เทพธรรมบาล 24 พระองค์
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
เทพธรรมบาล 24 พระองค์ | |||||||
ภาษาจีน | 二十四諸天 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ยี่สิบเทพธรรมบาล | |||||||
เทวรูปคณะเทพธรรมบาลยี่สิบสี่องค์ (二十諸天 Èrshí Zhūtiān) | |||||||
ภาษาจีน | 二十諸天 | ||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
|
ยี่สิบสี่เทพธรรมบาลจีน หรือ คณะธรรมบาลเทพยี่สิบสี่องค์ (จีน: 二十四諸天; พินอิน: Èrshísì Zhūtiān), ในบางท้องที่อาจจัดกลุ่มเป็น ยี่สิบเทพธรรมบาลจีน หรือ คณะธรรมบาลเทพยี่สิบองค์ (จีน: 二十諸天; พินอิน: Èrshí Zhūtiān), คือคณะกลุ่มของธรรมบาลในคติพระพุทธศาสนานิกายมหายานแบบจีนซึ่งได้รับการยกย่องและสักการะ บูชาและปฏิบัติบูชา ในฐานะผู้พิทักษ์รักษาธรรม.[1][2][3] ในคณะกลุ่มนี้ประกอบด้วยเทพยดา, พญานาค, ผู้ทรงวัชระ และอื่นๆ, ส่วนใหญ่มาจากคติพราหมณ์ - ฮินดู และบางส่วนมาจากลัทธิเต๋า
ภาพรวม
[แก้]ตามประวัติศาสตร์ของศาสนาพุทธในอินเดีย เดิมมีเทวดาอยู่สิบหกองค์ซึ่งถือเป็นธรรมบาล กลุ่มคณะเทวดาเหล่านี้ เช่น พระอิศวร พระอินทร์ และพระพรหมเดิมทีเป็นเทพเจ้าฮินดูยุคต้นและในพระเวทที่รวมเข้ากับพุทธศาสนาในอินเดีย อย่างไรก็ตาม เทวดาอื่นๆ ได้แก่ พระอาทิตย์ พระจันทร์ พระยม และท้าวสาครนาคถูกอัญเชิญเข้ามาในกลุ่มคณะเป็นยี่สิบองค์ ในเวลาต่อมาได้เพิ่มพญากินนร เมื่อพระพุทธศาสนามาถึงประเทศจีนและได้รับความนิยมจนกลายเป็นศาสนาหลัก ศาสนาพุทธก็สอดคล้องกับวัฒนธรรมพื้นเมืองเทพเจ้าลัทธิเต๋าสามองค์ ได้แก่ เจ้าพ่อดาวเหนือ, จ้าวพ่อเขาไท่ และเจ้าพ่อสายฟ้า ได้รับการอัญเชิญเข้าในกลุ่มคณะ ทำให้เกิดหมู่คณะธรรมบาลยี่สิบสี่องค์ในปัจจุบัน[1][2]
ความเลื่อมใสของหมู่คณะเทพเจ้าทั้งยี่สิบสี่องค์ได้สืบสานสืบต่อกันมาในประเพณีทางพระพุทธศาสนาจีนประเพณี ในวัดและอารามของจีน ส่วนใหญ่จะประดิษฐานรูปปั้นหมู่เทพเจ้าเหล่านี้ในส่วนของนอกพระอุโบสถในวิหารด้านนอก, หรือแท่นบูชาชั่วคราวสำหรับเทวดาทั้งยี่สิบสี่องค์ตั้งอยู่นอกธรณีประตูชี้ขึ้นสู่สวรรค์ พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับคณะเทพเหล่านี้ ขนานว่า "ก๊งจูเทียน" (Gōngfó Zhāitiān - 供佛齋天) หรือเพียงแค่ "ไจ้เทียน" (Zhāitiān - 齋天), ที่ซึ่งคณะเทพเจ้าทั้งยี่สิบสี่องค์ได้รับการเคารพ (แต่ไม่บูชาเป็นสรณะหลัก) โดยดำเนินการตามประเพณีในวัดทางพุทธศาสนาของจีนในวันที่เก้าของเดือนที่หนึ่งของปฏิทินจีนซึ่งโดยปกติทั่วไปเป็นการระลึกถึงวันฉลองตามประเพณีของเง็กเซียนฮ่องเต้แห่งลัทธิเต๋า[1][2] พิธีนี้เริ่มต้นขึ้นในสมัยราชวงศ์สุยโดยพระอาจารย์จือยี(智顗 - Zhiyi) แห่งประเพณีนิกายเทียนไถตามพิธีกรรมที่กำหนดไว้ในพระสูตรสุวรรณประภาโสตตมราชาสูตรและได้สืบทอดสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน[4][5] ในบางวัดบางที่ หมู่เทพเจ้าลัทธิเต๋าสามองค์และพญากินนรจะไม่รวมอยู่ในรายชื่อ และเทวดาที่เหลือจะได้รับการเคารพในฐานะเทพคุ้มครองยี่สิบองค์ (จีน: 二十諸天; พินอิน: Èrshí Zhūtiān)
พิธีกงจูเทียน
[แก้]เทพธรรมบาล 24 พระองค์[6] หรือ ยี่สิบสี่เทพธรรมบาล คือ เหล่าพระโพธิสัตว์และเทพยดากลุ่มหนึ่งตั้งจิตปรารถนาให้ปวงสรรพสัตว์ได้บำเพ็ญบารมีโดยสะดวก จึงพร้อมกันตั้งปณิธานเป็นผู้คุ้มครองอารักขาพระธรรมแห่งพระองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเหล่าพุทธบริษัทผู้ดำเนินตามพระรัตนตรัย ตามความเชื่อของศาสนาพุทธในประเทศจีน[7] พระโพธิสัตว์ผู้เป็นธรรมบาลคุ้มครองพระศาสนาเหล่านี้ มีปรากฏพระนามอยู่ใน สุวรรณประภาโสตตมราชาสูตร (กิมกวงเม้งจุ้ยเส่งอ้วงเก็ง) ฝ่ายมหายาน พระสูตรนี้ กล่าวถึงเหล่าพระโพธิสัตว์ ท้าวจตุโลกบาลและเหล่าทวยเทพทั้งหลายซึ่งปรากฏชื่อทั้งหมดมียี่สิบสี่พระองค์ พร้อมกันตั้งปณิธานต่อเบื้องหน้าพระพักตร์แห่งองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ขอถึงรัตนตรัยเป็นที่พึ่งและประกาศตนเป็นธรรมบาลคุ้มครองพระสัทธรรมและเหล่าพุทธบริษัท ให้บำเพ็ญบุญบารมีโดยยิ่งขึ้น พระสูตรนี้จึงเป็นที่มาของพิธีบูชาเทพธรรมบาลโพธิสัตว์ (พิธีกงจูเทียน)[6] ในปัจจุบัน
|
รายพระนาม 24 เทพธรรมบาล
[แก้]ลำดับ | พระรูป | พระนาม | บทบาท |
---|---|---|---|
1 | พระแม่ลักษมี | เทพีแห่งสิริมงคลและโชคลาภ (พระลักษมีในศาสนาฮินดู) | |
2 | พระแม่สุรัสวดี | เทพีแห่งศิลปวิทยาการ (พระสุรัสวดีในศาสนาฮินดู) | |
3 | ท้าวมหาพรหม | เทพแห่งความเจริญและการสรรค์สร้าง (พระพรหมในศาสนาฮินดู) | |
4 | ท้าวสักกะเทวราช | เจ้าแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (พระอินทร์ในศาสนาฮินดู) | |
5 - 6 - 7 - 8 | จาตุมหาราชิกา | ทั้งสี่องค์ได้แก่ ท้าวธตรฐ(เจ้าแห่งคนธรรพ์) ท้าววิรุฬหก(เจ้าแห่งกุมภัณฑ์) ท้าววิรูปักษ์(เจ้าแห่งนาค) ท้าวเวสสุวรรณ หรือ ท้าวกุเวรในศาสนาฮินดู)(เจ้าแห่งยักษ์) | |
9 | พระอาทิตย์ | เทพดวงอาทิตย์(พระอาทิตย์ในศาสนาฮินดู) | |
