เทศบาลตำบลนากลาง

พิกัด: 17°18′13.9″N 102°11′46.6″E / 17.303861°N 102.196278°E / 17.303861; 102.196278
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศบาลตำบลนากลาง
คำขวัญ: 
นากลางเมืองน่าอยู่ คู่เศรษฐกิจดี มีบริการที่ประทับใจ
ทต.นากลางตั้งอยู่ในจังหวัดหนองบัวลำภู
ทต.นากลาง
ทต.นากลาง
ที่ตั้งของเทศบาลตำบลนากลาง
พิกัด: 17°18′13.9″N 102°11′46.6″E / 17.303861°N 102.196278°E / 17.303861; 102.196278
ประเทศ ไทย
จังหวัดหนองบัวลำภู
อำเภอนากลาง
การปกครอง
 • นายกเทศมนตรีทวีศักดิ์ จันทะศรี
พื้นที่
 • ทั้งหมด40.75 ตร.กม. (15.73 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2564)[1]
 • ทั้งหมด20,522 คน
 • ความหนาแน่น503.60 คน/ตร.กม. (1,304.3 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.05390202
ที่อยู่
สำนักงาน
330 หมู่ที่ 1 ถนนอุดรธานี-เลย บ้านกกค้อ ตำบลนากลาง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู 39170
โทรศัพท์0 4235 9044
เว็บไซต์http//naklanglocal.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

นากลาง เป็นเทศบาลตำบลแห่งหนึ่งในอำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู มีพื้นที่ 40.75 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมบางส่วนของตำบลนากลาง ตำบลด่านช้าง และตำบลกุดแห่ มีประชากรปี พ.ศ. 2560 จำนวน 20,522 คน[1] ได้รับการยกฐานะจากสุขาภิบาล เป็นเทศบาลตำบล เมื่อปี พ.ศ. 2542

การจัดตั้ง[แก้]

เทศบาลตำบลนากลาง ตั้งอยู่ เลขที่ 330 ถนนอุดร-เลย ตำบลนากลาง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู ได้รับการจัดตั้งเป็นสุขาภิบาลนากลาง อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2509[2] ต่อมาได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลนากลางเป็นเทศบาลตำบลนากลาง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2542[3]

ภูมิศาสตร์[แก้]

ที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

เทศบาลตำบลนากลาง ตั้งอยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 17 องศาเหนือ และเส้นระแวงที่ 102 องศาตะวันออก ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัดหนองบัวลำภู ห่างจากที่ตั้งจังหวัดหนองบัวลำภู ประมาณ 35 กิโลเมตร ตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 210 (ถนนอุดร-เลย) ปัจจุบัน เทศบาลตำบลนากลาง ตั้งที่ 330 หมู่ที่ 1 บ้านกกค้อ ตำบลนากลาง อำเภอนากลาง จังหวัดหนองบัวลำภู

  • ทิศเหนือ จรดกับ องค์การบริหารส่วนตำบลกุดแห่
  • ทิศใต้ จรดกับ องค์การบริหารส่วนตำบลอุทัยสวรรค์
  • ทิศตะวันตก จรดกับ เทศบาลตำบลกุดดินจี่
  • ทิศตะวันออก จรดกับ องค์การบริหารส่วนตำบลด่านช้าง

สภาพภูมิประเทศ[แก้]

ลักษณะสภาพภูมิประเทศเทศบาลตำบลนากลาง ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีภูเขา มีแม่น้ำลำคลองไหลหลายสาย ได้แก่ ลำพะเนียง ลำห้วยเดื่อ ลำห้วยหนองบัว และลำห้วยหนองไฮ จึงทำให้เกิดที่ราบลุ่มข้าง มีลำน้ำเหมาะกับการทำเกษตรกรรมต่างๆ เช่น ปลูกข้าว ปลูกข้าวโพด ปลูกถั่ว ปลูกอ้อย เป็นต้น

สภาพภูมิอากาศ[แก้]

  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม-เดือนเมษายน อุณหภูมิเฉลี่ย 34 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 36 องศาเซลเซียส
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-เดือนตุลาคม และจะตกมากในเดือนสิงหาคม-เดือนกันยายน เนื่องจากอิทธิพลพายุดีเปรสชัน
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนธันวาคม-เดือนมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 16 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดประมาณ 1-3 องศาเซลเซียส

การปกครอง[แก้]

ประชากรเทศบาลตำบลนากลางแบ่งตามปี
ปีประชากร±%
2544 22,503—    
2547 21,683−3.6%
2550 20,883−3.7%
2553 20,523−1.7%
2556 20,576+0.3%
2559 20,556−0.1%
อ้างอิง: กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย

เทศบาลตำบลนากลางมีเนื้อที่ 40.75 ตารางกิโลเมตร มีเขตเทศบาลครอบคลุมพื้นที่ 3 ตำบลของอำเภอนากลาง ได้แก่ บางส่วนของตำบลนากลาง ตำบลด่านช้าง ตำบลกุดแห่ ประกอบด้วย 31 ชุมชน แบ่งออกเป็น 2 เขต ดังนี้

