เดอะ 100: อะแรงกิงออฟเดอะมอสต์อินฟลูเอนเชียลเพอร์เซินอินฮิสทรี
ปกรุ่น ค.ศ. 1992 | |
ผู้ประพันธ์ | ไมเคิล เฮ็ช. ฮาร์ต |
---|---|
ประเทศ | สหรัฐ |
ภาษา | อังกฤษ |
ชุด | รุ่นแรก (1978) รุ่นที่ 2 (1992) |
หัวเรื่อง | จัดอันดับ, ชีวประวัติ, ประวัติศาสตร์ |
พิมพ์ | ค.ศ. 1978 (Hart Publishing company, New York)[1][2] |
ชนิดสื่อ | พิมพ์ |
ISBN | 9780806513508 |
OCLC | 644066940 |
เดอะ 100: อะแรงกิงออฟเดอะมอสต์อินฟลูเอนเชียลเพอร์เซินอินฮิสทรี (อังกฤษ: The 100: A Ranking of the Most Influential Persons in History) เป็นหนังสือที่ตีพิมพ์ใน ค.ศ. 1978 โดยไมเคิล เฮ็ช. ฮาร์ต (Michael H. Hart) นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์, นักวิจัยชีวิตต่างดาว และนักแบ่งแยกคนขาว (white separatist)[3][4][5] ซึ่งเป็นหนังสือเล่มแรกที่ตีพิมพ์พร้อมกับได้รับการแก้ไขใน ค.ศ. 1992 เป็นอันดับบุคคล 100 คนที่มีอิทธิพลต่อประวัติศาสตร์มนุษย์ ในมุมมองของฮาร์ต[4][6]
ฮาร์ตได้เขียนหนังสืออีกเล่มใน ค.ศ. 1999 ชื่อว่า A View from the Year 3000[7] โดยเป็นมุมมองของผู้คนจากอนาคตและจัดอันดับบุคคลที่มีอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์ เกือบครึ่งหนึ่งของรายการคือบุคคลสมมติจากปี 2000–3000 แต่ส่วนที่เหลือคือบุคคลที่มีอยู่จริง เนื้อหาส่วนใหญ่มาจากรุ่น 1992 ที่มีการเรียงลำดับใหม่[8][9]
สรุป
[แก้]บุคคลที่ได้อันดับ 1 ในรายชื่อของฮาร์ตคือศาสดามุฮัมมัด[10][11][12][13] ซึ่งสร้างเสียงวิจารณ์ไปบางส่วน[14] ฮาร์ตให้เหตุในการให้มุฮัมมัดอยู่ในอันดับ 1 ว่าท่าน "ประสบความสำเร็จอย่างมาก" ทั้งด้านศาสนาและทางโลก เขาเชื่อว่าบทบาทในการพัฒนาศาสนาอิสลามของมุฮัมมัดมีอิทธิพลกว่าการร่วมพัฒนาศาสนาคริสต์ของพระเยซู[15][16][17] เขายกคุณลักษณะการพัฒนาศาสนาคริสต์ให้แก่เปาโลอัครทูต ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการเผยแผ่ศาสนา[15][18]
ในหนังสือนี้ ฮาร์ตไม่ได้รวมอับราฮัม ลินคอล์น ในรุ่นปรับปรุง ค.ศ. 1992 ได้รวมบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องในลัทธิคอมมิวนิสต์ เช่น วลาดีมีร์ เลนิน เหมา เจ๋อตง และมีฮาอิล กอร์บาชอฟ นอกจากนี้ เขายังแทนเอ็ดเวิร์ดเดอเวียร์, เอิร์ลที่ 17 แห่งออกซ์ฟอร์ดด้วยวิลเลียม เชกสเปียร์ ทดแทนนีลส์ บอร์กับอ็องตวน อ็องรี แบ็กแรลด้วยเออร์เนสต์ รัทเทอร์ฟอร์ด และเปลี่ยนตำแหน่งเฮนรี ฟอร์ดกับปาโบล ปีกัสโซ ท้ายที่สุด บางอันดับถูกเปลี่ยนแปลง แต่บริเวณ 10 อันดับแรกยังคงเหมือนเดิม[4]
10 อันดับแรก (ในฉบับ ค.ศ. 1992)
[แก้]อันดับ | ชื่อ | กรอบเวลา | ภาพ | อาชีพ | อิทธิพล |
---|---|---|---|---|---|
1 | มุฮัมมัด | ป. ค.ศ. 570–632 | ผู้นำทางการเมืองและศาสนา | ผู้ก่อตั้งและบุคคลสำคัญในศาสนาอิสลามที่มุสลิมถือว่าเป็นศาสดาและศาสนทูตคนสุดท้ายของอัลลอฮ์ นอกจากนี้ ท่านยังทำหน้าเป็นนักปฏิรูปสังคม, นักการทูต, พ่อค้า, นักปรัชญา, นักพูด, ฝ่ายนิติบัญญัติ, ผู้นำทางทหาร | |
