เทศบาลนครบางบัวทอง
เทศบาลนครบางบัวทอง | |
---|---|
![]() ถนนบางกรวย-ไทรน้อยในเขตเทศบาลนครบางบัวทอง | |
![]() | |
พิกัด: 13°54′36.1″N 100°25′33.8″E / 13.910028°N 100.426056°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | นนทบุรี |
อำเภอ | บางบัวทอง |
จัดตั้ง | • 14 มีนาคม 2480 (ทม.บางบัวทอง) • 20 มกราคม 2568 (ทน.บางบัวทอง) |
การปกครอง | |
• นายกเทศมนตรี | กาญจนา เจริญนนทสิทธิ์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 13.5 ตร.กม. (5.2 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2567)[1] | |
• ทั้งหมด | 52,499 คน |
• ความหนาแน่น | 3,888.81 คน/ตร.กม. (10,072.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัส อปท. | 04120401 |
ที่อยู่ สำนักงาน | เลขที่ 4 หมู่ที่ 2 ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี 11110 |
เว็บไซต์ | www |
![]() |
เทศบาลนครบางบัวทอง เป็นเทศบาลนครในอำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ได้รับการจัดตั้งขึ้นเป็นเทศบาลตั้งแต่ พ.ศ. 2480
ประวัติ
[แก้]เทศบาลเมืองบางบัวทองจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2480 ตามพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเทศบาลเมืองบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2480 เก็บถาวร 2011-10-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน[2] กำหนดท้องที่บางส่วนของตำบลบางบัวทองและตำบลโสนลอย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ให้มีฐานะเป็นเทศบาล มีอาณาเขต 1 ตารางกิโลเมตร โดยมีขุนพิทักษ์ปทุมมาศ ซึ่งเดิมเป็นกำนันตำบลบางบัวทอง เป็นนายกเทศมนตรีคนแรก และนายเลี้ยง ทองไฮ้ กับ หม่อมหลวงแจ่ม อิศรางกูร ณ อยุธยา เป็นเทศมนตรีคณะแรก ต่อมาในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2538 มีการตราพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2538[3] โดยขยายเขตเทศบาลเมืองบางบัวทองจาก 1 ตารางกิโลเมตร เป็น 13.5 ตารางกิโลเมตร
นอกจากนี้ ยังมีกฎหมายระดับชาติอันเกี่ยวแก่เทศบาลเมืองบางบัวทองอีกสองฉบับคือ พระราชกฤษฎีกาให้ใช้พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 ในเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 2503[4] เนื่องจากมีการขยายตัวทั้งการก่อสร้างอาคารและการผังเมืองอย่างมากและอย่างรวดเร็วในท้องที่เทศบาลเมืองบางบัวทอง จึงกำหนดให้บังคับใช้พระราชบัญญัติควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479[5] ในเขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง เพื่อประโยชน์ในความมั่นคงแข็งแรง การอนามัย การสุขาภิบาล การป้องกันอัคคีภัย และการผังเมือง ให้เป็นระเบียบเรียบร้อยต่อไป และพระราชบัญญัติโอนกิจการบริหารบางส่วนของเทศบาลเมืองบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี ไปเป็นของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2526[6] เนื่องจากเทศบาลเมืองบางบัวทองยื่นคำขอให้กระทรวงสาธารณสุขรับโอนสถานีอนามัยชั้น 1 ไปดำเนินการต่อ เนื่องจากเทศบาลเมืองบางบัวทองไม่สามารถดำเนินการให้บริการ รักษาพยาบาลแก่ประชาชน ให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้อีก