ชุมชนในเขตเทศบาลตำบลนากลาง
ที่ ชุมชนเขต 1 ชุมชนเขต 2
1 ชุมชนกกค้อ ชุมชนกกโพธิ์
2 ชุมชนนครชัย ชุมชนกกค้อ
3 ชุมชนนันทจันทร์ ชุมชนภูน้อย
4 ชุมชนหนองบัวคำแสน ชุมชนหนองหญ้าปล้อง
5 ชุมชนเลิศเสนีย์ ชุมชนหนองฉิมพัฒนา
6 ชุมชนนครพัฒนา ชุมชนแก้วอุดม
7 ชุมชนโพธิ์แก้ว ชุมชนหนองบัวคำแสน
8 ชุมชนศิริชัย ชุมชนหนองด่าน
9 ชุมชนหินแบ่นศิลา ชุมชนหนองด่าน
10 ชุมชนสุขสวัสดิ์พัฒนา ชุมชนนากุดผึ้ง
11 ชุมชนกุดแห่ ชุมชนแก้วมุงคุณ
12 ชุมชนโพธิ์ค้ำ ชุมชนด่านคำ
13 ชุมชนหนองแกน้อย ชุมชนหนองบัวคำแสนกลาง
14 ชุมชนศรีอุบล ชุมชนภูเงิน
15 ชุมชนเพ็ชรสุวรรณ์
16 ชุมชนโคกสีกา

เศรษฐกิจ[แก้]

ลักษณะการประกอบอาชีพ[แก้]

ประชาชนส่วนใหญ่ในเขตเทศบาลตำบลนากลางประกอบอาชีพเกษตรกรรม ปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ อ้อย ข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง เป็นต้น

ลักษณะของชุมชนในท้องถิ่น[แก้]

การตั้งถิ่นฐานชองชุมชนเทศบาลตำบลนากลาง มีลักษณะรวมตัวเป็นกลุ่มโดยเกาะกลุ่มตามเส้นทางสายหลักและมีบางชุมชนที่กระจายออกไป การกระจายตัวของประชากรส่วนใหญ่จะรวมเป็นกลุ่มใหญ่3กลุ่มใหญ่คือ กลุ่มบ้านกกค้อ กลุ่มบ้านหนองด่าน กลุ่มบ้านกุดแห่ ซึ่งการกระจายตัวของกลุ่มดังกล่าวมีเส้นทางคมนาคมติดต่อกันได้อย่างสะดวก โดยอาศัยเส้นทางสายอุดรธานี - เลย หรือ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 210 เป็นเส้นทางหลัก

การพาณิชย์และการบริการ[แก้]

  • สถานีน้ำมัน/ปั๊ม จำนวน 3 แห่ง
  • ร้านเสริมสวย จำนวน 27 แห่ง
  • ตลาดสด จำนวน 3 แห่ง
  • ร้านขายยา จำนวน 5 แห่ง
  • สถานที่จำหน่ายอาหาร/สะสมอาหาร พรบ.สาธาณณสุข จำนวน 132 แห่ง
  • สถานที่จำหน่ายสินค้าในที่สาธารณะและเร่ขาย จำนวน 47 แห่ง
  • โรงฆ่าสัตว์ จำนวน 1 แห่ง
  • ธนาคาร จำนวน 5 แห่ง
  • โรงแรมและที่พัก จำนวน 13 แห่ง

ธนาคาร[แก้]

ธนาคารในเขตเทศบาลตำบลนากลาง มีทั้งหมด 5 แห่ง ดังนี้

โครงสร้างพื้นฐาน[แก้]

การขนส่ง[แก้]

เส้นทางคมนาคมขนส่งมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 210 และทางหลวงจังหวัด อีกหลายสายที่เชื่อมต่อระหว่างเขตเทศบาลตำบลนากลาง กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น และอำเภอใกล้เคียงกับอำเภอนากลาง ดังนั้นการสัญจรไปมาสะดวกเพราะถนนสายหลักในเขตเทศบาลมี 4 ช่องจราจร มีสัญญาณไฟจราจร 1 แห่ง

การศึกษา[แก้]

สถานศึกษาในเขตเทศบาลตำบลนากลาง มีดังนี้

โรงเรียนมัธยม สพม.
โรงเรียนประถม สพป.
โรงเรียนสังกัดเทศบาลตำบลนากลาง
  • โรงเรียนเทศบาลนากลาง 1
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดบูรพาราม
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดศริชัยพัฒนาราม
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดเทพมงคลพิชัย
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กศรีสุวรรณ-คำแสน
  • ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัชฌิมโพธิการาม

สาธารณสุข[แก้]

มีสถานพยาบาลของรัฐจำนวน 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลนากลาง และมีศูนย์บริการสาธารณสุข 1 แห่ง คือ ศูนย์สุขภาพชุมชนตำบลนากลาง

ปฏิทินวันขนบธรรมเนียมและประเพณี[แก้]

  • งานทำบุญตักบาตรวันขึ้นปีใหม่ จัดขึ้นที่ บริเวณสองฝั่งถนนอุดร-เลย บริเวณบ้านกกค้อ เดือนมกราคม
  • งานบุญผะเหวด ฟังเทศน์มหาชาติ จัดขึ้นที่ วัดศิริชัยพัฒนาราม เดือนมีนาคม
  • ประเพณีสงกรานต์ เดือนเมษายน
  • บุญบั้งไฟเทศบาลตำบลนากลาง เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
  • ตักบาตรเทเวโรหณะ จัดขึ้นที่ วัดสันติธรรมบรรพต เดือนตุลาคม
  • งานวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวามหาราช จัดขึ้นที่ สนามหน้าศูนย์ราชการอำเภอนากลาง ระหว่างวันที่ 3-7 ธันวาคม

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 รายงานสถิติจำนวนประชากรและบ้าน ประจำปี พ.ศ. 2560 ท้องถิ่นเทศบาลตำบลนากลาง ระบบสถิติทางการทะเบียน กรมการปกครอง
  2. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลนากลาง กิ่งอำเภอนากลาง อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 83 (46 ง): 1913. 31 พฤษภาคม 2509.
  3. "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ง): 1. 24 กุมภาพันธ์ 2542. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2018-05-18.