10 | พระจันทร์ | เทพแห่งดวงจันทร์ (พระจันทร์ในศาสนาฮินดู) | |
11 | พระวัชรปาณีโพธิสัตว์คุยหบดี | เทพธรรมบาลผู้ปราบมารศาสนา | |
12 | พระอิศวร | เทพแห่งการทำลายล้างอธรรม (พระศิวะในศาสนาฮินดู) | |
13 | ท้าวปัญจิกมหาเสนา | เสนายักษ์บริวารของท้าวเวสสุวรรณ | |
14 | พระขันธกุมาร | เทพการยุทธนาสงคราม (พระขันทกุมารในศาสนาฮินดู) | |
15 | พระแม่ธรณี | เทพธิดาพื้นปฐพี หรือ (พระแม่ธรณีในเถรวาท) (พระภูเทวีหรือพระแม่ปฤถวีในศาสนาฮินดู) | |
16 | พระรามสูรจีน | เทพแห่งความปีติรื่นรมย์ | |
17 | พระมรีจิเทวี | พระมารดาแห่งดาราฤกษ์ (อุษาเทวีหรือพระแม่วาราหีในศาสนาฮินดู | |
18 | พระนางหาริตีเทวี | ยักษิณีผู้อภิบาลทารก | |
19 | ท้าวสาครนาคราช | เจ้าแห่งหมู่นาคราชและมหาสมุทร | |
20 | ท้าวพญายมราช | เจ้าแห่งนรก พระยมในศาสนาฮินดู | |
21 | ท้าวกินนรราชา | เจ้าแห่งไฟและหมู่กินนรกินนรี | |
22 | เจ้าพ่อดาวเหนือ (เทพนักษัตร) | เทพแห่งดวงดาวจักรราศี | |
23 | เจ้าแม่ต้นโพธิ์ | เทวีผู้อารักขาต้นพระศรีมหาโพธิ์ | |
24 | ท้าวไตรตรึงษ์เทพ | เทพแห่งสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ |
วรรณกรรม
[แก้]คณะเทพทั้งยี่สิบสี่องค์มีบทบาทและถูกกล่าวถึงในนวนิยายชื่อดังสมัยราชวงศ์หมิงในคริสต์ศตวรรษที่ 16(ปลายพุทธศตวรรษที่ 21 ) คือ ไซอิ๋ว (หนึ่งสี่สุดยอดวรรณกรรมจีน) ในฐานะเทพบริวารของพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิม (หรือ พระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์) อันสถิตย์สถาพร ณ วัชรอาสน์โพธิมัณฑะ (Bodhimaṇḍa - 道場) บนเกาะของเกาะโปตละโลกา บทบาทในวรรณกรรมคณะเทพเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นสาวกที่ฟังพระโพธิสัตว์เจ้าแม่กวนอิมอธิบายคำสอนทางพุทธศาสนาตลอดจนผู้พิทักษ์เกาะของพระนาง[8]
ภาพประกอบ
[แก้]-
วัดพระหยก (Jade Buddha Temple) (เซี่ยงไฮ้, ประเทศจีน) - เทวรูปของ ท้าวปัญจิกมหาเสนา (Sànzhī Dàjiàng) ทางซ้าย, พระอินทร์ (Dìshìtiān) กลาง และ ท้าวมหาพรหม (Dàfàntiān) ทางขวา
-
วัดพระหยก (Jade Buddha Temple) (เซี่ยงไฮ้, ประเทศจีน) - เทวรูปของ ท้าวกินนรราชา (Jǐnnàluó) ทางซ้าย พระอิศวร (Dàzìzàitiān or Móxīshǒuluótiān) ทางขวา
-
วัดพระหยก (Jade Buddha Temple) (เซี่ยงไฮ้, ประเทศจีน) - เทวรูปของพระวัชรปาณีโพธิสัตว์ (Mìjī Jīngāng) ทางซ้ายและ พระมรีจิเทวี (Mólìzhītiān) ทางขวา
-