ต่อมาเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2566 สภาเทศบาลเมืองบางบัวทองมีมติเห็นชอบให้ยกฐานะเทศบาลเมืองบางบัวทองเป็น เทศบาลนครบางบัวทอง ต่อมาได้มีการสํารวจเจตนารมณ์ของประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในพื้นที่จำนวน 43,218 คน มีผู้ตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับการยกฐานะเทศบาลจำนวน 8,752 คน มีผู้เห็นด้วย 8,514 คน และไม่เห็นด้วย 238 คน และสภาเทศบาลเมืองขอให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 แต่เนื่องจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นเห็นว่าหากมีผลบังคับใช้ในวันดังกล่าว การเลือกตั้งในเทศบาลซึ่งจะต้องจัดขึ้นภายใน 60 วัน จะตรงกับช่วงเทศกาลสงกรานต์ ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่จะเดินทางกลับต่างจังหวัด อาจทำให้มีผู้มาใช้สิทธิ์เลือกตั้งเป็นจํานวนน้อย จึงแก้วันมีผลบังคับใช้เป็นวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2568[7]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]เทศบาลนครบางบัวทองมีระยะทางห่างจากเทศบาลนครนนทบุรีประมาณ 15 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานครตามถนนบางกรวย-ไทรน้อย ประมาณ 22 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตเทศบาลเมืองใหม่บางบัวทอง มีคลองสามวังฝั่งเหนือเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตเทศบาลเมืองพิมลราชและเขตองค์การบริหารส่วนตำบลอ้อมเกร็ด (อำเภอปากเกร็ด) มีเส้นขนานระยะ 100 เมตรจากคลองลำโพฝั่งตะวันออก คลองส่งน้ำชลประทานฝั่งใต้ และคลองบางบัวทองฝั่งตะวันออกเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตเทศบาลเมืองบางรักพัฒนา เขตองค์การบริหารส่วนตำบลบางรักใหญ่ และเขตเทศบาลเมืองบางรักพัฒนา (อีกครั้งหนึ่ง) มีคลองบางรักใหญ่ฝั่งตะวันออก คลองบางพลูฝั่งตะวันออก เส้นขนานระยะ 300 เมตรจากกึ่งกลางถนนรัตนาธิเบศร์ และคลองบางไผ่ฝั่งตะวันตกเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตเทศบาลเมืองบางรักพัฒนา เขตเทศบาลเมืองพิมลราช (อีกครั้งหนึ่ง) และเขตเทศบาลเมืองใหม่บางบัวทอง มีเส้นขนานระยะ 500 เมตรจากกึ่งกลางถนนกาญจนาภิเษกเป็นเส้นแบ่งเขต
เทศบาลนครบางบัวทองครอบคลุมพื้นที่ตำบลโสนลอยทั้งตำบล ตำบลบางบัวทอง (เฉพาะหมู่ที่ 2 และบางส่วนของหมู่ที่ 1, 3) ตำบลบางรักใหญ่ (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1, 2, 6, 7) ตำบลพิมลราช (เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1–3) และตำบลบางรักพัฒนา (เฉพาะหมู่ที่ 1 และบางส่วนของหมู่ที่ 3, 5, 6)
ประชากร
[แก้]ใน พ.ศ. 2567 เขตเทศบาลเมืองบางบัวทอง (ในขณะนั้น) มีประชากร 52,499 คน[1] อาชีพหลักของประชากรในถิ่นนี้คือ ทำสวน รับราชการ รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชน ธุรกิจส่วนตัว รับจ้างทั่วไป และทำงานเอกชนในเขตเทศบาล และบางส่วนเดินทางไปทำงานในกรุงเทพมหานคร
การขนส่ง
[แก้]ถนน
[แก้]- ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ถนนตัดผ่านเขตเทศบาลนครบางบัวทอง
- ถนนรัตนาธิเบศร์ ถนนเข้าสู่เขตเทศบาลนครบางบัวทอง
- ถนนกาญจนาภิเษก ถนนเข้าสู่เขตเทศบาลนครบางบัวทอง
- ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ถนนเชื่อมต่อระหว่างอำเภอไทรน้อยกับเขตเทศบาลนครบางบัวทอง
- ถนนบ้านกล้วย-ไทรน้อย ถนนเชื่อมต่อระหว่างเขตเทศบาลเมืองพิมลราชกับเขตเทศบาลนครบางบัวทอง
- ถนนบางไผ่-หนองเพรางาย (ถนนเต็มรักพัฒนา) ถนนเชื่อมต่อระหว่างท้องถิ่นอื่น ๆ กับเขตเทศบาลนครบางบัวทอง
- ถนนจันทร์ทองเอี่ยม ถนนเชื่อมต่อระหว่างเขตเทศบาลเมืองบางรักพัฒนากับเขตเทศบาลนครบางบัวทอง
รถโดยสารประจำทางและรถไฟฟ้า
[แก้]- 127 บางบัวทอง-สะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า–ถนนข้าวสาร
- 2-29 สถานีคลองบางไผ่–เซ็นทรัลพระราม 2
