เต่าญี่ปุ่น
เต่าญี่ปุ่น | |
---|---|
![]() | |
สถานะการอนุรักษ์ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
อาณาจักร: | Animalia |
ไฟลัม: | Chordata |
ชั้น: | Reptilia |
ชั้นย่อย: | Anapsida |
อันดับ: | Testudines |
วงศ์: | Emydidae |
สกุล: | Trachemys |
สปีชีส์: | T. scripta |
สปีชีส์ย่อย: | T. s. elegans |
Trinomial name | |
Trachemys scripta elegans (Wied-Neuwied, 1839) | |
![]() | |
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ | |
ชื่อพ้อง[2] | |
|
เต่าญี่ปุ่น หรือ เต่าแก้มแดง (อังกฤษ: Red-eared slider; ชื่อวิทยาศาสตร์: Trachemys scripta elegans) เป็นเต่าน้ำจืดชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปอเมริกาเหนือ จัดเป็นชนิดย่อยของเต่าแก้มแดง (T. scripta)[3] มีถิ่นกำเนิดดั้งเดิมอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำแถบรัฐอิลลินอย, แม่น้ำมิสซิสซิปปี ไปจนถึงอ่าวเม็กซิโก
เหตุที่ได้ชื่อว่า เต่าญี่ปุ่นเพราะว่าในประเทศไทย พ่อค้าชาวญี่ปุ่นเป็นบุคคลแรกที่นำเต่าชนิดนี้มาขาย จึงทำให้ได้ชื่อว่า เต่าญี่ปุ่น [4]
ลักษณะเมื่อแรกเกิด กระดองจะเป็นสีเขียว เมื่อโตขึ้นจะเปลี่ยนไปเป็นสีคล้ำ เท้าทั้ง 4 ข้างมีพังผืดใช้ว่ายน้ำได้ดี มีจุดเด่นคือ รอบ ๆ ดวงตามีสีแดง จึงทำให้ได้ชื่อว่า เต่าแก้มแดง ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 1 ฟุต โดยที่ตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมียเล็กน้อย กินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ แม้กระทั่งลูกเป็ดขนาดเล็กที่กำลังว่ายน้ำอยู่[5] ผสมพันธุ์กันในน้ำระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน จากนั้นในเดือนสิงหาคม ตัวเมียจะขึ้นมาวางไข่ในหาดทราย ไข่ใช้เวลาฟักเป็นตัวประมาณ 60-75 วัน อายุเมื่อพร้อมที่จะผสมพันธุ์ประมาณ 2 ปี และมีอายุขัยโดยเฉลี่ย 30 ปี
เต่าญี่ปุ่น นิยมเลี้ยงกันเป็นสัตว์เลี้ยงเพื่อความเพลิดเพลินมาก ด้วยเป็นที่รู้จักกันดีจากการที่ถูกอ้างอิงถึงในภาพยนตร์การ์ตูนชุด Teenage Mutant Ninja Turtles ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในยุคทศวรรษที่ 80 และ90[5] ในประเทศไทยมีการเลี้ยงกันมานานกว่า 30 ปี ได้รับความนิยมอย่างยิ่งเนื่องจากความน่ารักในเต่าขนาดเล็กประกอบกับมีราคาถูก แต่ทว่าก็ได้กลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน เนื่องจากเมื่อเต่าโตขึ้นแล้วไม่สวยน่ารักเหมือนอย่างเก่า เจ้าของจึงนำไปปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ กลายเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่น เนื่องจากสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี และยังทนทานต่อมลภาวะได้ดีกว่าเต่าพื้นเมือง ทำให้แพร่ขยายพันธุ์แย่งอาหารและถิ่นที่อยู่ของเต่าพื้นเมืองไทย[7] รวมถึงยังเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในที่อื่น ๆ ด้วย เช่น กรุงลอนดอน ในประเทศอังกฤษ[5]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ Tortoise & Freshwater Turtle Specialist Group. (1996). Trachemys scripta. In: IUCN 2009. IUCN Red List of Threatened Species. Version 2009.1. <www.iucnredlist.org>. Downloaded on 17 August 2009.
- ↑ Fritz Uwe (2007). "Checklist of Chelonians of the World" (PDF). Vertebrate Zoology. 57 (2): 207–208. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-17. สืบค้นเมื่อ 29 May 2012.
{{cite journal}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ Rhodin, Anders G.J. (2010-12-14). "Turtles of the World 2010 Update: Annotated Checklist of Taxonomy, Synonymy, Distribution and Conservation Status" (pdf). เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-12-15. สืบค้นเมื่อ 2010-12-15.
{{cite web}}
: ไม่รู้จักพารามิเตอร์|coauthors=
ถูกละเว้น แนะนำ (|author=
) (help) - ↑ "เต่าแก้มแดง หรือ เต่าญี่ปุ่น Red-eared slider". กระปุกดอตคอม. 17 January 2014. สืบค้นเมื่อ 24 April 2014.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 "ส่องไพร ป่ากลางลอนดอน". ช่องนาว. July 5, 2016. สืบค้นเมื่อ July 6, 2016.
- ↑ Albino (มัน เผือก มาก), โดย เวอร์ริเดียน, ชวิน ตันพิทยคุปต์ คอลัมน์ Aqua Knowledge หน้า 70-73. นิตยสาร Aquarium Biz ปีที่ 2 ฉบับที่ 16: ตุลาคม 2011
- ↑ "ห้องสมุด : ศัพท์สิ่งแวดล้อม". มูลนิธิโลกสีเขียว. 24 April 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-14. สืบค้นเมื่อ 24 April 2014.
![]() |
คอมมอนส์ มีภาพและสื่อเกี่ยวกับ: Trachemys scripta elegans |
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Trachemys scripta elegans ที่วิกิสปีชีส์