เทศบาลตำบลศรีรัตนะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลตำบลศรีรัตนะ
ตราอย่างเป็นทางการของเทศบาลตำบลศรีรัตนะ
ตรา
คำขวัญ: 
เมืองน่าอยู่ มีความรู้ คู่คุณธรรม นำเศรษฐกิจ พิชิตความจน
ประเทศ ไทย
จังหวัดศรีสะเกษ
อำเภอศรีรัตนะ
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีสนธิ์ ห่อทรัพย์
พื้นที่
 • ทั้งหมด12.08 ตร.กม. (4.66 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2554)[1]
 • ทั้งหมด4,892 คน
 • ความหนาแน่น382.00 คน/ตร.กม. (989.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05331401
ที่อยู่
สำนักงาน
สำนักงานเทศบาลตำบลศรีรัตนะ บ้านสำโรงระวี หมู่ที่ 15 ถนนสายศรีสะเกษ-เขาพระวิหาร (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 221) ตำบลศรีแก้ว อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ 33240
โทรศัพท์0 4567 7643
เว็บไซต์www.srirattana.org
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

เทศบาลตำบลศรีรัตนะ เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประเภทเทศบาลตำบล อยู่ในเขตพื้นที่อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ มีสำนักงานตั้งอยู่บ้านสำโรงระวี หมู่ที่ 15 ถนนสายศรีสะเกษ-เขาพระวิหาร (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 221) ตำบลศรีแก้ว อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ เขตเทศบาลตั้งอยู่ในบริเวณตอนกลางของจังหวัดศรีสะเกษ ห่างจากตัวจังหวัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 37 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากเขาพระวิหารมาทางทิศเหนือประมาณ 60 กิโลเมตร

อาณาเขต[แก้]

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลสะพุง อำเภอศรีรัตนะ
  • ทิศใต้ ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลศรีแก้ว อำเภอศรีรัตนะ
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลศรีแก้วและตำบลสระเยาว์ อำเภอศรีรัตนะ
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลศรีแก้ว อำเภอศรีรัตนะ

ประวัติ[แก้]

เทศบาลตำบลศรีรัตนะ เดิมมีฐานะเป็นสุขาภิบาล ซึ่งได้รับการจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2535[2] มีพื้นที่ครอบคลุมบางส่วนของตำบลศรีแก้วและตำบลสะพุง ชื่อ"สุขาภิบาลศรีรัตนะ" ตามชื่ออำเภอ ต่อมาได้รับการยกฐานะเป็นเทศบาลตำบล ในปี พ.ศ. 2542 เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 [3] [4]

โครงสร้างการบริหารและปฏิบัติราชการ[แก้]

  • ฝ่ายบริหาร ได้แก่ คณะเทศมนตรี ประกอบด้วยนายกเทศมนตรี 1 คน (นายสนธิ์ ห่อทรัพย์),ที่ปรึกษายายกเทศมนตรี 1 คน, รองนายกเทศมนตรี 2 คน, เลขานุการนายกเทศมนตรี 1 คน
  • ฝ่ายนิติบัญญัติ (ควบคุมฝ่ายบริหาร) ได้แก่ สภาเทศบาล และควบคุมฝ่ายบริหาร ประกอบด้วยสมาชิกสภาเทศบาลที่มาจากการเลือกตั้งอีกจำนวน 12 คน ดำรงตำแหน่งคราวละ 4 ปี มีประธานสภา 1 คน และรองประธานสภา 1 คน
  • การปฏิบัติราชการ มีปลัดเทศบาล เป็นผู้บังคับบัญชาพนักงานเทศบาลและพนักงานจ้างเทศบาล มีหน้าที่และความรับผิดชอบในการควบคุมดูแลราชการประจำของเทศบาลให้เป็นไปตามนโยบาย ประกอบด้วยส่วนการบริหารคือ สำนักปลัดเทศบาล กองการศึกษา กองคลัง กองช่าง กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม และกองประปา

ตราสัญลักษณ์[แก้]

พระพุทธรูปปางสมาธิอยู่ตรงกลาง มีรัศมีแผ่อยู่รอบพระพุทธรูป ล้อมรอบด้วยกรอบนอกรูปวงกลม

พระพุทธรูป หมายถึง หมายถึง ความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาของชาวเทศบาลตำบลศรีรัตนะ ซึ่งส่วนใหญ่มีความเลื่อมใสในศาสนาพุทธ มีการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีพื้นเมืองของตนเองอย่างเหนียวแน่น มีความสมัครสมานสามัคคี รักสงบ ยึดมั่นในศีลธรรม การทำความดี ตลอดจนอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีของท้องถิ่น

รัศมี หมายถึง การสร้างชื่อเสียง ความเจริญรุ่งเรือง และความผาสุกของราษฎร ให้เลื่องลือไปทั่วสารทิศ

