%". International Herald Tribune. New York Times. 17 May 1990. สืบค้นเมื่อ 23 September 2011.
  8. Burros, Marian (14 May 1992). "Eating Well". New York Times. สืบค้นเมื่อ 23 September 2011.
  9. Lubow, Arthur (14 April 1998). "Steal this burger". New York Times. สืบค้นเมื่อ 23 September 2011.
  10. Allen, Robin Lee, บ.ก. (18 March 2002). "Crown jewels: New marketing, product rollouts energize BK journey back to fast-food royalty". Nation's Restaurant News (subscription required). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-20. สืบค้นเมื่อ 2014-10-31.
  11. "Burger King Sells 40 Millionth Chicken Whopper" (Press release). Burger King Corporation. 23 May 2003.
  12. Rector, Sylvia (6 November 2002). "Chicken rules fast-food roost". Chicago Tribune. Knight Ridder/Tribune. สืบค้นเมื่อ 23 September 2011.
  13. "Carrols: Chicken Whopper Is A Bust". All Business. Dun & Bradstreet. March 2003. สืบค้นเมื่อ 23 September 2011.
  14. Hoffman, Ken (12 April 2002). "Chicken sandwich grows up to be a Whopper". Huston Chronicle. p. 5. สืบค้นเมื่อ 23 September 2011.
  15. Wahlgren, Eric (9 April 2002). "Burger Makers' Not-So-Meaty Prospects". Business Week. สืบค้นเมื่อ 24 September 2011.
  16. "CSPI Picks the Best and Worst Fast Foods" (Press release). Center for Science in the Public Interest. 21 August 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-22. สืบค้นเมื่อ 24 September 2011.