2 | ไอแซก นิวตัน | ค.ศ. 1643–1727 | นักวิทยาศาสตร์ | นักฟิสิกส์, นักคณิตศาสตร์, นักดาราศาสตร์, นักปรัชญาธรรมชาติ, นักเล่นแร่แปรธาตุ และนักเทววิทยาชาวอังกฤษที่คิดค้นกฎความโน้มถ่วงสากลของนิวตัน และกฎการเคลื่อนที่ 3 ข้อที่ปูพื้นฐานในเรื่องกลศาสตร์ดั้งเดิม | |
3 | เยซูแห่งนาซาเร็ธ | 7–2 ปีก่อน ค.ศ. – ค.ศ. 26–36 | ผู้นำทางจิตวิญญาณ | บุคคลสำคัญในศาสนาคริสต์ คริสตศาสนิกชนถือว่าเป็นพระบุตรของพระเจ้า และทรงรับเป็นมนุษย์ ศาสนาอิสลามถือว่าพระองค์เป็นศาสดาคนสำคัญ | |
4 | พระพุทธเจ้า (สิทธัตถะ โคตมะ) | 563–483 ปีก่อน ค.ศ. | นักปรัชญา | พระครูและนักปรัชญาทางจิตวิญญาณจากอินเดียโบราณ ผู้ก่อตั้งศาสนาพุทธ | |
5 | ขงจื๊อ | 551–479 ปีก่อน ค.ศ. | นักปรัชญา | นักคิดและนักปรัชญาทางสังคมชาวจีน ผู้ก่อตั้งลัทธิขงจื๊อ โดยการสอนและปรัชญาของเขามีอิทธิพลต่อแนวคิดและชีวิตอย่างลึกซึ้งในประเทศจีน, เกาหลี, ญี่ปุ่น, เวียดนาม และอินโดนีเซีย | |
6 | นักบุญเปาโลแห่งทาร์ซัส | ค.ศ. 5–67 | อัครทูต | หนึ่งในมิชชันนารีศาสนาคริสต์ยุคแรกที่สำคัญที่สุด, ยกเครดิตให้กับการเปลี่ยนศาสนาและเผยแผ่ศาสนาคริสต์นอกปาเลสไตน์ (ส่วนใหญ่ให้กับชาวโรมัน) และเป็นผู้เขียนจดหมายหลายฉบับในคัมภีร์ไบเบิลพันธะสัญญาใหม่ | |
7 | ไช่ หลุน | ค.ศ. 50–121 | นักประดิษฐ์ | ถือกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นผู้คิดค้นกระดาษและวิธีการทำกระดาษ | |
8 | โยฮันเนิส กูเทินแบร์ค | ค.ศ. 1398–1468 | นักประดิษฐ์ | ช่างพิมพ์ชาวเยอรมันที่คิดค้นแท่นพิมพ์แบบเครื่องจักรของยุโรป | |
9 | คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส | ค.ศ. 1451–1506 | นักสำรวจ | นักเดินเรือ, นักล่าอาณานิคม และนักสำรวจชาวอิตาลีที่การเดินทางของเขาทำให้ชาวยุโรปโดยทั่วไปรับรู้เกี่ยวกับทวีปอเมริกา | |
10 | อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ | ค.ศ. 1879–1955 | นักวิทยาศาสตร์ | นักฟิสิกส์ทฤษฎีที่เกิดในประเทศเยอรมนี เป็นที่รู้จักจากทฤษฎีสัมพัทธภาพ และโดยเฉพาะความสมมูลมวล–พลังงาน ตามหลักสมการE = mc2 |
การตอบรับ
[แก้]การตั้งมุฮัมมัดในอันดับแรก ทำให้หนังสือได้รับความเห็นโต้แย้งบางส่วนจากนักวิจารณ์ตะวันตก[14][19] [20][21][22][23][24][25][26][27][28] [29] แต่กลับเป็นที่ต้อนรับอย่างมากและมีความเห็นในแง่บวกพรั่งพรูในโลกมุสลิม และนักเขียนหนังสือมุสลิมมักอ้างอิงหนังสือนี้ ได้แก่ มุฮัมมัด อัชชีรอซี, อาเหม็ด ดีดัต เป็นต้น[30][31][32][33][34] ใน ค.ศ. 1988 อดีตประธานาธิบดีอียิปต์ร่วมสมัย ฮุสนี มุบาร็อก ยกย่องไมเคิล ฮาร์ตจากการตั้งศาสดามุฮัมมัดให้อยู่ในอันดับ 1[35]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Publisher: Hart Pub. Co". Open Library. สืบค้นเมื่อ 28 July 2019.