วัดพระหยก (Jade Buddha Temple) (เซี่ยงไฮ้, ประเทศจีน) - เทวรูปของท้าวพญายมราช (Yánmóluówáng) ทางซ้าย, พระแม่สุรัสวดี (Biàncáitiān) กลางและ พระรามสูรจีน ขวา
-
วัดพระหยก (Jade Buddha Temple) (เซี่ยงไฮ้, ประเทศจีน) - เทวรูปของเจ้าพ่อดาวเหนือ (เทพนักษัตร) ทางซ้าย, ท้าวไตรตรึงษ์เทพ กลางและ พระแม่ลักษมี (Gōngdétiān or Jíxiáng Tiānnǚ) ทางขวา
-
วัดพระหยก (Jade Buddha Temple) (เซี่ยงไฮ้, ประเทศจีน) - เทวรูปของพระแม่ธรณี (Jiānláo Dishén) ทางซ้ายและ พระขันธกุมาร (Wéituó)ทางขวา
-
วัดพระหยก (Jade Buddha Temple) (เซี่ยงไฮ้, ประเทศจีน) - เทวรูปของ พระนางหาริตีเทวี (Guǐzǐmǔ) ทางซ้ายและ ท้าวปัญจิกมหาเสนา (Sànzhī Dàjiàng) ทางขวา
-
วัดพระหยก (Jade Buddha Temple) (เซี่ยงไฮ้, ประเทศจีน) - เทวรูปของ พระจันทร์ (Yuètiān) ทางซ้ายและ เจ้าแม่ต้นโพธิ์ ทางขวา
-
วัดพระหยก (Jade Buddha Temple) (เซี่ยงไฮ้, ประเทศจีน) - เทวรูปของ ท้าวสาครนาค (Suōjiéluó Lóngwáng) ทางซ้าย พระอาทิตย์ (Rìtiān) ทางขวา
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 佛教二十四诸天. 中国佛教文化网. 2010-09-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2013-11-27.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 "详解佛教中的二十四诸天". 腾讯. 2013-08-21. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-11-07. สืบค้นเมื่อ 2013-11-27.
- ↑ Lewis Hodous; William Edward Soothill (2004). A dictionary of Chinese Buddhist terms: with Sanskrit and English equivalents and a Sanskrit-Pali index. London: RoutledgeCurzon. ISBN 0-203-64186-8. OCLC 275253538.
- ↑ "供天中的二十四诸天 - 佛弟子文库". fodizi.net. สืบค้นเมื่อ 2021-04-26.
- ↑ E., Emmerick, R. (2001). The Sūtra of golden light: being a translation of the Suvarṇabhāsottamasūtra. Pali Text Society. ISBN 0-86013-348-6. OCLC 232153257.
- ↑ 6.0 6.1 ".ดร.พันธ์ยศ อัครอมรพงศ์ ร่วมงานพิธี "กงจูเทียน"". bangkokbiznews. 25 Apr 2018. สืบค้นเมื่อ 14 Jul 2022.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ "ธรรมบาล 24 พระองค์". lengnoeiyi.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 9 Mar 2014. สืบค้นเมื่อ 14 Jul 2022.
- ↑ Wu, Cheng'en (2012). Anthony C. Yu (บ.ก.). The journey to the West. แปลโดย Yu (Revised ed.). Chicago. ISBN 978-0-226-97131-5. OCLC 774147887.