ตำบลร่องคำ

พิกัด: 16°16′15.3″N 103°44′50.3″E / 16.270917°N 103.747306°E / 16.270917; 103.747306
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เทศบาลตำบลร่องคำ)
ตำบลร่องคำ
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Rong Kham
ประเทศไทย
จังหวัดกาฬสินธุ์
อำเภอร่องคำ
พื้นที่
 • ทั้งหมด21.27 ตร.กม. (8.21 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (ปี 2565)[1]
 • ทั้งหมด6,028 คน
 • ความหนาแน่น283.40 คน/ตร.กม. (734.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 46210
รหัสภูมิศาสตร์460401
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
เทศบาลตำบลร่องคำ
ทต.ร่องคำตั้งอยู่ในจังหวัดกาฬสินธุ์
ทต.ร่องคำ
ทต.ร่องคำ
ที่ตั้งสำนักงานเทศบาลตำบลร่องคำ
พิกัด: 16°16′15.3″N 103°44′50.3″E / 16.270917°N 103.747306°E / 16.270917; 103.747306
ประเทศ ไทย
จังหวัดกาฬสินธุ์
อำเภอร่องคำ
พื้นที่
 • ทั้งหมด21.27 ตร.กม. (8.21 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (ปี 2565)
 • ทั้งหมด6,028 คน
 • ความหนาแน่น283.40 คน/ตร.กม. (734.0 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05460401
ที่อยู่
สำนักงาน
เลขที่ 222 หมู่ 2 ตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ 46210
เว็บไซต์www.rongkham.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ร่องคำ เป็นตำบลในอำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ เดิมเป็นหมู่บ้านอยู่ในพื้นที่ตำบลโพนงาม อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ย้ายมาขึ้นกับตำบลสามัคคีในปี พ.ศ. 2500[2] และแยกตั้งเป็นตำบลร่องคำในปี พ.ศ. 2513[3] ปัจจุบันเป็นพื้นที่ศูนย์กลางและศูนย์ราชการของอำเภอร่องคำ

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ตำบลร่องคำมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอและจังหวัดใกล้เคียงดังนี้

ประวัติ[แก้]

ร่องคำเดิมเป็นหมู่บ้านอยู่ในพื้นที่ตำบลโพนงาม อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เนื่องจากพื้นที่ตำบลโพนงามมีพื้นที่กว้างขวางยากต่อการดูแล ในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2500 จึงแยกพื้นที่หมู่ 3–5, 11–12, 14–18, 22 (ในขณะนั้น) ของตำบลโพนงาม จัดตั้งขึ้นเป็น ตำบลสามัคคี[2] หมู่บ้านร่องคำจึงย้ายมาขึ้นกับพื้นที่ตำบลสามัคคี และได้มีการจัดตั้งสุขาภิบาลร่องคำเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2509 ในพื้นที่หมู่บ้านกุดลิง และหมู่บ้านร่องคำ ของตำบลสามัคคี[4]

ต่อมาในวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2513 ได้แยกพื้นที่หมู่ 1–3, 9–12, 16–18 (ในขณะนั้น) ของตำบลสามัคคี รวม 10 หมู่บ้าน จัดตั้งขึ้นเป็น "ตำบลร่องคำ"[3] และในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516 ได้แยกพื้นที่ตำบลสามัคคี และตำบลร่องคำ ของอำเภอกมลาไสย มาจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอร่องคำ[5] โดยให้ตั้งที่ว่าการกิ่งที่บ้านกุดลิง ตำบลร่องคำ

ในวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2527 ได้แยกพื้นที่หมู่ 6–12, 15 (ในขณะนั้น) ของตำบลร่องคำ รวม 8 หมู่บ้าน จัดตั้งขึ้นเป็น ตำบลเหล่าอ้อย[6] ต่อมาได้ยกฐานะเป็น อำเภอร่องคำ ในวันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536[7]

