เทศกาลคฒิมาอี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เทศกาลคฒิมาอี
गढ़िमाई पर्व
บรรดาสัตว์ที่เตรียมสังเวยในเทศกาลคฒิมาอี
สถานะไม่มีอยู่แล้ว
ประเภทเทศกาล
เริ่มต้น28 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014
ความถี่ทุก 5 ปี
สถานที่พริยารปุระ
ที่ตั้งอำเภอบารา
ล่าสุด28 พฤศจิกายน ค.ศ. 2014 (2014-11-28)
เหตุการณ์ก่อนหน้า2009
เหตุการณ์ถัดไป2019
ผู้เข้าชม3 ล้านคน
พื้นที่รัศมี 3-5 กม. โดยรอบวัดคฒิมาอี

เทศกาลคฒิมาอี (เนปาล: गढ़िमाई पर्व; อังกฤษ: Gadhimai festival) เป็นพิธีบูชายัญที่จัดขึ้นทุก 5 ปีที่คฒีมาอีมนเทียร แห่งเมืองพริยารปุระ อำเภอพารา ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางใต้ประมาณ 100 ไมล์ (160 กิโลเมตร) ของเมืองหลวงกาฐมาณฑุ ทางภาคใต้ของประเทศเนปาล ใกล้ชายแดนอินโด-เนปาล และแดนติดกับรัฐพิหาร (ประเทศอินเดีย) มีการเฉลิมฉลองเป็นหลักโดยชาวมะเทสี และชาวรัฐพิหาร โดยเป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการฆ่าสัตว์บูชายัญครั้งใหญ่ ซึ่งประกอบด้วย ควาย, หมู, แพะ, ไก่, หนู และนกพิราบ – โดยมีเป้าหมายเพื่อการเซ่นสังเวยให้แก่เจ้าแม่คฒิมาอี ซึ่งเป็นเทพีแห่งอำนาจ[1]

ลักษณะ[แก้]

ประมาณ 5 ล้านคนมีส่วนร่วมในการจัดงานเทศกาล ซึ่งเป็นชาวมะเทสีและ 70% ของผู้ที่ชื่นชอบจากรัฐของประเทศอินเดีย ทั้งรัฐอุตตรประเทศ และรัฐพิหาร ที่เขาร่วมเทศกาลในประเทศเนปาลเพื่อเลี่ยงการประกาศห้ามการฆ่าสัตว์บูชายัญในรัฐของตัวเอง[2][3] โดยผู้เข้าร่วมเชื่อว่าการฆ่าสัตว์บูชายัญเพื่อเซ่นสังเวยให้แก่เจ้าแม่คฒิมาอี จะช่วยให้ยุติสิ่งเลวร้ายและนำมาซึ่งความเจริญรุ่งเรือง[4][5]

การถกเถียงและคัดค้าน[แก้]

มีการแจ้งประท้วงต่อเทศกาลนี้เป็นจำนวนมากโดยกลุ่มพิทักษ์สิทธิสัตว์ และชาวเนปาลที่นับถือฮินดูจากภูมิภาคฮิลล์[6][7]

ณ วันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 2015 เทศกาลนี้ได้รับการประกาศห้ามจากรัฐบาลเนปาลแล้ว[8]

ปฏิกิริยาสะท้อน[แก้]

กระทรวงมหาดไทยของประเทศอินเดีย ได้กำกับรัฐพิหาร และรัฐอุตตรประเทศ ในการตรวจสอบเพื่อความแน่ใจว่าไม่มีการส่งเหล่าสัตว์ไปยังประเทศเนปาลสำหรับเทศกาลนี้[9]

อ้างอิง[แก้]

  1. Jolly, Joanna (24 November 2009). "Devotees flock to Nepal animal sacrifice festival". BBC. สืบค้นเมื่อ 24 November 2009.
  2. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดข้อความสำหรับอ้างอิงชื่อ th
  3. Sarkar, Sudeshna (24 November 2009). "Indians throng Nepal's Gadhimai fair for animal sacrifice". The Times of India. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-25. สืบค้นเมื่อ 24 November 2009.
  4. Gurubacharya, Binaj (20 November 2009). "Gadhimai Festival: Nepal Mass Animal Sacrifice Festival To Go Ahead Despite Protests". The Huffington Post. สืบค้นเมื่อ 25 November 2009.
  5. "In pictures: Hindu animal sacrifice festival in Nepal". BBC News. สืบค้นเมื่อ 28 November 2014.
  6. Shah, Pramada (24 November 2010). "Never Again". The Kathmandu Post. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-07. สืบค้นเมื่อ 20 March 2012.
  7. "Gadhimai Festival:Why it must never happen Again". Think Differently. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-07. สืบค้นเมื่อ 18 March 2012.
  8. "From now on, no more animal sacrifice at Nepal's Gadhimai festival". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-08-31. สืบค้นเมื่อ 2015-07-29.
  9. Gohain, Manash Pratim (13 October 2014). "Gadaimai slaughter: Bihar, UP asked to check animal flow into Bara". Kantipur. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-13. สืบค้นเมื่อ 29 November 2014.