ข้อมูลทั่วไป[แก้]

สภาพภูมิประเทศ[แก้]

พื้นที่เขตเทศบาลตำบลศรีรัตนะ ตั้งอยู่บริเวณตอนกลางค่อนไปทางตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัดศรีสะเกษ มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มสลับกับที่ราบลอนลูกคลื่น ซึ่งต่อเนื่องจากเขตที่สูงทางตอนใต้ของจังหวัดศรีสะเกษ ในเขตอำเภอกันทรลักษ์ มีลำน้ำธรรมชาติไหลผ่านคือลำห้วยตามาย ซึ่งเป็นแหล่งน้ำธรรมชาติสายใหญ่

ประชากรและกลุ่มชาติพันธุ์[แก้]

ในเขตเทศบาลประกอบด้วยประชากร จำนวนทั้งสิ้น 4,892 คน [5] กลุ่มชาติพันธุ์หลักในเขตเทศบาลได้แก่ชาวกูย (หรือกวยหรือส่วย) ซึ่งพูดภาษากูย รองลงไปคือกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเขมรซึ่งพูดภาษาเขมรสูงหรือขแมร์เลอ, ชาวเยอซึ่งพูดภาษากูยเยอ และชาวลาวซึ่งพูดภาษาลาว

เขตการปกครอง[แก้]

ภายในพื้นที่เทศบาลจำแนกเป็น 8 ชุมชน ได้แก่ชุมชนหมู่ต่างๆในบางส่วนของตำบลสะพุงและตำบลศรีแก้ว ได้แก่

ตำบลศรีแก้ว
  • บ้านหนองเทา หมู่ที่ 3
  • บ้านหนองถ่ม หมู่ที่ 6
  • บ้านหนองแคน หมู่ที่ 7
  • บ้านตระกาจ หมู่ที่ 8
  • บ้านหนองบัว หมู่ที่ 13
  • บ้านสำโรงระวี หมู่ที่ 15
ตำบลสะพุง
  • บ้านจอก หมู่ที่ 2
  • บ้านทุ่งระวี หมู่ที่ 12

การคมนาคมและขนส่ง[แก้]

  • เส้นทางหลักคือการคมนาคมทางรถยนต์ ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 221 (ศรีสะเกษ-เขาพระวิหาร) เส้นทางเชื่อมระหว่างตัวจังหวัดศรีสะเกษ-อำเภอพยุห์-อำเภอศรีรัตนะ-อำเภอกันทรลักษ์-อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ระยะทางจากเขตเทศบาลศรีรัตนะตัวเมืองจังหวัดศรีสะเกษทั้งสิ้น 37 กิโลเมตร, ระยะทางจากเทศบาลศรีรัตนะถึงตัวอำเภอกันทรลักษ์ ประมาณ 23 กิโลเมตร, และระยะทางจากเขตเทศบาลศรีรัตนะถึงเขาพระวิหารและอุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร ประมาณ 60 กิโลเมตร
  • เส้นทางรอง คือเส้นทางเชื่อมโยงไปยังอำเภอต่างๆ ใกล้เคียงในเขตจังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งใช้ทางหลวงชนบท ได้แก่ ทางหลวงชนบทหมายเลข ศก 3014 และ ศก 4014 (ไพรบึง-ศรีรัตนะ) เชื่อมโยงการเดินทางสู่อำเภอไพรบึง (เขตเทศบาลตำบลไพรบึง ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตร

สถานที่น่าสนใจ[แก้]

  • เขตอนุรักษ์พันธุ์สนสองใบ : ครอบคลุมพื้นที่สองฝั่งถนนของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 221 บริเวณก่อนถึงตัวอำเภอศรีรัตนะและเขตเทศบาลตำบลศรีรัตนะ

อ้างอิง[แก้]

  1. ข้อมูลสรุปเทศบาลตำบลศรีรัตนะ ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2554 รวบรวมโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เข้าถึงออนไลน์ทาง http://www.thailocaladmin.go.th/work/apt/apt.jsp เก็บถาวร 2011-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  2. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 110 ตอนที่ 51 ลงวันที่ 26 เมษายน 2536
  3. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-02-21. สืบค้นเมื่อ 2011-12-12.
  4. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 116 ตอนที่ 9 ก. ลงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2542
  5. ข้อมูลสรุปเทศบาลตำบลศรีรัตนะ ณ วันที่ 20 มิถุนายน 2554 รวบรวมโดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย เข้าถึงออนไลน์ทาง http://www.thailocaladmin.go.th/work/apt/apt.jsp เก็บถาวร 2011-11-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • เทศบาลตำบลศรีรัตนะ.รายงานสรุป ประจำปีงบประมาณ 2553.จัดทำโดยเทศบาลตำบลศรีรัตนะ

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]