- ↑ "Michael Hart, eBook, Biography – search" (ภาษาอังกฤษ). Open Library. สืบค้นเมื่อ 28 July 2019.
- ↑ Interview with Michael H. Hart by Russell K. Neili, April 14, 2000. Carol M. Swain; Russ Nieli (24 March 2003). Contemporary Voices of White Nationalism in America. Cambridge University Press. p. 201. ISBN 978-0-521-81673-1. "I (like other white separatists) resent being called a white supremacist."
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Editors of LIFE (2016). LIFE 100 People Who Changed the World (ภาษาอังกฤษ). Time Inc. Books. ISBN 9781618934710.
{{cite book}}
:|author=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help) - ↑ Newsweek (ภาษาอังกฤษ). Newsweek, Incorporated. 28 August 1978. สืบค้นเมื่อ 28 July 2019.
- ↑ Michael H. Hart The 100: A Ranking of the Most Influential Persons in History. first published in 1978, reprinted with minor revisions 1992. ISBN 978-0-8065-1068-2
- ↑ Michael H. Hart. A view from the year 3000: a ranking of the 100 most influential persons of all time; first published in 1999
- ↑ Nagel, Stuart S. (2001). Handbook of Policy Creativity: Creativity at the cutting edge (ภาษาอังกฤษ). Nova Publishers. p. 14. ISBN 9781590330302. สืบค้นเมื่อ 28 July 2019.
- ↑ Humanity three thousand (ภาษาอังกฤษ). Foundation for the Future. 2000. ISBN 9780967725239.
- ↑ Nduka, Otonti A.; Iheoma, E. O. (1983). New Perspectives in Moral Education (ภาษาอังกฤษ). Evans Bros. p. 74. ISBN 9789781672279. สืบค้นเมื่อ 28 July 2019.
- ↑ North, Peter; Tripp, Harvey (2009). CultureShock! Saudi Arabia: A Survival Guide to Customs and Etiquette (ภาษาอังกฤษ). Marshall Cavendish International Asia Pte Ltd. p. 6. ISBN 9789814435277. สืบค้นเมื่อ 28 July 2019.
- ↑ Iqbal, Sir Muhammad; Abbas, Syed Ghulam (1997). Dr. Muhammad Iqbal, the humanist: a reassessment of the poetry and personality of the poet-philosopher of the East (ภาษาอังกฤษ). Iqbal Academy. p. XVIII. ISBN 9789694160306. สืบค้นเมื่อ 28 July 2019.
- ↑ "The 100: A Ranking of the Most Influential Persons in History" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-03-01. สืบค้นเมื่อ 2021-01-24.
- ↑ 14.0 14.1 Alphonse Dougan, "Understanding Prophet Muhammad Beyond the Stereotypes", The Fountain, Issue 46 (April–June 2004).
- ↑ 15.0 15.1 Malik, Saeed (2009). A Perspective on the Signs of Al-Quran: Through the Prism of the Heart (ภาษาอังกฤษ) (2nd Edition October 2010 ed.). Booksurge. p. 112. ISBN 9781439239629. สืบค้นเมื่อ 28 July 2019.