- 134 เคหะบางบัวทอง–สถานีขนส่งผู้โดยสารกรุงเทพ (จตุจักร)
- 364 บางบัวทอง–ลาดบัวหลวง
- 370 บางบัวทอง–ปทุมธานี
- 337 เดอะมอลล์งามวงศ์วาน–ปทุมธานี
- 516 เคหะบางบัวทอง–เทเวศร์
- 2-36 ไทรน้อย–ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ
- 680 รังสิต–บางใหญ่
- 1024 บางบัวทอง–นนทบุรี (ข้ามสะพานพระนั่งเกล้า)
- 1024ข บางบัวทอง–นนทบุรี (ข้ามสะพานพระราม 5)
- 1003 บางบัวทอง–ท่าน้ำนนทบุรี–บางกรวย, บางบัวทอง–ไทรน้อย
- รถตู้ปรับอากาศ บางบัวทอง–พระปิ่นเกล้า
- รถตู้ปรับอากาศ บางบัวทอง–พงษ์เพชร (งามวงศ์วาน)
- 110 (2-35) เทเวศร์-ประชานิเวศน์ 3
- 2-33 เคหะบางบัวทอง–สถานีรถไฟชุมทางบางซื่อ
- 4-67 มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา–กระทรวงพาณิชย์
- รถตู้ปรับอากาศ บางบัวทอง–ลาดพร้าว (จตุจักร)
- รถไฟฟ้ามหานคร สายสีม่วง
สาธารณูปโภค
[แก้]- ไฟฟ้า อยู่ในเขตการไฟฟ้านครหลวง เขตบางบัวทอง
- ประปา อยู่ในเขตการประปานครหลวง สาขาบางบัวทอง
- โทรศัพท์ อยู่ในเขตบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) เขตบางบัวทอง
- การแพทย์ มีโรงพยาบาลหลายแห่งทั้งของรัฐบาล (เช่น โรงพยาบาลบางบัวทอง) และโรงพยาบาลของเอกชน
- ไปรษณีย์ ดำเนินการโดยที่ทำการไปรษณีย์บางบัวทอง
สถานที่สำคัญ
[แก้]
- วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ คณะสงฆ์จีนนิกายรังสรรค์ (วัดโพธิ์ทองหรือวัดเล่งเน่ยยี่ 2)
- หอนาฬิกาเทศบาลนครบางบัวทอง ตั้งอยู่บริเวณทางเข้าตลาดเทศบาลนครบางบัวทอง เชิงสะพานข้ามคลองพระพิมลราชา
- สวนสาธารณะเทศบาลนครบางบัวทอง
- วัดละหาร
- วัดบางไผ่ พระอารามหลวง
- วัดพระแม่สกลสงเคราะห์ โบสถ์ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก
- มัสยิดนะฮ์ฏอตุลอิสลาห์ สุเหร่าศาสนาอิสลาม
- ตลาดสดเทศบาลนครบางบัวทอง ตั้งอยู่ริมคลองพระพิมล
- โรงพยาบาลบางบัวทอง กระทรวงสาธารณสุข
- ตลาดน้ำพิมลราช ตั้งอยู่ใกล้กับโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระยาบรรลือ
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 สำนักบริหารการทะเบียน. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ระบบสถิติทางการทะเบียน : สถิติจำนวนประชากรและบ้าน ข้อมูล ปี 2567 พื้นที่ จังหวัดนนทบุรี." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statyear/#/TableTemplate3/Area/statpop?yymm=67&ccDesc=จังหวัดนนทบุรี&topic=statpop&ccNo=12 [ม.ป.ป.]. สืบค้น 19 มกราคม 2568.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 54 ตอน 0 ก, 14 มีนาคม พ.ศ. 2480, หน้า 1859–1862. ลงวันที่ 11 มีนาคม ใช้บังคับวันที่ 14 มีนาคม
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 112 ตอน 22 ก, 26 มิถุนายน พ.ศ. 2538, หน้า 1–4. ลงวันที่ 7 มิถุนายน ใช้บังคับวันที่ 27 มิถุนายน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 77 ตอน 77 ก, 20 กันยายน พ.ศ. 2503, หน้า 743–745. ลงวันที่ 6 กันยายน ใช้บังคับวันที่ 21 กันยายน
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 53 ตอน 0 ก, 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2479, หน้า 765–774.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 100 ตอน 55 ก ฉบับพิเศษ, 7 เมษายน พ.ศ. 2526, หน้า 43–45. ลงวันที่ 3 เมษายน ใช้บังคับวันที่ 8 เมษายน
- ↑ "ถึงคิว! มหาดไทย จ่อยกฐานะ 2 ท้องถิ่น จ.นนทบุรี อัปเกรด "เทศบาลนครบางบัวทอง" พ่วงยกฐานะ "เทศบาลเมืองบางใหญ่"". ผู้จัดการออนไลน์. 4 พฤศจิกายน 2024. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)