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 ได้เปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลร่องคำ เป็น เทศบาลตำบลร่องคำ[8] ตามข้อบังคับของกฎหมาย จนถึงวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 กระทรวงมหาดไทยให้ยุบสภาตำบลร่องคำเข้ากับพื้นที่เทศบาลตำบลร่องคำ เนื่องจากกระทรวงมหาดไทยดำเนินการประกาศยุบรวมสภาตำบลทั้งหมดและองค์การบริหารส่วนตำบลใดที่มีจำนวนประชากรไม่ถึงสองพันคน โดยให้รวมพื้นที่เข้ากับองค์การบริหารส่วนตำบลอื่น หรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่มีเขตติดต่อกันภายในเขตอำเภอเดียวกัน[9]

หมู่บ้าน[แก้]

ตำบลร่องคำแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 13 หมู่บ้าน ดังนี้

  • หมู่ที่ 1 บ้านกุดลิง
  • หมู่ที่ 2 บ้านกุดลิง
  • หมู่ที่ 3 บ้านร่องคำ
  • หมู่ที่ 4 บ้านกกมะค่า
  • หมู่ที่ 5 บ้านสองห้อง
  • หมู่ที่ 6 บ้านกกมะค่า
  • หมู่ที่ 7 บ้านกุดลิง
  • หมู่ที่ 8 บ้านกุดลิง
  • หมู่ที่ 9 บ้านร่องคำ
  • หมู่ที่ 10 บ้านกุดลิง
  • หมู่ที่ 11 บ้านสองห้อง
  • หมู่ที่ 12 บ้านกุดลิง
  • หมู่ที่ 13 บ้านศรีเมืองพัฒนา

อ้างอิง[แก้]

  1. ประชากรในเขตท้องถิ่นเทศบาลตำบลร่องคำ อำเภอร่องคำ จังหวัดกาฬสินธุ์ ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2565 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. 2.0 2.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์, อำเภอเมืองขอนแก่น และกิ่งอำเภอกระนวน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น, อำเภอเมืองชัยภูมิ และอำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ, อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย, อำเภอตลิ่งชัน จังหวัดธนบุรี, อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม, อำเภอกบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์, อำเภอลำปลายมาศ และกิ่งอำเภอกระสัง อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์, อำเภอเมืองพิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก, อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์,อำเภอเมืองร้อยเอ็ด อำเภอพนมไพร และอำเภอาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด อำเภอสังขะ และอำเภอศรีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์, อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี, อำเภอพิบูลย์มังสาหาร และอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 74 (107 ง): 2901–2928. วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2500
  3. 3.0 3.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกมลาไสย อำเภอกุฉินารายณ์ อำเภอท่าคันโท และอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 87 (80 ง): 2367–2379. วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2513
  4. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลร่องคำ อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 83 (63 ง): 2397–2398. วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2509
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอร่องคำ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (13 ง): 239. วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516
  6. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอห้วยเม็ก อำเภอหนองกุงศรี กิ่งอำเภอร่องคำ อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 101 (113 ง): 2864–2871. วันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2527
  7. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอลำทับ อำเภอร่องคำ อำเภอเวียงแหง อำเภอนาโยง อำเภอแก้งสนามนาง อำเภอโนนแดง อำเภอบ้านหลวง อำเภอกะพ้อ อำเภอศรีบรรพต อำเภอแก่งกระจาน อำเภอหนองสูง อำเภอสบเมย อำเภอเมยวดี อำเภอโคกเจริญ อำเภอทุ่งหัวช้าง อำเภอผาขาว อำเภอวังหิน อำเภอดอนพุด อำเภอบึงโขงหลง และอำเภอห้วยคต พ.ศ. ๒๕๓๖" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 110 (179 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-3. วันที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536
  8. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4 – โดยทาง ให้บรรดาสุขาภิบาลตามกฎหมายว่าด้วยสุขาภิบาลที่มีอยู่ในวันที่พระราชบัญญัตินี้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา มีฐานะเป็นเทศบาลตำบลตามกฎหมายว่าด้วยเทศบาลในพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ. วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542
  9. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง รวมสภาตำบลกับเทศบาล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 121 (ตอนพิเศษ 75 ง): 11–14. วันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2547