- ↑ Have You Discovered It's Real Beauty? (ภาษาอังกฤษ). Peace Vision. ISBN 9781471607370. สืบค้นเมื่อ 28 July 2019.
- ↑ Deedat, Ahmed (2001). Muhammad, The Greatest (ภาษาอังกฤษ). Islamic Presentation Committee. ISBN 9781471604416.[ลิงก์เสีย]
- ↑ White, James W. (2014). Brief Christian Histories: Getting a Sense of Our Long Story (ภาษาอังกฤษ). Wipf and Stock Publishers. p. 216. ISBN 9781630873059. สืบค้นเมื่อ 28 July 2019.
- ↑ Yuan, Haiwang (2010). This is China: The First 5,000 Years (ภาษาอังกฤษ). Berkshire Publishing. p. 35. ISBN 9781933782768. สืบค้นเมื่อ 31 July 2019.
- ↑ Freedman, David Noel; McClymond, Michael J. (2001). The Rivers of Paradise: Moses, Buddha, Confucius, Jesus, and Muhammad as Religious Founders (ภาษาอังกฤษ). Wm. B. Eerdmans Publishing. p. 676. ISBN 9780802829573. สืบค้นเมื่อ 31 July 2019.
- ↑ Benson, Garth; Glasberg, Ronald; Griffith, Bryant (1998). Perspectives on the Unity and Integration of Knowledge (ภาษาอังกฤษ). P. Lang. p. 90. ISBN 9780820434872. สืบค้นเมื่อ 31 July 2019.
- ↑ Publishing, Pearson Custom (2000). Reasoning and Writing (ภาษาอังกฤษ). Pearson Custom Publishing. p. 26. ISBN 9780536615022.
- ↑ Ultimate Reality and Meaning (ภาษาอังกฤษ). Van Gorcum. 1994. p. 171.
- ↑ Science Digest (ภาษาอังกฤษ). Science Digest. 1978. สืบค้นเมื่อ 31 July 2019.
- ↑ "Korea Now". Korea Herald (ภาษาอังกฤษ). 32: 49. July 2003.
- ↑ Senior Scholastic (ภาษาอังกฤษ). Vol. 111. Scholastic Corporation. September 1978.
- ↑ Books, Honor (2003). You Can Be a World Changer (ภาษาอังกฤษ). David C. Cook. pp. 281, 284, 286. ISBN 9781562928070.
- ↑ Books in Print (ภาษาอังกฤษ). Vol. 1, 2, 3, 4, 7, 10. R. R. Bowker Company. 1997. p. 3601. ISBN 9780835239356.
- ↑ Kosova, Hakan (2007). A Tribute to the Prophet Muhammad (ภาษาอังกฤษ). Tughra Books. ISBN 9781597846028.
- ↑ Ramadan, Hisham M. (2006). Understanding Islamic Law: From Classical to Contemporary (ภาษาอังกฤษ). Rowman Altamira. ISBN 9780759114340.
- ↑ Malik, Muhammad Farooq-i-Azam (1997). English Translation of the Meaning of Al-Qur'an: The Guidance for Mankind (English Only) (ภาษาอังกฤษ). The Institute of Islamic Knowledge. p. 21. ISBN 9780911119770. สืบค้นเมื่อ 31 July 2019.
- ↑ de_paul_legislation (ภาษาอังกฤษ). IslamKotob. p. 5. สืบค้นเมื่อ 31 July 2019.
- ↑ Abbas, Syed Ghulam; Anis, Mir Babbar Ali (1983). The Immortal Poetry & Mir Anis: With the Versified Translation of a Marsia of Mir Anis (ภาษาอังกฤษ). Majlis-e-Milli, Pakistan. p. XV. สืบค้นเมื่อ 31 July 2019.
- ↑ Association, American Book Trade; Union, American Book Trade; Philadelphia, Book Trade Association of; Trade, Publishers' Board of (1992). Publishers Weekly (ภาษาอังกฤษ). Whitinsville, Mass. : R. R. Bowker Company. p. 156. ISBN 9780312081805. สืบค้นเมื่อ 31 July 2019.
- ↑ Fellner, Jonathan (1988-10-19). "Egyptian president to honor AACC astronomer for history". The Baltimore Sun. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-08-04. สืบค้นเมื่อ 2019-08-04 – โดยทาง Newspapers.com.