เทศกาลเช็งเม้ง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศกาลเช็งเม้ง
เผากระดาษเงินกระดาษทองให้แก่ผู้ล่วงลับ
ชื่อทางการชิงหมิงเจี๋ย (清明节)
เทศกาลชิงหมิง (清明節)
วันกวาดสุสาน (掃墳節)
จัดขึ้นโดยชาวฮั่น, ชาวฮากกา, ชาวเจตตี[1] และ ชาวรีวกีว
ความสำคัญรำลึกถึงบรรพบุรุษ
การถือปฏิบัติกวาดทำความสะอาดหลุมฝังศพ เซ่นไหว้บรรพบุรุษ ถวายอาหารแก่บรรพบุรุษ เผากระดาษเงินกระดาษทอง
วันที่15 วัน หลังจากวันวสันตวิษุวัต
4, 5 หรือ 6 เมษายน
เทศกาลเช็งเม้ง
อักษรจีนตัวเต็ม清明節
อักษรจีนตัวย่อ清明节
ความหมายตามตัวอักษร"เทศกาลความสว่างบริสุทธิ์"
กระดาษสีบนสุสานในช่วงเทศกาลเช็งเม้ง, สุสานบูกิตบราวน์, สิงคโปร์

ชิงหมิง (จีนตัวย่อ: 清明节; จีนตัวเต็ม: 清明節; พินอิน: Qīngmíng jié) หรือ เช็งเม้ง, เชงเม้ง (ตามสำเนียงแต้จิ๋ว) หรือ "เฉ่งเบ๋ง" (ในสำเนียงภาษาฮกเกี้ยน) "เช็ง" หรือ "เฉ่ง" หมายถึง สะอาด บริสุทธิ์ และ "เม้ง"หรือ"เบ๋ง" หมายถึง สว่าง รวมแล้วหมายความถึง ช่วงเวลาแห่งความแจ่มใส รื่นรมย์ เป็นเทศกาลจีนของผู้ที่มีเชื้อสายจีนในจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง มาเก๊า ไต้หวัน มาเลเซีย สิงคโปร์ กัมพูชา อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไทย และเวียดนาม เทศกาลใบไม้ผลินี้[2][3] มักอยู่ในวันแรกของสารทที่ 5 (มีอีกชื่อว่าชิงหมิง) ในปฏิทินสุริยจันทรคติจีนดั้งเดิม ทำให้ตรงกับวันที่ 15 หลังวิษุวัตมีนาคม ซึ่งอยู่ในช่วงวันที่ 4 5 หรือ 6 เมษายนในปีหนึ่ง[4][5][6] ในวันชิงหมิง ครอบครัวชาวจีนจะเยี่ยมหลุมฝังศพบรรพบุรุษเพื่อทำความสะอาดสุสานและทำพิธีบูชาบรรพบุรุษ[7] ของที่นำมาบูชามักเป็นอาหารพื้นเมืองและเผาธูปกับกระดาษเงินกระดาษทอง[7][2][8] เทศกาลนี้ถือเป็นการแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษในวัฒนธรรมจีน[7]

ต้นกำเนิดเทศกาลเช็งเม้งมีมามากกว่า 2,500 ปี แม้ว่าการสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก

ตำนานการเกิดเช็งเม้ง[แก้]

ในยุคชุนชิว องค์ชายฉงเอ่อแห่งแคว้นจิ้นหนีภัยออกนอกแคว้น ไปมีชีวิตตกระกำลำบากนอกเมือง โดยมีเจี้ยจื่อทุยติดตามไปดูแลรับใช้

เจี้ยจื่อทุยมีจิตใจเมตตาถึงขนาดเชือดเนื้อที่ขาของตนเป็นอาหารให้องค์ชายเสวยเพื่อประทังชีวิต ภายหลังเมื่อองค์ชายฉงเอ่อเสด็จกลับเข้าแคว้นและได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองแคว้น นาม จิ้นเหวินกง และได้สถาปนาตอบแทนขุนนางทุกคนที่เคยให้ความช่วยเหลือตน แต่ลืมเจี้ยจื่อทุยไป นานวันเข้าจึงมีคนเตือนถึงบุญคุณเจี้ยจื่อทุย จิ้นเหวินกงเพิ่งนึกขึ้นไป จึงต้องการตอบแทนบุญคุณเจี้ยจื่อทุย โดยจัดหาบ้านให้เขาและมารดาให้เข้ามาอยู่อย่างสุขสบายในเมือง แต่ทว่าเจี้ยจื่อทุยปฏิเสธ

จิ้นเหวินกงได้คิดแผนเผาภูเขา โดยหวังว่าเจี้ยจื่อทุยจะพามารดาออกมาจากบ้าน แต่ผลสุดท้ายกลับไม่เป็นไปอย่างที่คิด สองแม่ลูกกลับต้องเสียชีวิตในกองเพลิง ดังนั้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงเจี้ยจื่อทุย จิ้นเหวินกงจึงมีคำสั่งให้วันนี้ของทุกปี ห้ามไม่ให้มีการก่อไฟ และให้รับประทานแต่อาหารสด ๆ และเย็น ๆ จนกลายเป็นที่มาของเทศกาลวันกินอาหารเย็น หรือ เทศกาลหันสือเจี๋ย (寒食节) ซึ่งเป็นวันสุกดิบก่อนวันเช็งเม้ง 1 วัน

เนื่องจากคนโบราณนิยมถือปฏิบัติกิจกรรมตามประเพณีวันหันสือเจี๋ยต่อเนื่องไปจนถึงวันเช็งเม้ง นานวันเข้าเทศกาลทั้งสองก็รวมเป็นวันเช็งเม้งวันเดียว การไหว้เจี้ยจื่อทุยจึงค่อย ๆ เปลี่ยนมาเป็นการไปเซ่นไหว้บรรพบุรุษแทน

ประเพณีการทำความสะอาดฮวงซุ้ย[แก้]

เริ่มมาจากการที่พระเจ้าฮั่นเกาจู ปราบดาภิเษกและสถาปนาราชวงศ์ฮั่นขึ้นแล้ว เกิดระลึกถึงบุญคุณบิดา มารดาที่เสียชีวิตไปแล้วที่บ้านเกิด จึงเร่งรัดกลับบ้านเกิด แต่ทว่าป้ายชื่อของฮวงซุ้ยแต่ละที่เลือนรางเต็มทน จากสงคราม พระเจ้าฮั่นเกาจูจึงอธิษฐานต่อสวรรค์ด้วยการโปรยกระดาษสีขึ้นบนฟ้าแล้วให้ลมพัดปลิวไป ถ้ากระดาษตกที่ฮวงซุ้ยไหน ถือว่าเป็นฮวงซุ้ยของบิดา มารดาพระองค์ และเมื่อดูป้ายชื่อชัด ๆ แล้วก็พบว่าเป็นฮวงซุ้ยของบิดา มารดาพระองค์จริง ประเพณีการทำความสะอาดฮวงซุ้ยและโปรยกระดาษสีบนหลุมศพก็เริ่มมาจากตรงนี้เอง

อ้างอิง[แก้]

  1. "Meet the Chetti Melaka, or Peranakan Indians, striving to save their vanishing culture". Channel News Asia. 21 October 2018.
  2. 2.0 2.1 Stepanchuk, Carol (1991). Mooncakes and Hungry Ghosts: Festivals of China. San Francisco: China Books & Periodicals. pp. 61–70. ISBN 0-8351-2481-9.
  3. Eberhard, Wolfram (1952). "Ch'ing-ming, the spring festival". Chinese Festivals. New York: H. Wolff. pp. 112–127.
  4. "Traditional Chinese Festivals". china.org.cn. 2007-04-05. สืบค้นเมื่อ 2014-08-25.
  5. "Tomb Sweeping Day". Taiwan.gov.tw. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 เมษายน 2014. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2014.
  6. "Ching Ming Festival | Hong Kong Tourism Board". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-27. สืบค้นเมื่อ 2023-08-23.
  7. 7.0 7.1 7.2 Wei, Liming (2010). Chinese Festivals: Traditions, Customs and Rituals (Second ed.). Beijing. pp. 31–35. ISBN 9787508516936.
  8. "Why Chinese Burn Paper on Tomb-Sweeping Day". The Beijinger (ภาษาอังกฤษ). 2 April 2022. สืบค้นเมื่อ 7 March 2023.

อ่านเพิ่ม[แก้]

  • Aijmer, Göran (1978), "Ancestors in the Spring the Qingming Festival in Central China", Journal of the Hong Kong Branch of the Royal Asiatic Society, 18: 59–82, JSTOR 23889632

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Qingming Festival